หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 6
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6

1.พระราชประวัติ

2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี
6.กวีและวรรณกรรม
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
 
พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส

 พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ( พ.ศ. 2419 – พ.ศ. 2487 ) มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 – 8) ประสูติเมื่อวันแรม11 ค่ำเดือนยี่ ปีชวด ตรงกับวันพุธ 10 มกราคม 2419 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ต้นสกุลรัชนี) ใช้นามปากกาว่า น.ม.ส. มาจากคำท้ายของ “รัชนีแจ่มจรัส” ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญและจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ทรงมีพระปฏิภาณเฉลียวฉลาด แต่ยังทรงพระเยาว์ ปรากฏว่าทรงอ่านหนังสือไทยและหนังสือขอมออกในขณะที่พระชันษาเพียง 5 ขวบ เริ่มการศึกษา ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ จนอายุ 17 ปีเข้ารับราชการ ถึง พ.ศ. 2440 ได้ศึกษาวิชาพื้นฐานต่อที่ยุโรป
พ.ศ. 2436 ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงธรรมการ ตำแหน่งนายเวร
พ.ศ. 2438 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการ
พ.ศ. 2439 ทรงย้ายไปเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และสอบเข้าศึกษา ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาต่อได้ 3 เทอม ก็ถูกเรียกตัว กลับกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2442 เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจสารบาญชี
พ.ศ. 2444 ทรงดำรงตำแหน่งรองหัวหน้ากรมธนบัตร
พ.ศ. 2445 ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากรมธนบัตร
พ.ศ. 2447 ทรงย้ายไปรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมกระษาปณ์สิทธิการ
พ.ศ. 2451 ทรงเป็นอธิบดีกรมตรวจและสารบาญชี
พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ยกย่อง
พระเกียรติยศขึ้นเป็นองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายพระราชวังบวรมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า " พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ "
พ.ศ. 2457 เป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 8 ตรงกับวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2488 รวมพระชันษา 68 ปี

สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา

          เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ( สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา พ.ศ. 2419 – 2486 )
เป็นบุตรของพระยาไชยสุรินทร์ ( เจียม เทพหัสดิน ณ อยุธยา ) เกิดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2419 เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนบพิตรภิมุข แล้วย้ายไปต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โรงเรียนสุนันทาลัย โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ แล้วรับราชการครู จนถึง พ.ศ. 2439 ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ กลับมารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 9 มกราคม พ.ศ. 2441 นาน 26 ปี ต่อมาได้เป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ถึงแก่อนิจกรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
ผลงานของท่าน ในนามปากกา ครูเทพ อาทิ บทเพลงกราวกีฬา โคลงกลอนครูเทพ จันทรชิต แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน ยิหวาวิทยุ มีบทละครพูด 4 เรื่อง คือ บ๋อยใหม่ แม่ศรีครัว หมั้นไว้ ตาเงาะ และเรื่องสั้นอีกมายมาย
          พระยาศรีสุนทรโวหาร ( ผัน สาลักษณ์ พ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2466 )
เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2424 เป็นบุตรของพระยาศรีภูริปรีชา (กมล) สมุหพระอาลักษณ์ พระยาศรีสุนทรโวหาร เริ่มศึกษา ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แล้วบวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ เมื่อ พ.ศ. 2438 ได้ลาสิขาบทเมื่อ พ.ศ. 2443 เข้าทำงานเป็นเสมียนเอกในกรมราชเลขานุการ และย้ายไปรับราชการเป็นนายอำเภอ ต่อมากลับเข้าทำงานในกรมอาลักษณ์ จนได้เป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ใน พ.ศ. 2459 งานนิพนธ์ที่สำคัญคือ อิลราชคำฉันท์
           นายชิต บุรทัต( พ.ศ. 2435 – พ.ศ. 2485 )
นายชิต บุรทัต มีนามสกุลเดิมว่า "ชวางกูร" ต่อมาได้รับพระราชทานนามกุล "บุรทัต" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2435 ได้เรียนหนังสือชั้นประถม ณ โรงเรียนวัดราชบพิธ และชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทัศน์ บรรพชาเป็นสามเณรณ วัดเทพศิรินทราวาส และย้ายไปจำพรรษาวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นศิษย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และทำงานในตำแหน่งเลขานุการขณะเดียวกันได้แต่งบทร้อยกรองส่งไปลงพิมพ์ในวารสารสมัยนั้นหลายฉบับ โดยใช้นามปากกาว่า " เอกชน" นายชิต บุรทัต ได้แต่งวรรณคดีหลายเรื่อง อาทิ " เรื่อง ณ หาดทรายชายทะเลแห่งหนึ่ง " แต่ที่เด่นและได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ "สามัคคีเภทคำฉันท์" นายชิต บุรทัต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2485 รวมอายุได้ 50 ปี
          พระยาอุปกิตศิลปะสาร ( นิ่ม กาญจนาชีวะ ( พ.ศ. 2422 – พ.ศ. 2484 ) เจ้าของนามปากกา อ.น.ก. ( อ = อุปกิตศิลปสาร , น = นิ่ม , ก = กาญจนาชีวะ) พระยาอุปกิตศิลปะสาร เกิดเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 ถึงแก่กรรม เมื่อ 19 พฤษภาคม พ .ศ. 2484 วรรณกรรมของท่าน มีมากมายมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และความเรียงแบบร้อยแก้ว วรรณกรรมที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือ สงครามภารตคำกลอน แต่งเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2470 (สมัยรัชกาลที่ 7)
          พระสารประเสริฐ ( ตรี นาคะประทีป พ.ศ. 2432 – พ.ศ. 2488 )
พระสารประเสริฐ เกิดเมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 เริ่มศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบ อายุ 17 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาเล่าเรียน จนได้รับรางวัลจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผลงานการประพันธ์ ส่วนมากเขียนร่วมกับผู้อื่น อาทิ มีผลงานร่วมกับพระยาอนุมานราชธน ในนามปากกา “เสถียรโกเศศและนาคะประทีป” พระสารประเสริฐเริ่มเข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ประจำกรมตำรา กระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2465 และย้ายมาประจำกรมตำรา กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงแก่กรรมเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ผลงานที่สำคัญที่ทำร่วมกับพระยาอนุมานราชธน คือ กามนิต ทศมนตรี หิโตประเทศ นิยายเบงคลี ได้รับประกาศนียบัตรของวรรณคดีสโมสร กถาสริตสาคร ปาชาหรือนิยายมากเรื่องฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) โลกนิติไตรพากย์ ธรรมนิติ บันเทิงทศวาร คนมีประโยชน์ เรื่องเหล่านี้ แม้ว่าจะแปลมาจากภาษาอื่น แต่ทำนองการเขียนภาษาไทยดีมาก เป็นการขยายขอบเจต ความคิด ความรู้ในทางวรรณคดีให้กว้างขวางออกไป

ยง เสถียรโกเศศ

               พระยาอนุมานราชธน ( พ.ศ. 2431 – พ.ศ. 2512 )
ศาสตราจารย์อนุมานราชธน เกิดเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 เป็นบุตรของนายหลี นางเฮียะ ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า เสถียรโกเศศ เริ่มการศึกษาจนจบชั้น 4 โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2447 จากนั้นได้ศึกษาด้วยตนเอง เริ่มทำงานโดยรับราชการในกรมศุลกากร แต่สนใจทางด้านการประพันธ์จึงศึกษาค้นคว้าทางด้านภาษา ทำงานในกรมศุลการกร จนได้เป็นผู้ช่วยอธิบดี แล้วลาออกมาทำงานในกรมศิลปากร ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ท่านถึงแก่กรรมเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ผลงานของท่าน เช่นช่วยพระยาอุปกิตศิลปะสาร ในการแต่ง บทดอกสร้อยเรื่อง
รำพึงในป่าช้า

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile