หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 6
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6
1.พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 6
2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี
6.กวีและวรรณกรรม
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
   

ด้านการปกครอง
          การปรับปรุงการระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
แยก
กรมทหารเรือเดิมออกจากกระทรวงกลาโหม มาตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือ จัดตั้งกระทรวงมุรธาธรขึ้นมาใหม่ ตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์ (ต่อมาเป็นกระทรวงพาณิชย์) รวบรวมกรมช่างสิบหมู่ จัดตั้งเป็น กรมศิลปากร ปรับปรุงกระทรวงโยธาธิการแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงคมนาคม โอนกรมธรรมการไปขึ้นกับกระทรวงวัง แล้วเปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็น กระทรวงศึกษาธิการ รวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย สร้างสนาม บินดอนเมือง และ ตั้งกองบิน ขึ้นเมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ให้มีฐานะเทียบเท่า กรม สังกัดกองทัพบก ต่อมาได้ขยายงานมาเป็น กรมอากาศยาน แล้วกลายมาเป็น กองทัพอากาศ
          การปรับปรุงการระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
โปรดให้รวมมณฑลที่อยู่ใกล้กันจัดตั้งเป็น
ภาค แต่ละภาคมี อุปราช มีอำนาจตรวจตราเหนือ สมุหเทศาภิบาลในภาคนั้น ๆ และยังทำหน้าที่เป็นสมุหเทศาภิบาลประจำมณฑลซึ่งตั้งเป็นสำนักงานภาคนั้นด้วย ตำแหน่ง อุปราช และ สมุหเทศาภิบาล ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย
ส่วนกรุงเทพฯ ซึ่งมีศักดิ์เสมอด้วยมณฑลหนึ่งนั้น ให้มีสมุหเทศาภิบาล เป็นหัวหน้าขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย โปรดให้เปลี่ยนชื่อ
เมือง เป็น จังหวัด

การวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงแม้ว่าจะจัดการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างมาก ประจักษ์พยานที่สำคัญก็คือทรงยอมรับการวิจารณ์จากนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ที่เขียนบทความกล่าวโจมตีรัฐบาล จนดูเหมือนว่าประเทศของเรา มีการ ปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่แล้ว พระองค์ได้วางแผนให้ข้าราชการของพระองค์รู้จักการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยจัดสร้างนครจำลองขึ้นเพื่อฝึกฝนให้ข้าราชบริพารของพระองค์ ให้ได้รู้จักและเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในวันข้างหน้า นครจำลองนี้ได้พระราชทานนามว่า
ดุสิตธานี เพราะเดิมตั้งอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่ พระราชวังพญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) ภายในดุสิตธานี จะจำลองสถานที่สำคัญต่าง ๆ ไว้ อาทิ ที่ทำการรัฐบาล วัดวาอาราม บ้านเรือนราษฎร ที่ทำการไปรษณีย์ การไฟ้า ประปาและมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานครบทั้งหมด ในนครจำลองนี้จัดให้มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในนครดุสิตธานี เรียกว่า ทวยนาคร โดยทวยนาคร จะทำหน้าที่เลือกตั้ง ผู้แทนราษฎร เข้าไปเป็นกรรมการในคณะนคราภิบาล เรียกว่า เชษฐบุรุษ ซึ่ง เชษฐบุรุษ จะเลือกตั้งคณะรัฐบาลบริหารนครนี้ เรียกว่า คณะนคราภิบาล มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ทวยนาครในดุสิตธานี ซึ่งเรียกว่า ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล พระพุทธศักราช 2461 และมีการประกาศใช้ กฎธานิโยปการ ในนครนี้ด้วย กฎธานิโยปการเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการเก็บภาษีอากร ภาษีที่ดิน ค่าน้ำประปา ค่าไฟ ฯลฯ เพื่อนำไปทำนุบำรุงนครดุสิตธานี
เหตุการณ์ ร.ศ. 130
เมื่อรัชกาลที่ 6 ขึ้นครองราชย์ มีคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย โดยมี
ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (นายแพทย์ เหล็ง ศรีจันทร์ ) เป็นหัวหน้า คณะปฏิวัติรุ่นนี้มีชื่อเรียกกันในเวลาต่อมาว่า คณะปฏิวัติ ร.ศ. 130
คณะปฏิวัติได้กำหนดจะทำการปฏิวัติใน
พระราชพิธีสัจปานกาลถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามธรรมเนียม ที่เคยปฏิบัติมาทุกปี แต่ทำไม่สำเร็จเพราะมีสมาชิกในคณะปฏิวัตินำข่าวมาบอกแก่รัฐบาล ทำให้ คณะปฏิวัติ ถูกจับกุม เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเรียกว่า กบฎ ร.ศ. 130 ผู้นำข่าวมาแจ้งรัชกาลที่ 6 คือ ร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ หรือ แต้ม คงอยู่) ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็น พ.อ. พระยากำแพงรามภัคดี ต่อมาภายหลังผูกคอตายในห้องขังเมื่อคราวถูกจับกุมในคดีกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ผู้นำในคณะปฏิวัติ ร.ศ. 130 ถูกศาลตัดสินให้ประหารชีวิต รวม 3 คน แต่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานอภัยโทษ และถูกปล่อยตัวทั้งหมดภายหลัง
การปรับปรุงกฎหมายและการศาล
1. จัดระเบียบการศาลใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยให้แยกหน้าที่ราชการในกระทรวงยุติธรรมออกเป็น ฝ่ายธุรการ และฝ่ายตุลาการ และให้ศาลฎีกามาสังกัดกระทรวงยุติธรรม และ ได้โปรดให้ตั้งตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกา ขึ้น
2. ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นครั้งแรก
ส่งเสริมวิชาการกฎหมาย ให้ยกฐานะโรงเรียนกฎหมายที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้เป็นโรงเรียนหลวงสังกัดกระทรวงยุติธรรม โปรดให้ตั้ง
สภานิติศึกษา ขึ้น มีหน้าที่สำหรับจัดระเบียบกับวางหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนกฎหมาย และโปรดให้จัดตั้ง เนติบัณฑิตยสภา ขึ้น เป็นสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิชากฎหมายและการว่าความ ควบคุมจรรยาความประพฤติของทนายความ

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile