หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
Ram 4 | สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รัชกาลที่
4 |
1.พระราชประวัติ | |||
2.การปกครอง | |||
3.เศรษฐกิจ | |||
4.ศาสนา | |||
5.ศิลป-วัฒนธรรม | |||
6.กวีและวรรณกรรม | |||
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ | |||
รัชกาลที่ 4 |
เซอร์ยอห์น
เบาว์ริง |
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสนโยบายการเปิดประเทศของรัชกาลที่ 4 นำประเทศไทยก้าวไปสู่ยุคใหม่ ทำความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวตะวันตก ปรับปรุงวัฒนธรรมประเพณีของไทยที่ชาวต่างชาติ ดูถูกเหยียดหยาม ขจัดอุปสรรคทางการค้าขายกับชาติตะวันตก สืบเนื่องมาจากการสนธิสัญญาเบาว์ริง พระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษได้ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring ซึ่งเป็นผู้ตรวจการค้าของอังกฤษจากฮ่องกง เป็นทูตเข้ามาเจรจาทำการค้ากับไทย การเจรจาอันสำคัญยิ่ง ในประวัติศาสตร์ได้เริ่มขึ้น ในเดือนเมษายน 2398 โดยมีสาระดังนี้ 1. ไทยกับอังกฤษจะมีสันติภาพและมิตรภาพกัน ชั่วนิรันดร์ บรรดาคนในบังคับของฝ่ายหนึ่งที่เข้าไปอยู่ในอาณาเขตอีกฝ่ายหนึ่งนั้น จะต้องได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นอันดีและอนุญาตให้ทำการค้าได้โดยสะดวก ปราศจากการกดขี่ข่มแหงใด ๆ 2. ฝ่ายไทยยอมให้อังกฤษตั้งกงสุลเข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพฯ และให้กงสุลอังกฤษ มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ซึ่งคนในบังคับอังกฤษเป็นจำเลยทั้งคดีแพ่งและอาญา ส่วนคดีที่คนในบังคับของอังกฤษเป็นโจทก์ คนไทยเป็นจำเลยนั้นให้ขึ้นศาลไทยและในการนี้ถ้าหากว่า กงสุลอังกฤษจะเข้าไปนั่ง ฟังการพิจารณาคดีอยู่ด้วยก็ได้ 3. อนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษอยู่อาศัยเป็นการประจำและถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยภายในอาณาเขตอันจำกัดได้ คือภายในกรุงเทพฯ และภายในเขตที่ห่างกำแพงพระนครออกไป 200 เส้น ( ไม่เกิน 4 ไมล์อังกฤษ )ภายในเขตดังกล่าวนี้อนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษเช่าได ้แต่ซื้อไม่ได้ เว้นแต่จะเข้ามาอยู่นานถึง 10 ปี หรือ ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทยแล้ว จึงซื้อได้ ส่วนที่ห่างกำแพงพระนครเกิน 200 เส้นออกไป ในรัศมีที่เรือแจวจะไปถึงได้ภายใน 24 ชั่วโมงนั้น อนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษ ซื้อหรือเช่าได้ แต่ที่ภายนอกบริเวณดังกล่าวนี้ออกไปนั้น คนในบังคับอังกฤษจะซื้อหรือเช่าไม่ได้ 4. ภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือที่เคยเก็บมาก่อนนั้น เป็นอันยกเลิกและให้เก็บภาษีขาเข้าแทน โดยกำหนดให้รัฐบาลไทยเก็บได้เพียงร้อยละ 3 ของราคาสินค้าเท่านั้น ส่วนสินค้าขาออกให้เก็บภาษีได้เพียงครั้งเดียวตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวกต่อท้ายสนธิสัญญา 5. ให้คนในบังคับอังกฤษมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาโดยเต็มที่ 6. คนในบังคับของอังกฤษที่ประสงค์จะเข้าอยู่ในประเทศไทยจะต้องไปจดชื่อลงทะเบียนไว้ ณ สถานกงสุลอังกฤษ ที่กรุงเทพฯ 7. สิทธิพิเศษต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลไทยได้อนุมัติให่แก่ประเทศอื่นอย่างใด จะต้องให้แก่รัฐบาลอังกฤษอย่างเดียวกันนั้นด้วย 8. สนธิสัญญานี้จะบอกเลิกไม่ได้ คือไม่มีกำหนดอายุเวลาและจะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมพร้อมกัน สนธิสัญญานี้เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง ฝ่ายไทยต้องตกลงทำสัญญา โดยรัชกาลที่ 4 ได้ลงนามในสัญญาเมื่อ 18 เมษายน 2398 รวมระยะเวลาในการเจรจา 9 วัน จากผลของ สนธิสัญญานี้ชาติต่าง ๆ ได้เห็นประโยชน์ จึงเข้ามาขอทำสัญญาอย่างเดียวกับอังกฤษดังนี้ พ.ศ. 2399 ไทยทำสัญญากับ สหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส พ.ศ. 2401 ไทยทำสัญญากับ เดนมาร์ก สันนิบาตแฮนซิเอติก และโปรตุเกส พ.ศ. 2403 ไทยทำสัญญากับ ฮอลันดา และปรัสเซีย นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังได้แต่งตั้งให้ เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring เป็นผู้แทนในการเจรจาทำสัญญากับเบลเยียม อิตาลี นอรเวย์ และสวีเดน อีกด้วย การแต่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ ได้ทรงมีพระราชไมตรี ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring อัญเชิญพระราชสาส์นและ นำเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย ทางไทย ได้ขอให้อังกฤษส่งเรือมารับ คณะทูตไทย ไปยังประเทศอังกฤษ เนื่องจากไทยไม่มีเรือที่สามารถเดินทางไปประเทศอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) เป็นอัครราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการไปถวาย สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2400 เป็นการส่งทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีถึงทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2410 รัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ แต่งตั้งให้ เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring เป็นอัครราชทูตไทย ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรปคนแรก และ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ " พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งคณะทูตสยาม ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์ ( แพ บุนนาค ) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิตเป็นตรีทูต เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ในปี พ.ศ. 2404 โดยขบวนเรือของกองทัพฝรั่งเศส
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา - ฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่าไทยกับพม่า |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|