หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 3
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3
1.พระราชประวัติ



2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.ศิลปกรรม-วัฒนธรรม  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
8.อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก  
9. ตำราฤาษีดัดตน
พระราชลัญจกรรัชกาลที่ 3
เงินพดด้วง
 

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 3 ( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( 21/07/ 2367 –02/04/2394 )ด้านเศรษฐกิจ
การปรับปรุงภาษีอากร
          เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในราชการแผ่นดินมากเพราะเกิดสงครามระหว่งไทยกับญวนซึ่งรบกัน
อย่างยืดเยื้อเป็นเวลานานถึง 14 ปีเศษ นอกจากนี้ยังต้องใช้จ่ายในการปฏิสังขรณ์วัดวาอารามอีกมาก จึงมีการปรับปรุง การเก็บภาษีอากรดังนี้
          1 . แก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากร เช่น อากรค่านา ในสมัยรัชกาลก่อน ๆ ใช้วิธีเรียกเก็บ หางข้าว (ข้าวเปลือก)
เช่น เก็บในอัตราไร่ละ 2 สัดครึ่ง เจ้าของที่นาจะต้องขนข้าวเปลือกมาส่งฉางหลวงเอง ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกเก็บอากรค่านาเป็นตัวเงิน โดยคิดในอัตราไร่ละ 1 สลึงและเก็บค่าขนส่งเข้าฉางหลวงในอัตราไร่ละ 1 เฟื้อง
          2 . ตั้งภาษีอากรขึ้นใหม่อีก 38 ประเภท เช่น บ่อนเบี้ยจีน หวย ก.ข. ภาษีเบ็ดเสร็จ ภาษีพริกไทย
ภาษีฝาง ภาษีเกลือ ภาษีไม้แดงเป็นต้น
          3 . กำเนิดระบบเจ้าภาษีนายอากร ภาษีที่สำคัญ บางอย่างรัฐบาลเป็นผู้เก็บเอง นอกนั้นจะให้เอกชนประมูล
ใครประมูลได้ จะได้ชื่อว่า “เจ้าภาษี” หรือ “นายอากร” เจ้าภาษีนายอากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ระบบเจ้าภาษีนายอากรนี้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5
          4 . มีการยกเลิกภาษีบางชนิด เช่น ภาษีฝิ่น อากรค่าน้ำ ซึ่งเรียกเก็บจากชาวประมง
อากรรักษาเกาะ ซึ่งเรียกเก็บจากผู้เก็บไข่จาระเม็ด (ฟองเต่าตนุ)
การค้าขายกับต่างประเทศ
ส่วนใหญ่ทำการค้ากับจีน และค้าขายกับหัวเมืองมลายู พ่อค้าจีนในกรุงเทพฯ ได้ส่งสำเภาไปค้าขายถึงสิงคโปร์และเกาะหมาก การเปลี่ยนแปลงทางการค้าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีดังนี้
          1. การค้าโดยการแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายลดน้อยลง
          2. ผ่อนคลายการค้าแบบผูกขาดและยกเลิกประเพณีการค้าขายของทางราชการบางประการ อันเนื่องมาจาก
การทำสนธิสัญญาเบอร์นี่กับอังกฤษ
          3. เรือสินค้าเริ่มเปลี่ยนจากเรือสำเภามาเป็นเรือกำปั่นใบ ซึ่งคนไทยต่อขึ้นครั้งแรกในเดือน ตุลาคม 2378 โดยหลวงนายสิทธิ์ ( ช่วง บุนนาค )( สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 )

 
เงินพดด้วง

มีการผลิตเงินพดด้วงออกมาหลายตรา ในโอกาสต่าง ๆ กัน มีดังต่อไปนี้ ตราประจำรัชกาล เป็นตรามหาปราสาท ลักษณะเป็นปราสาทหลังคายอดแหลม ยอดแหลมอยู่ในกรอบ ใช้กับเงินพดด้วง ขนาดหนึ่งบาท หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง
            ตราครุฑเสี้ยว ใช้กับเงินพดด้วงขนาดสิบสลึง
            ตราดอกไม้ ใช้กับเงินพดด้วงขนาด ตั้งแต่หนึ่งบาท จนถึงขนาดหนึ่งไพ
            ตราหัวลูกศร ใช้กับเงินพดด้วง ตั้งแต่ขนาดหนึ่งสลึงลงมา
            ตราใบมะตูม ใช้กับเงินพดด้วงที่ออกมาเป็นที่ระลึก มีขนาดหนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง สองไพ และหนึ่งไพ
            ตราเฉลว ใช้กับเงินพดด้วงขนาดหนึ่งบาท ไม่มีตราแผ่นดิน

 
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile