หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
สาระภูมิศาสตร์
หน่วยที่ 3 ภูมิศาสตร์โลก World Geography  
บทที่ 9 ภูมิอากาศ Climate  
ความหมาย
ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อภูมิอากาศ
เขตภูมิอากาศ
การใช้สัญลักษณ์แทนชื่อภูมิอากาศ
ประเภทภูมิอากาศ
การแบ่งภูมิอากาศตามพืชพรรณธรรมชาติ
 

ประเภทภูมิอากาศ

ภูมิอากาศ  climate  หมายถึง ลักษณะอากาศของบริเวณใดบริเวณหนึ่งในระยะเวลานาน หรือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งในช่วงระยะเวลานาน หาได้จากการจดบันทึกสภาพอากาศประจำวัน ของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ แล้วนำผลมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อสรุปหาค่าภูมิอากาศของภูมิภาคนั้น ซึ่งระยะเวลาในการจดบันทึกอาจนานมากกว่า 30 ปี       นักภูมิอากาศวิทยาได้พยายามจำแนกลักษณะภูมิอากาศของโลกออกเป็นกลุ่ม ๆ และกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิอากาศนั้น ๆ โดยใช้ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบหลาย ๆ ชนิดเป็นตัวกำหนด อาทิ ละติจูด  อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า มวลอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เป็นต้น
การแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกโดยใช้ละติจูดเป็นเกณฑ์

ประเภทภูมิอากาศ

            1.  แบบ A  ภูมิอากาศเขตร้อน (Tropical climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คืออุณหภูมิเฉลี่ยของทุกเดือนจะไม่ต่ำกว่า 64.4 องศาฟาเรนไฮต์ (18 องศาเซลเซียส) มีปริมาณน้ำฝนมากและมีฝนรายปีเกินปริมาณน้ำที่ระเหยขึ้นไป ภูมิอากาศแบบนี้ไม่มีฤดูหนาว ภูมิอากาศแบบ A นี้ยังแบ่งได้อีกเป็น 3 แบบ ได้แก่ Af, Am, Aw
 
1.1  ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นฝนชุก (Tropical rain forest climate) Af ลักษณะอากาศชื้นตลอดเวลา มีฝนตกสม่ำเสมอและอุณหภูมิสูงตลอดปี ไม่มีเดือนใดที่ฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร ตลอดทั้งปีมีประมาณน้ำฝน มากกว่า 1,200 ม.ม./ปี
 
1.2  ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบมรสุม (Tropical monsoon climate)  Am มีลักษณะอากาศชื้นแตกต่างกันตามอิทธิพลของลมมรสุม ภูมิอากาศแบบนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม จึงทำให้มีระยะเวลาที่ฝนตกหนักและฝนตกน้อยตามอิทธิพลของลมมรสุม
 
1.3 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical savanna climate) Aw ลักษณะอากาศชื้นกับแล้งสลับกันชัดเจน มีชื่อเฉพาะว่า สะวันนา (savanna, wet and dry climate)
 
ภูมิอากาศแบบนี้แตกต่างจากภูมิอากาศแบบชื้นตลอดเวลา เพราะมีน้ำฝนตลอดปีน้อยกว่า จึงทำให้มีทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง
 
             2.   แบบ B  ภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง (Dry climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบ B คือการระเหยของน้ำจะมีมากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ภูมิอากาศแบบนี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ BW, BS
 
2.1 แบบทะเลทราย (Desert climate) BW อากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีต่ำกว่า 250มิลลิเมตร มีสองชนิด คือทะเลทรายในเขตร้อน BWh และทะเลทรายในเขตอบอุ่น BWk
 
2.2 แบบทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe climate) BS ลักษณะอากาศเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 250 - 500มิลลิเมตร มีสองชนิด คือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายในเขตร้อน BSh และภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายในเขตอบอุ่น BSk
 
 3. แบบ C ภูมิอากาศแบบอบอุ่นหรืออุณหภูมิปานกลาง (Warm temperate หรือ Mesothermal climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คือ เดือนที่หนาวเย็นที่สุดจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 64.4 องศาฟาเรนไฮต์ (18 องศาเซลเซียส) แต่จะไม่ต่ำกว่า 26.6 องศาฟาเรนไฮต์ (-3 องศาเซลเซียส) ภูมิอากาศแบบ C แบ่งได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ Cf,   Cw,  Cs
 
3.1 แบบกึ่งร้อนชื้น (Humid  subtropical climate) Cw  ลักษณะอากาศชื้น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศแห้งแล้งไม่มีฝนตก,  (Cwa, Cwb )
(Cwa = humid  subtropical winter dry)
ภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้น อากาศแห้งและฝนไม่ตกในฤดูหนาว ในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูงมีฝนตก
(Cwb = humid  subtropical winter dry)
ภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นฝน อากาศแห้งและฝนไม่ตกในฤดูหนาว ในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างต่ำมีฝนตก
(Cfa =  Humid sobtropical without dry season , hot summer)
ภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นไม่มีอากาศแห้งแล้งอากาศร้อนในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูง
พบได้ในเขตละติจูดกลาง ประมาณละติจูด 25 – 40 องศาทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ มักปรากฏทางชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีป จึงเรียกภูมิอากาศชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ภูมิอากาศแบบชายฝั่งตะวันออก (Marine east coast climate) ได้แก่ ดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ดินแดนทางภาคตะวันออกของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทวีปแอฟริกา บริเวณชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์และนิวเซาท์เวลส์ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดียถึงตอนใต้ของจีน ภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลีและประเทศญีปุ่น
 
3.2  แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (Humid marine west coast climate)  Cf  ลักษณะอากาศชื้น มีอุณหภูมิปานกลาง สบายในฤดูร้อนและไม่หนาวเกิน ในฤดูหนาว มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณน้ำฝนมากปานกลาง
(Cfb , Cfc = Humid marine west coast without dry season warm to cool summer)
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตกไม่มีอากาศแห้งแล้ง อากาศอบอุ่นในฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลาง อากาศอบอุ่นในฤดูหนาว
พบได้ในเขตละติจูดกลาง ประมาณละติจูด 25 – 40 องศาทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้อยู่บริเวณใกล้เคียงกับภูมิอากาศชายฝั่งตะวันออกแต่จะปรากฏอยู่ด้านชายฝั่งตะวันตกของทวีปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป ทางตอนใต้ของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ตอนใต้ของนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ทางตะวันตกของเยอรมัน ในทวีปอเมริกาเหนือบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในมลรัฐบริติชโคลัมเบีย วอชิงตันและโอเรกอน ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณทางตอนใต้ของประเทศชิลี ในทวีปแอฟริกาบริเวณ สาธารณะรัฐแอฟริกาใต้
 
3.3  แบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean climate) Cs ภูมิอากาศชื้น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกในฤดูหนาว   ปริมาณน้ำฝนประมาณ 750 – 1,000 มิลลิเมตรต่อปีในฤดูร้อน แห้งแล้ง (Csa, Csb)
(Csa = mediterranean summer dry)
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีฝนตกในฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนประมาณ 750-1,000 ม.ม./ปี อากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูง
(Csb = mediterranean summer dry)
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีฝนตกในฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนประมาณ 750-1,000 ม.ม./ปี อากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ
 
           4. แบบ D ภูมิอากาศแบบอุณหภูมิต่ำ (Snow หรือ Microthermal climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คือ เดือนที่หนาวเย็นที่สุดจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า  26.6 องศาฟาเรนไฮต์  (-3 องศาเซลเซียส) ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่ร้อนที่สุดจะสูงกว่า 50 องศาฟาเรนไฮต์ (10 องศาเซลเซียส) แบ่งเป็น 2 แบบคือ
 
4.1  แบบอุณหภูมิต่ำที่มีความชื้นตลอดปี (Humid  continental hot summer climate) Df มีฝนตกทั้งในฤดูร้อนและฤดูหนาวอากาศชื้นตลอดปี (Dfa, Dfb, Dfc, Dfd)
(Dfa = Humid  continental hot summer)
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนตกเกือบตลอดทั้งปี อากาศร้อนในฤดูร้อน
(Dfb = Humid  continental warm summer)
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนตกเกือบตลอดทั้งปี อากาศอบอุ่นในฤดูร้อน
(Dfc =  Subarctic cool summer)
ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกหรือภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้น ในฤดูร้อนอากาศเย็น
(Dfd  =  Subarctic varycool winter without dry season)
ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติก หรือ ภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้น อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว
 
4.2  แบบอุณหภูมิต่ำที่มีความแห้งแล้งในฤดูหนาว (Humid  continental mild summer climate) Dw มีฝนตกในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศเย็นและไม่มีฝนตก (Dwa, Dwb, Dwc, Dwd)
(Dwa = Humid  continental hot summer)
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนไม่ตกในฤดูหนาว อากาศร้อน ในฤดูร้อนอากาศร้อน
(Dwb = Humid  continental warm summer)
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนไม่ตกในฤดูหนาว อากาศอบอุ่นในฤดูร้อน
(Dwc =  Subarctic cool summer)
ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกหรือภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้นฝนไม่ตกในฤดูหนาว ในฤดูร้อนอากาศเย็น
(Dwd =  Subarctic varycool winter, winter dry)
ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติก หรือ ภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้น อากาศแห้งและหนาวจัดในฤดูหนาว
 
            5. แบบ E ภูมิอากาศแบบขั้วโลก (Polar climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คือ ไม่มีเดือนใดที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 50 องศาฟาเรนไฮต์ (10 องศาเซลเซียส) แบ่งเป็น 2 แบบ คือ (ET, EF)
5.1 แบบทุนดรา (Tundra climate) ET มีฤดูร้อนช่วงเวลาสั้นมาก ฤดูหนาวอากาศหนาวมาก และหนาวนาน มีฝนตกในฤดูร้อนบ้างเป็นครั้งคราว
5.2 แบบเขตน้ำแข็งหรือแบบขั้วโลก (Ice cap climate) EF อากาศหนาวจัดมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
 
            6.  แบบ H  ภูมิอากาศแบบที่สูง (Highland climate) เป็นภูมิอากาศในแนวตั้ง คือ ลักษณะภูมิอากาศที่ปรากฏตั้งแต่ที่ราบไปสู่ที่สูง หรือยอดเขา ภูมิอากาศแบบนี้ทั้งอุณหภูมิ ปริมาณฝน และพืชพรรณธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่และที่ตั้งตามละติจูด
 
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th