หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
สาระภูมิศาสตร์
หน่วยที่ 3 ภูมิศาสตร์โลก World Geography  
บทที่ 9 ภูมิอากาศ Climate  
ความหมาย
ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อภูมิอากาศ
เขตภูมิอากาศ
การใช้สัญลักษณ์แทนชื่อภูมิอากาศ
ประเภทภูมิอากาศ
การแบ่งภูมิอากาศตามพืชพรรณธรรมชาติ
 
ภูมิอากาศ
ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน = อากาศประจำถิ่น ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษก็ได้
 
ภูมิอากาศ  climate  หมายถึง ลักษณะอากาศของบริเวณใดบริเวณหนึ่งในระยะเวลานาน หรือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งในช่วงระยะเวลานาน หาได้จากการจดบันทึกสภาพอากาศประจำวัน ของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ แล้วนำผลมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อสรุปหาค่าภูมิอากาศของภูมิภาคนั้น ซึ่งระยะเวลาในการจดบันทึกอาจนานมากกว่า 30 ปี   
 
ลมฟ้าอากาศ  weather  หมายถึง สภาวะอากาศของบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามการรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา อาทิ วันที่ 31 มกราคม 2555 ลมฟ้าอากาศบริเวณกรุงเทพมหานคร มีเมฆมากกับมีฝนกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.  
          นักภูมิอากาศวิทยาได้พยายามจำแนกลักษณะภูมิอากาศของโลกออกเป็นกลุ่ม ๆ และกำหนดขอบเขตพื้นที่ ที่มีลักษณะภูมิอากาศนั้น ๆ โดยใช้ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบหลาย ๆ ชนิดเป็นตัวกำหนด อาทิ ละติจูด  อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า มวลอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เป็นต้น
 
การแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกโดยใช้ละติจูดเป็นเกณฑ์
           ชาวกรีกเป็นชาติแรกที่ใช้ละติจูดเป็นเกณฑ์กำหนดเขตภูมิอากาศของโลก  โดยใช้หลักที่ว่า  แกนของโลกเอียง 23 องศา 30 ลิปดา กับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในวันที่ 21 มิ.ย.  แสงอาทิตย์ส่องตั้งฉากบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ Tropic of Cancer โลกหันขั้วโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล Arctic Circle  ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาเหนือขึ้นไป  จะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา     ส่วนบริเวณใต้ เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล Antarctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาใต้ลงมา จะเป็นกลางคืนตลอดเวลา ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกใต้เป็นฤดูหนาว
 
           เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์อีกหกเดือนต่อมา ในวันที่ 21 ธ.ค. แสงอาทิตย์ส่องตั้งฉากบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์นTropic of Cabricorn บริเวณใต้เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล  Antarctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาใต้ ลงมา จะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา ส่วนบริเวณเหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล   Arctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ  ขึ้นไป จะกลายเป็นกลางคืนตลอดเวลา ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว  จากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ดังกล่าวทำให้ลมฟ้าอากาศ  weather  เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน เกิดเป็นฤดูกาล


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th