ด้านศาสนา
1. การจัดระเบียบการปกครองสงฆ์ แบ่งออกเป็น 4 คณะประกอบด้วย
1.1 คณะเหนือ คือคณะสงฆ์ ตามวัดต่าง
ๆ ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
1.2 คณะใต้ คือคณะสงฆ์ ตามวัดต่าง
ๆ ในหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด ตั้งแต่ราชบุรีลงไป
1.3 คณะกลาง คือคณะสงฆ์ ตามวัดต่าง
ๆ ในเขตแขวงกรุง
1.4 คณะอรัญวาสี คือคณะสงฆ์ ที่เล่าเรียนฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายให้ขึ้นกับคณะกลาง โดยมี กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นผู้ดูแล
2. การสร้างและจำลองพระพุทธรูป
พระราชดำริทางพระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มิได้จำกัดอยู่เฉพาะพระธรรมคำสอนเท่านั้น แต่มีพระราชดำริวินิจฉัยเรื่องต่าง
ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระอัฉริยภาพและพระราชอัธยาศัยที่มุ่งตรงต่อความเป็นจริงและความ๔ุกต้อง
ในเรื่องนั้น ๆ ทั้งแสดงให้เห็นว่าทรงยึดมั่นในหลักเหตุผลตามแนวแห่งพุทธวินิจฉัย
ในการศึกษาและวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ โดยมีความจริงและความถูกต้องเป็นเป้าหมาย
ในด้านปฏิมากรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระดำริสร้างพระพุทธรูป
ซึ่งมีพุทธลักษณะแตกต่างไปจากพรพุทธรูปสมัยก่อนกล่าวคือ มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ทั่วไปมากขึ้น
พระพุทธรูปที่โปรดฯ ให้สร้าง เช่น
2.1
พระสัมพุทธพรรณี
2.2
พระนิรันตราย
2.3
พระพุทธอังคีรส
2.4 พระพุทธสิหิงจำลอง
|
พระสัมพุทธพรรณี ทรงพระราชดำริสร้างขึ้นแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ และประทับอยู่ ณ วัดราชาธิวาส
ปัจจุบัน พระสัมพุทธพรรณีประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
|
พระนิรันตราย ทรงพระราชดำริให้สร้างสำหรับตั้งในงานพระราชพิธีองค์หนึ่งไม่มีเรือนแก้ว
แล้วทรงพระราชดำริ ให้จำลองสร้างอย่างมีเรือนแก้วสำหรับพระราชทานให้กับพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดละองค์
รวม 18 องค์ |
|
พระพุทธอังคีรส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อจะอัญเชิญไปประดิษฐาน
ณ พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญ พระพุทธอังคีรส มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามและถวายพระนามว่า
พระพุทธอังคีรส |
|
พระพุทธสิหิงจำลอง หล่อเพื่อเป็นพระประธานวัดราษฎร์ประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม เรียกว่า
พระพุทธสิหังคปฏิมากร และจำลองไปไว้ที่ซุ้มจรนำพระปฐมเจดีย์องค์หนึ่ง
เรียกว่า พระสิหิงค์ |
3. การสร้างและบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัด
มีพระราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ไทยมาแต่โบราณที่โปรดเกล้า
ฯ ให้สร้างพระอารามถวายไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นพระราชกุศลและเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาพระอารามที่โปรดเกล้าให้สร้างนั้นเรียกว่าพระอารามหลวง
วัดที่โปรดให้สร้างในกรุงเทพมหานคร ได้แก่
1.
วัดบรมนิวาส
2.
วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม
3.
วัดโสมนัสวิหาร
4.
วัดปทุมวนาราม
5.
วัดมกุฎกษัตริยาราม
นอกจากนี้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามอื่น
ๆ อีกมากกว่า 40 วัด ทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง อาทิ วัดอรุณราชวราราม
วัดบวรนิเวศ พระเจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ
พระราชทานนามว่า บรมบรรพต พระสมุทรเจดีย์
กลางน้ำเมืองสมุทรปราการ พระพุทธเสลเจดีย์ ยอดเขามหาสวรรค์ หรือ ที่เรียกว่า พระนครคีรี แต่ชาวบ้านเรียกว่า เขาวัง
4. สงสมณทูตไปลังกา เพื่อนำพระไตรปิฎกที่ยืมมาในสมัยรัชกาลที่
3 ไปคืน โดยมีพระสงฆ์ไป 10 รูป มีพระอโนมศิริมุนี เป็นหัวหน้า ภายหลังได้เป็นสมเด็จพระพุทธาจารย์
( สี )
5. ทรงอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ อาทิ พระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณข้างใต้อู่บางกอกด๊อก
ให้ชาวคริสเตียนสร้างโบสถ์ ทรงสร้างวัดอุภัยราชบำรุง บริเวณตลาดน้อยให้กับพระญวนฝ่ายมหายาน
|