หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 3
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3
1.พระราชประวัติ

วัดประจำรัชกาลที่ 3
2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.ศิลปกรรม-วัฒนธรรม  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
8.อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก  
9. ตำราฤาษีดัดตน      
       
วัดราชโอรสาราม
วัดเฉลิมพระเกียติ
วัดเทพธิดาราม
วัดราชนัดดา

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 3 ( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( 21/07/ 2367 –02/04/2394 )
ด้านศาสนา

1 . การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นยุคของการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ อย่างมาก นับว่าเป็นสมัยที่ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก
วัดที่สำคัญได้แก่ วัดราชโอรสาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3
วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย ( แม่ )
วัดเทพธิดาราม รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ( ลูก )
วัดราชนัดดาราม รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ( หลาน ) และยังสร้าง


“โลหะปราสาท” ขึ้นแทนพระเจดีย์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้มีที่สงบเสงี่ยมสำหรับบำเพ็ญสมาธิ ในวัดนี้
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดฯ ให้ซ่อมพระอุโบสถวัดพระแก้ว ในรัชกาลก่อน ๆ ได้มีการถวายเครื่องทรงพระแก้วมรกต เฉพาะฤดูร้อนและฤดูฝน ในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ โปรด ฯ ให้ทำเครื่องทรงฤดูหนาวถวายอีกหนึ่งชุด จึงมีเครื่องทรงสำหรับพระแก้วมรกตครบทั้งสามฤดูในรัชกาลนี้ และยังโปรด ฯ ให้หล่อพระพุทธรูปยืนสองพระองค์ทรงเครื่องกษัตริย์ไทย ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
องค์ที่ 1 สร้างถวายพระอัยกา ( รัชกาลที่ 1 ) ทรงถวายนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
องค์ที่ 2 สร้างถวายพระบรมชนกนาถ ( รัชกาลที่ 2 ) ทรงถวายนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ขณะนั้นคนไทยโดยทั่วไปเรียกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ว่า “แผ่นดินต้น” และเรียกรัชกาลที่ 2 ว่า”แผ่นดินกลาง” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่าประชาชนจะเรียกพระองค์ว่าแผ่นดินสุดท้าย อันเป็นอัปมงคล จึงไม่ให้เรียกแผ่นดินต้น แผ่นดินกลางอีกและทรงถวายนามให้รัชกาลที่ 1 ว่า “พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก”
รัชกาลที่ 2 ว่า “พระพุทธเลิศหล้านภาลัย”

วัดสระเกศ รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้สร้างพระวิหารใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส ซึ่งอัญเชิญมาจากจังหวัดพิษณุโลก และโปรดฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นแม่กองจัดสร้างเจดีย์ภูเขาทอง โดยมุ่งหวัง จะให้ สูงใหญ่เหมือนเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา ( สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า “บรมบรรพต” ) แต่ชาวบ้าน นิยมเรียกว่า “เจดีย์ภูเขาทอง”
วัดยานนาวา ( เดิมชื่อวัดคอกกระบือ ) รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างเจดีย์เป็นรูปเรือสำเภาขนาดเท่าของจริงขึ้นไว้ ในวัดนี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังจะได้รู้จักเรือสำเภาที่ใช้ในการค้ายขายสินค้ายังต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งได้โปรดให้ดำเนินการซ่อมและสร้างเพิ่มเติมอย่างมโหฬาร เมื่อปีพุทธศักราช 2379 สร้างเจดีย์เพิ่มเติมเคียงข้าง"พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ" ที่สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้างละองค์ถวายแด่พระบรมชนกนาถองค์หนึ่งนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร” และเป็นส่วนของพระองค์เององค์หนึ่งนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกลกนิทาน”
พร้อมกับสร้างวิหารพระนอนขึ้นใหม่พร้อมด้วยพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ ในการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในครั้งนี้ ได้โปรดให้ประชุมบรรดานักปราชญ์ ราชบัณฑิตสาขาวิทยาการต่าง ๆ แล้วให้ช่วยกันจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในวัด อาทิ ตำราแพทย์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย กลบท ฯลฯ โดยเหตุนี้ จึงมีคำกล่าวว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย
2 . การชำระพระไตรปิฎก
มีการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ได้โปรดให้มีการชำระพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วน จนได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมกว่าฉบับก่อน ๆ และโปรดให้จ้างอาจารย์สำหรับบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรทุกพระอารามหลวง
3. กำเนิด “ธรรมยุติกนิกาย”
ในสมัยนี้ได้มีพระพุทธศาสนานิกายใหม่เกิดขึ้นอีกนิกาย หนึ่งเรียกว่า “ธรรมยุติกนิกาย” ผู้ให้กำเนิด
คือสมเด็จพระน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งขณะนั้นกำลังผนวชเป็น “วชิรญาณภิกขุ” อยู่ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) สาเหตุการกำเนิดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เนื่องจากขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎกำลังผนวชอยู่นั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จสรรคตลง บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ ในสมัยนั้นเห็นสมควรให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นครองราชสมบัติ เพราะบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะคับขัน กำลังมีศึกสงคราม ต้องการผู้มีความรู้ความสามารถขึ้นมาปกครองบ้านเมือง ทำให้เจ้าฟ้ามงกุฎตัดสินพระทัย มุ่งศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังต่อไป ได้พยายามศึกษาพระไตรปิฎกอย่างละเอียด แล้วเห็นว่าพระสงฆ์ของไทยในขณะนั้นประพฤติผิดแผกแปลกไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้อย่างมาก ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้พบพระมอญรูปหนึ่งนามว่า “พระพุทธวังโส” ซึ่งเป็นพระราชาคณะมีสมณศักดิ์ว่า “พระสุเมธาจารย์” อยู่ ณ วัดบวรมงคล เป็นพระผู้ชำนาญพระวินัยปิฎกและสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัด เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้นำระเบียบแบบแผนของพระพุทธวังโสมาปฏิบัติ โดยพระองค์ได้ย้ายมาประทับ ณ วัดราชาธิวาส จากนั้นได้มีบุตรหลานเจ้านาย ขุนนางต่าง ๆ เข้ามาถวายตัวเป็นศิษย์ ศึกษาและปฏิบัติตามเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดพระสงฆ์คณะใหม่อันได้ชื่อว่า “ธรรมยุติกนิกาย”

โลหะปราสาท

วัดราชนัดดาราม

วัดยานนาวา

วัดเทพธิดา

วัดราชโอรสาราม

วัดราชาธิวาส


วัดเฉลิมพระเกียรติ

 
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile