อารยธรรมตะวันตก
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 3
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3
1.พระราชประวัติ


 
แบบฝึกหัด
2.การปกครอง
3.เศรษฐกิจ  
4.ศาสนา
5.ศิลปกรรม-วัฒณธรรม
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
8.อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก  
9. ตำราฤาษีดัดตน      

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 3 (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ( 21/07/ 2367 –02/04/2394 )
วัฒนธรรมตะวันตก ด้านการพิมพ์ การแพทย์ การศึกษา การต่อเรือ เครื่องจักรกล การทหาร วิชาดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ด้านการพิมพ์
           เรื่องราวต่าง ๆ ในสมัยก่อน ที่จะมีการพิมพ์ ได้มีการบันทึกไว้บนใบลาน ที่เรียกว่า การจาร โดยใช้เหล็กแหลมเขียน หรือมีการบันทึกไว้ใน สมุดข่อย หรือ สมุดไทย สาเหตุที่เรียกสมุดข่อยเพราะสมุดทำมาจากเปลือกข่อย หรือที่เรียกว่าสมุดไทย เพราะ เลียนแบบสมุดฝรั่ง การจาร ส่วนใหญ่จะจารเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา คัมภีร์พระไตรปิฎก ส่วนสมุดไทย (สมุดข่อย) ใช้เขียนบันทึกเกี่ยวกับ ตำรา จดมายเหตุ กาพย์กลอน แบ่งออกเป็นสองชนิด ฉบับหลวง และ ฉบับราษฎร์หรือฉบับเชลยศักดิ์ ลักษณะของสมุดมีสามขนาด อย่างดีที่สุด กระดาษหนา ขัดเกลี้ยง เรียกว่า สมุดทรง ขนาดกลาง เรียกว่า สมุดรองทรง และขนาดเล็กเรียกว่า สมุดร่าง ลักษณะของสมุดไทยนี้ เป็นกระดาษแผ่นยาวแผ่นเดียวพับกลับไปกลับมาเป็นชั้น ๆ ชั้นหนึ่งชั้นเรียก เผนิก สมุดไทยเล่มหนึ่งโดยมากมีขนาด 20-24 เผนิก ขนาดของสมุดไทยนั้นทางหอสมุดแห่งชาติ ได้กำหนดอัตราความกว้างยาวไว้ 3 ขนาดคือ
           ขนาดใหญ่  เรียกขนาด ก. มีอัตรากว้าง 21-30 เซนติเมตร ยาว 70 เซนติเมตรขึ้นไป
           ขนาดกลาง เรียกขนาด ข. มีอัตรากว้าง 11-20 เซนติเมตร ยาว 34-70 เซนติเมตร
           ขนาดเล็ก   เรียกขนาด ค. มีอัตรากว้าง 6-11 เซนติเมตร ยาว 20-34 เซนติเมตร
ขนาดที่นิยมใช้กันคือ ขนาด ข. สมุดไทยสีขาวเขียนด้วยดินสอสีดำหรือหมึกดำ สมุดไทยสีดำเขียนด้วยรง (สีเหลืองจัด) หรดาล (สีเหลืองอ่อน) น้ำฝุ่นดินสอขาวและตัวทอง ซึ่งใช้ยางมะเดื่อลงก่อนและใช้ทองเปลวปิดทับ ปากกาที่เขียนทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้เหมือนปากไก่ ก่อนเขียนบางครั้งต้องนำไปลนไฟเพื่อให้ปากกาแข็งจึงจะเขียนได้ ในการเขียนสมุดไทยต้องเสียเวลาในการเขียนอย่างมาก เนื่องจากต้องเขียนครั้งละตัวและมีความยาวไม่มากนัก และต้องรีบปิดทองก่อนที่ยางมะเดื่อจะแห้งหมดเสียก่อน ทำให้เสียเวลามาก เป็นสาเหตุที่ทำให้หนังสือไทยมีน้อยไม่แพร่หลาย ผู้ที่จะทำได้ต้องเป็นตระกูลที่มีทรัพย์ จึงจะสามารถมีสมุดไทย(สมุดข่อย)เป็นของต้นเอง
          ผู้ริเริ่มการพิมพ์หนังสือในประเทศไทย เป็นชาวอังกฤษ ชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ โดยรัฐบาลอังกฤษ ที่อินเดีย ได้ส่งยอห์น คอรว์เฟิด เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะไม่เข้าใจภาษากัน ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่ประจำอยู่มีอินเดีย ได้ส่ง เจมส์โลว์ ผู้ซึ่งเห็นความสำคัญของภาษาไทย ได้เริ่มศึกษาเรียนรู้ ภาษาไทย และหล่อตัวหนังสือไทยขึ้นที่ เมือง เบงกอล เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2371 แล้วส่งไปใช้ในราชการที่สิงคโปร์ จากนั้นได้ใช้พิมพ์แบบเรียนไวยากรไทย สำหรับให้ข้าราชการอังกฤษได้ศึกษา นับเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรกในโลก
         แต่ หลักฐานการพิมพ์ของคณะบัปติสต์ กล่าวว่า แอดดอไนราม จัดสัน Adoniram Judson หรือ หมอจัดสัน เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเรียนภาษาไทยกับคนไทย ที่ถูกจับไปเป็นเชลยคราวเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2310 ในประเทศพม่า จากนั้นได้แปลคัมภีร์เป็นภาษาไทย โดยสร้างแท่นพิมพ์ขึ้นแล้วส่งไปหล่อตัวพิมพ์ที่ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2362 แล้วได้พิมพ์คัมภีร์เป็นภาษาไทย ออกแจกจ่ายคนไทยในประเทศพม่า ต่อมาได้ส่งแท่นพิมพ์ให้กับคณะบัปติสต์ ที่ประจำอยู่ ณ สิงคโปร์ ต่อมาหมอบรัดเลย์ ได้ซื้อแท่นพิมพ์จากสิงโปร์ นำมายังกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2378          ฉะนั้นการสร้างแท่นพิมพ์และประดิษฐ์อักษรไทยนั้นจึงสมควรเป็นของหมอจัดสันและร้อยเอกเจมส์โลว์ ร่วมกัน
การพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นหลักคำสอนทางศาสนาทั้งสิ้น มีการพิมพ์หนังสือทางราชการครั้งแรก เมื่อ 27 เมษายน 2382 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้จ้างโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่น เป็นใบปลิวจำนวน 9,000 ฉบับ   ต่อมาหมอบรัดเลย์ได้พิมพ์ ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2385 ทำให้คนไทยทราบ วันเดือนปีทางสุริยคติ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังพิมพ์หนังสือแถลงข่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยอีกด้วย โดยใช้ชื่อว่า บางกอกรีคอเดอร์ Bangkok Recorder โดยพิมพ์ออกเป็นรายปักษ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387

แดน บีช บรัดเลย
Dr. Dan Beach Bradley
แดน บีช บรัดเลย
Dr. Dan Beach Bradley
นางบรัดเลย์
Mrs. Bradley
นางแมตตูน
Mrs. Mattoon
พระยาอนุกูลสยามกิจ

ด้านการแพทย์
พวกมิชชันนารี เริ่มกิจการด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ณ ที่พักริมน้ำวัดเกาะตอนสำเพ็ง และขยายกิจการออกไปตามหัวเมือง โดยจัดตั้งโอสถศาลาและสุขศาลาหลายแห่ง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บและจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน ทำให้คนไทยรู้จักยาแผนปัจจุบันเป็นครั้งแรก
การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เริ่มมีครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 นี้ โดยหมอบรัดเลย์ Dr. Dan Beach Bradley เป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่ มีการปลูกฝีในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 รัชกาลที่ 3 ทราบความดังกล่าวจึงให้หมอหลวง มาฝึกหัดปลูกฝี กับหมอบรัดเลย์ และพระราชทานรางวัลให้กับหมอบรัดเลย์และหมอหลวงทีมาฝึกหัดปลูกฝี ในครั้งนั้น คนละ 400 บาท ถึง 200 บาท ตามลำดับหมอใหญ่และเล็ก
การผ่าตัด วิธการผ่าตัดตามวิธีศัลยกรรมของแพทย์แผนปัจจุบัน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2380 เหตุเกิดจากไฟพะเนียงระเบิด ในงานฉลองวัดประยูรวงศ์ฯ ถูกผู้คนตายไปหลายคน ในจำนวนนี้มีะพระภิกษุได้รับบาดเจ็บ แขนกระดูกแตก หมอบรัดเลย์ ได้ช่วยชีวิตไว้โดยการตัดแขนข้างที่แตกออก ในที่เกิดเหตุนั้น ทำให้คนไทยได้ความรู้ใหม่ว่า แพทย์สามารถผ่าตัดร่างกายของมนุษย์ที่มีชีวิตได
การผ่าตัดโดยใช้ยาสลบ ช่วยไม่ให้คนรู้สึกเจ็บปวด ริเริ่มโดย หมอเฮาส์ Dr. Samuel R. House เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2390 เหตุเกิดจากหญิงชรา คนหนึ่งอายุ 84 ปี ถูกไม้ไผ่ตำหักคาอยู่ ไม่สามารถดึงออกได้ หมอเฮาส์ใช้อีเทอร์ให้คนไข้สูดดมเป็นยาสลบ เพื่อช่วยในการผ่าตัดในครั้งนี้ ปรากฎว่าได้ผลดี นอกจากนี้พวกมิชชันนารียังได้นำวิธีการฉีดยา มาใช้เป็นครั้งแรก ในประเทศไทย

ด้านการศึกษา
มิชชันนารีชาวอเมริกันชื่อ เจสซี คาสแวล Jesse Caswell คนไทยเรียกหมอกัศแวน ได้สอนภาษาอังกฤษให้กับเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งขณะนั้นได้ผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร จนสามารถมารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างแตกฉานสารถเขียนและพูดได้เป็นอย่างดีนับว่าเป็นคนไทยคนแรกที่เรียนรู้และพูดภาษาอังกฤษได้ นอกจากเจ้าฟ้ามงกุฎที่เรียนภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หลวงนายสิทธิ์ (ช่วง บุนนาค) ที่เรียนภาษษอังกฤษ แต่ส่วนใหญ่มักสนใจศึกษาวิชาเฉพาะทาง
ด้านการต่อเรือ การทหารเรือ เครื่องจักรกล
เจ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงสนพระทัยทางด้านดาราศาสตร์การเดินเรือและวิชาช่างกล จนสามารถตั้งโรงเครื่องจักรและต่อเรือกลไฟได้ หลวงนายสิทธิ์ (ช่วงบุนนาค) ได้ศึกษาการต่อเรือกำปั่นใบแบบฝรั่ง สามารถใช้การได้เป็นอย่างดี เรือลำแรกต่อได้สำเร็จในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2378 เป็นสาเหตุที่ทำให้ เรือสำเภาแบบจีนไม่มีผู้นิยมหันมาใช้เรือกำปั่นใบแทน
นายโหมด อมาตยกุล (พระยากระษาปนกิจโกศล) ศึกษาเครื่องจักรกลและวิธีผสมธาตุ จนสามารถผลิตเครื่องมือกลึงเกลียวได้เองและยังฝึกการถ่ายรูปอีกด้วย บุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการถ่ายทอดวิชาเครื่องจักรกล ก็คือ นายยอนฮัตเสต ชันดเลอร์ คนไทยนิยมเรียก หมอจันดเล ซึ่งได้ช่วยเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ต่อเรือกลไฟแล่นในลำน้ำเจ้าพระยาได้เป็นลำแรก

วิชาดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์

หมอเฮาส์ ได้สอนวิชาดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ให้เจ้าฟ้ามงกุฎ ทำให้พระองค์เข้าใจด้านดาราศาสตร์ได้เป็นอย่างดี คนไทยได้ความรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สัณฐานของโลก การหมุนของโลก ความสัมพันธ์ของโลกกับดวงจันทร์ การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง จันทรุปราคา สุริยุปราคา ความกดอากาศ บารอมิเตอร์ แม่เหล็กไฟฟ้า ตลอดจนด้านชีววิทยาและสรีระวิทยา

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile