หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 6
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6
1.พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 6
2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
 
 
เรียกว่าพระราชกัญจกรพระวชิระ เป็นรูป วชิราวุธ ยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ตั้งอยู่เหนือดั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธยว่า "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึงศาสตราวุธของพระอินทร์.
แบบฝึกหัด
1
2
3
4
5
6
7
เลือกตอบ
พระราชประวัติ
การปกครอง
เศรษฐกิจ
ศาสนา
วัฒนธรรม
กวีวรรณกรรม
การต่างประเทศ
R6-120
R6-320
R6-420
R6-520
R6-121
R6-321
R6-421
R6-521

สมัยรัชกาลที่ 6 ( พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( 23/10/2453-25/11/2468 )
รัชกาลที่ 6 มีพระนามเดิมว่า “
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ประสูติเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เมื่อพระชนมายุได้ 8 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนเทพทวาราวดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งหลาย ได้พร้อมกันอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะมีพระชนมายุได้ 30 พรรษา นับเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงมีพระปรมาภิไธยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จสวรรคต เมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ครองราชสมบัตินาน 16 ปี รวมพระชนมายุได้ 45 พรรษา ทรงมีพระราชธิดาอันประสูติแต่ สมเด็จพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระองค์เดียวคือ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา ศิริโสภาพัณณวดี


สมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี

        ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียรพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงพระเยาว์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนราชินี จนมีพระชนมายุย่าง ๑๓ พรรษา จึงเสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๘๐ ทรงมีพระอัจฉริยะในการแสดงเปียโนเป็นอย่างยิ่ง โปรดวิชาภูมิศาสตร์ และทรงมีความชำนาญในการสังเกตและจดจำเรื่องทิศทางของสถานที่ซึ่งเคยเสด็จไปได้อย่างแม่นยำ ครั้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ พร้อมกับพระนางเจ้าสุวัทนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยทรงสร้างวังขึ้นที่ ซอยสันติสุข ถนนสุขุมวิท ๓๘ พระราชทานนามว่า “วังรื่นฤดี” และประทับ ณ วังแห่งนี้ตราบจนถึงปัจจุบันนี้
         สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาพระราชทาน
ความช่วยเหลือการสาธารณกุศลต่างๆ มากมาย พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสมทบทุนสมเด็จพระบรมราชชนก และทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ทรงบำเพ็ญภารกิจสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม และความสุขของประชาชนตอลดจนพลเรือนและทหารนานัปการ ทรงช่วยเหลือเด็กกำพร้าและสนับสนุนกิจการต่างๆ ของสภาสตรีแห่งประเทศไทย พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งคือ
การก่อสร้างหอวชิราวุธานุสรณ์และมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ โดยทรงพระกรุณาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินทุนก่อตั้งมูลนิธิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศพันโทหญิงกองพันทหารราบที่ ๒ กองผสมที่ ๑๕ จังหวัดนครศรีธรรมราช และดำรงพระยศเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์เมื่อปี ๒๕๓๕ และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาคหกรรมศาสตร์ บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก แด่พระองค์ในปีเดียวกัน
พระองค์ทรงเมตตารับโรงเรียนสายน้ำผึ้งไว้ในพระอุปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕
เป็นต้นมาและเสด็จพระราชทานทุนการศึกษาและประกาศนียบัตร แก่นักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในวันคล้ายวัน สถาปนาโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ๒๐ สิงหาคมของทุกปี มาจนถึงปีการศึกษา ๒๕๔๒ นับเป็นพระกรุณาธิคุณเป็นที่ยิ่ง ขอพระองค์ทรงเป็นพระมิ่งขวัญแห่งโรงเรียนสายน้ำผึ้งยิ่งยืนนานตราบกาลนิรันดร์

           สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงมีพระอาการประชวรตามพระชันษาคณะแพทย์จากศิริราชพยาบาลได้ถวายการรักษา และเฝ้าระวังพระอาการอย่างใกล้ชิด โดยมีพลเอกประพัทธ์ กุวานนท์ ราชองครักษ์ประจำพระองค์และเป็นราชเลขานุการส่วนพระองค์และเป็นพระญาติด้วย ได้ทำการรับสนองพระบัญชามาตลอด แต่ในปี พ.ศ. 2543 พลเอกประพัทธ์ กุวานนท์ ป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จึงได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ เสนอชื่อของ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการเข้ามาเป็นผู้ดูแลรับสนองพระบัญชาสืบต่อ ในฐานะเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ และในกลางปีนั้นพลเอกประพัทธ์ก็ถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะจึงเข้ามาถวายงานในตำหนักรื่นฤดี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 ด้านตะวันออก โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 37 นาที วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รวมพระชันษา 85 ป

 

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 ด้านตะวันออก โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2554 แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 37 นาที วันที่ 27 กรกฎาคม 2554 รวมพระชันษา 85 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพ ถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี ประดิษฐาน พระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวายมีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไป

อนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระศพหน้าพระฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐาน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่เวลา 13 นาฬิกา ถึงเวลา 16 นาฬิกา ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554

สำนักพระราชวัง

27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2554


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile