หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 3
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3
1.พระราชประวัติ

แบบฝึกหัด
2.การปกครอง
3.เศรษฐกิจ  
4.ศาสนา
5.ศิลปกรรม-วัฒนธรรม
6.กวีและวรรณกรรม
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
8.อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
รัชกาลที่ 3
ศิลปะแบบจีน
 
9. ตำราฤาษีดัดตน      
       

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 3 ( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( 21/07/ 2367 –02/04/2394 )
ศิลปกรรม-วัฒนธรรม
          สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นยุคแห่งการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามครั้งใหญ่ สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ มักมีอิทธิพลของศิลปะ การช่างแบบจีน เข้ามาปะปนอยู่เป็นอันมาก เช่น หลังคาโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ จะทำรูปทรงเป็นหลังคาอย่างจีน โดยตัดศิลปะที่เป็นเครื่องประดับตกแต่ง จำพวก ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ของไทยแบบเดิมออกเสีย หน้าบรรพ์ก็ใช้กระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ มาประดับ ศาลาทิศก็สร้างแบบเก๋งจีน แม้แต่ลวดลายก็ทำแบบลายมักรจีนและลายดอกไม้จีน ประดับสถานที่ด้วยตุ๊กตาจีน ตัวสิงโต เสาโคมจำหลักรูปมังกรพัน ตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมในสมัยนี้ หาดูได้ตามวัดวาอารามต่าง ๆ เช่นวัดราชโอรสาราม วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม วัดเฉลิมพระเกียรติ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ศิลปการก่อสร้างที่ปรากฎในสมัยนี้อีกอย่างก็คือมีการประดิษฐ์ยอดซุ้มและยอดปราสาทเป็นรูปทรงมงกุฎ ตามยอดมณฑป ยอดซุ้มประตู ยอดหอระฆัง ตัวอย่างสถาปัตยกรรม อาทิ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม การสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบพระมหาเจดีย์ศรีสรรรเพชญดาญาณ ทรงถวายพระนามว่า พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร ประจำรัชกาลที่ 2 และพระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกลกนิทาน ประจำรัชกาลที่ 3 ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เจดีย์รูปเรือสำเภา ในวัดยานนาวา(วัดคอกกระบือ) โลหะปราสาท วัดราชนัดดา

     
     

ปฏิมากรรม
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยสร้างให้มีขนาดใหญ่เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา อาทิ พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 1 และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 2 ทั้งสององค์ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ หล่อด้วยสัมฤทธ์แล้วหุ้มด้วยทองคำหนักองค์ละ 63 ชั่ง 14 ตำลึง แล้วใช้เป็นชื่อเรียกพระนามของแผ่นดินต้น(รัชกาลที่ 1) และแผ่นดินกลาง (รัชกาลที่ 2) ตามลำดับ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม พระพุทธเสรฐตมมุนี พระประธานในพระอุโบสถ์ วัดราชนัดดา พระพุทธมหาโลกาภินันท์ พระประธานในพระอุโบสถ์ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี พระพุทธไตรรตนนายก พระประธานในวิหารวัดกัลยาณมิตร นอกจากนี้ยังสร้างพระพุทธรูปขนาดย่อมไว้อีก 34 องค์
ด้านจิตรกรรม
ในการปฏิสังขรณ์พระราชวังและวัดวาอาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ได้โปรดฯ ให้ช่าง เขียนภาพไว้บนฝาผนังมากมาย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาและชาดกต่าง ๆ ลักษณะของภาพเขียนยังคงเหมือนภาพเขียนในสมัยก่อนคือเป็นภาพสองมิติ (มีแต่ความกว้างและความยาว) ไม่มีความลึกและนิยมใช้การลงรักปิดทองเป็นพื้น

ด้านนาฏกรรม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่สนพระทัยทางด้านการละคร ไม่ได้สนับสนุนและบางครั้งยังทรงขัดขวางการแสดงอีกด้วย โปรดให้ยกเลิกโขนหลวงและละครในวังเสียทั้งหมด แต่การละครของไทยก็มิได้ซบเซาเลย กลับแพร่หลายขยายวงกว้างออกไป เมื่อไม่ได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ในพระบรมมหาราชวัง บรรดานักแสดงต่าง ก็พากันอพยพกระจัดกระจายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ บางกลุ่มก็ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาเจ้านายและขุนนางก็มี เพราะยังมีผู้นิยมการละครมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 อยู่เป็นอันมาก แต่ก่อนละครหลวงมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์เท่านั้น เมื่อทางละครหลวงถูกยกเลิก บรรดาเจ้านายและขุนนางที่นิยมการละครก็หันมาฝึกละครหลวงอย่างมากมาย ทำให้ศิลปการละครและดนตรีแพร่หลายเป็นที่นิยมในหมู่ราษฎรโดยทั่วไป
อารยธรรมตะวันตก
           วัฒนธรรมตะวันตก ได้เริ่มเผยแผ่เข้ามามีอิทธิพลในอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากชาวยุโรปที่เข้ามาค้าขายและเผยแผ่คริสตศาสนาแล้วยังมีมิชชันนารีชาวอเมิริกันก็เข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาด้วย
แต่สิ่งที่คนไทยได้รับนอกจากการเผยแผ่คริสตศาสนาแล้ว ยังได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดด้านวิชาการ เทคโนโลยี่สมัยใหม่ หลายประการ อาทิ ด้านการพิมพ์ การแพทย์ การศึกษา การต่อเรือ เครื่องจักรกล การทหาร วิชาดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile