หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 6
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6
1.พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 6
2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
   
ด้านเศรษฐกิจ

          การเก็บเงินรัชชูปการ เงินรัชชูปการคือ เงินส่วย ที่เก็บจากไพร่ส่วย โดยปรกติยามสงบชายไทยทุกคน ที่สังกัดมูลนาย หรือ ที่เรียกว่า ไพร่หลวง ทำหน้าที่รับราชการ ช่วยกันทำนุบำรุงและป้องกันประเทศชาติ ในยามปรกติ ต้องมีหน้าที่เข้ารับราชการปีละ 6 เดือน ในสมัยกรุงธนบุรี ลดเหลือปีละ 4 เดือน และ ในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ลดเหลือ 3 เดือน ผู้ใดไม่ต้องการเข้าเกณฑ์แรงงาน ก็หาสิ่งของหรือเงินมาทดแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ซึ่งผู้ที่ใช้เงินหรือสิ่งของมาแทนแรงงาน เรียกว่า ไพร่ส่วย ส่วนเงิน ที่ใช้แทนแรงงานเรียกว่า ส่วย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า เงินค่าราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าเงินรัชชูปการ ในสมัย รัชกาลที่ 1 นั้น ไพร่ส่วยเสียเงินค่าราชการ ปีละ 18 บาท เท่ากับคิดในอัตราเดือนละ 6 บาท ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทางราชการยินยอมให้ผู้ไม่ถูกเกณฑ์ทหารเสียเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาท เท่ากับว่าไพร่ต้องเข้าเวรปีละ 1 เดือน ในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าเงินรัชชูปการ โดยกำหนดให้ ชายฉกรรจ์ ที่มีอายุ 18 – 60 ปีและข้าราชการ ต้องเสียเงินรัชชูปการ       ยกเว้น ทหาร ตำรวจ พระภิกษุสามเณร กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพไม่ต้องเสียเงินรัชชูปการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 ได้ประกาศใช้ประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ก็ให้เก็บจากบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วคือเก็บจากชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี

ด้านสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร

     จัดตั้ง
กรมรถไฟหลวง โดยรวม กรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้ เข้าด้วยกัน เมื่อ 5 มิถุนายน 2460 แล้วโปรดฯให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้บังคับบัญชา
ขยายทางรถไฟ อาทิ ทางสายเหนือถึงเชียงใหม่ โดยมีการ
ขุดอุโมงค์ลอดเขาขุนตาล ซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย      สร้างสะพานพระราม 6 เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือและสายใต้สายตะวันออกขยายถึงอรัญประเทศ สายใต้ถึงปาดังเบซาร์
เริ่มวางรากฐานการคมนาคมทางอากาศ โดยทดลองบิน ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ต่อมาได้กำเนิดกรมอากาศยานขึ้น และสร้างสนามบินดอนเมือง
กำเนิดการ
วิทยุโทรเลข ได้โปรดให้กระทรวงทหารเรือ เริ่มจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นสองสถานีคือที่ตำบลศาลาแดงจังหวัดกรุงเทพฯ และ จังหวัดสงขลาต่อมากิจการนี้ได้มารวมกับกรมไปรษณีย์โทรเลข
      จัดตั้ง
กรมทดน้ำ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กรมชลประทาน มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นลำน้ำป่าสัก บริเวณตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระราชทานนามว่า เขื่อนพระราม 6
รัชกาลที่ 6 พร้อมด้วยบรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกันบริจาคพระราชทรัพย์ สมทบกับเงินทุนที่เหลือจากคราวจัดตั้ง
สภาอุณาโลมแดง ก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ เพื่อถวายเป็นพระราชอนุสรณ์ แห่งองค์สมเด็จพระบรมราชชนกนาถ
      การตั้ง
ปาสตุรสภา สาเหตุเพราะพระธิดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต้องสิ้นพระชนม์ด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จึงประกาศเรี่ยไรบอกบุญและพระราชทานทรัพย์ช่วยสร้างสถานปาสเตอร์ขึ้น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ปาสตุรสภา เพื่อให้เกียรติแก่ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้คนพบวัคซินชนิดนี้
     
ตั้งสถานเสาวภา เพื่อเป็นเกียรติแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ. 2466 ได้เปิดสวนงู ขึ้นในสถานเสาวภาเพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตเซรุ่มฉีดแก้พิษงู
     
ตั้งกรมสาธารณสุข โดยโอนงานการสุขาภิบาลทั้งหมด มาสังกัดอยู่ในกระทรวงมหาดไทย
ตั้งกองอนุกาชาด โดยสภากาชาดไทยได้จัดให้มี การอนุกาชาด ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2465      เพื่อฝึกให้เด็กได้ใฝ่ใจในการอนามัยและปลูกฝังให้มีจิตใจเมตตากรุณา รู้จักบำเพ็ญประโยชน์
ตั้งสถานีประชานามัยพิทักษ์ ขึ้นเพื่อช่วยดูแลรักษาอนามัยให้แก่ประชาชนและแนะนำวิธีพยาบาลคนไข้ตามเคหสถานบ้านเรือน พร้อมกันนี้ก็โปรดให้ตั้ง โรงเรียนนางสุขาภิบาล ขึ้น เพื่ออบรมนักเรียนที่สำเร็จวิชาพยาบาลมาแล้ว เข้าบรรจุประจำตามสถานีประชานามัยพิทักษ์ ต่อมาสถานีประชานามัยพิทักษ์ เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีอนามัย
    
กำเนิดสหกรณ์ โดยมีการจัดตั้งสหกรณ์แห่งแรก คือสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ มีสำนักงานอยู่ที่ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมีพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (พระบิดาแห่งการสหกรณ์) เป็นนายทะเบียนพระองค์แรก
    
 ตั้งคลังออมสิน เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อน มีผู้ร้องเรียนว่าการรักษาทรัพย์สมบัตินั้น ยากลำบาก ไม่ทราบว่าจะนำทรัพย์ที่หามาได้ไปฝากไว้ที่ใดจึงจะปลอดภัย เพราะมีการปล้นสดมหรือฉ้อโกง จึงโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน คลังออมสินนี้ได้วิวัฒนาการมาเป็น ธนาคารออมสิน ในปัจจุบัน

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile