หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
สาระภูมิศาสตร์
หน่วยที่ 3 ภูมิศาสตร์โลก World Geography  
บทที่ 9 ภูมิอากาศ Climate  
ความหมาย
ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อภูมิอากาศ
เขตภูมิอากาศ
การใช้สัญลักษณ์แทนชื่อภูมิอากาศ
ประเภทภูมิอากาศ
การแบ่งภูมิอากาศตามพืชพรรณธรรมชาติ
บริเวณภูมิภาคและทวีปต่าง ๆ ของโลกมีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือสาเหตุดังต่อไปนี้
 
1. ที่ตั้งตามตำแหน่งละติจูด
          เนื่องจากโลกเป็นทรงกลม แสงอาทิตย์จึงตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมไม่เท่ากัน ดังนั้นในเวลาเที่ยงวันพื้นผิวบริเวณศูนย์สูตรได้รับรังสีจากแสงอาทิตย์เป็นมุมฉาก แต่พื้นผิวบริเวณขั้วโลกได้รับรังสีจากแสงอาทิตย์เป็นมุมเอียง ส่งผลให้เขตศูนย์สูตรมีอุณหภูมิสูงกว่าเขตขั้วโลก ประกอบกับรังสีที่ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมเอียง เดินทางผ่านความหนาชั้นบรรยากาศเป็นระยะทางมากกว่า รังสีที่ตกกระทบเป็นมุมฉาก ความเข้มของแสงจึงถูกบรรยากาศกรองให้ลดน้อยลง ยังผลให้อุณหภูมิลดต่ำลงไปอีก            ดังนั้นบริเวณที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดต่ำ(บริเวณที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร) อุณหภูมิจะสูง บริเวณที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดสูงอุณหภูมิจะต่ำ แบ่งออกเป็น 3 เขต
- เขตละติจูดต่ำ
                       ในซีกโลกเหนือ ตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรถึงเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์    เป็นเขตภูมิอากาศร้อน
                       ในซีกโลกใต้     ตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรถึงเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์น เป็นเขตภูมิอากาศร้อน
- เขตละติจูดกลาง
                       ในซีกโลกเหนือ ตั้งแต่เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ถึง อาร์กติกเซอร์เคิล   เป็นเขตภูมิอากาศอบอุ่น
                       ในซีกโลกใต้     ตั้งแต่เส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์น ถึง แอนตาร์กติกเซอร์เคิล เป็นเขตภูมิอากาศอบอุ่น
- เขตละติจูดสูง
                       ในซีกโลกเหนือ ตั้งแต่เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล   ถึง ขั้วโลกเหนือ เป็นเขตภูมิอากาศหนาว
                       ในซีกโลกใต้     ตั้งแต่เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ถึง ขั้วโลกใต้ เป็นเขตภูมิอากาศหนาว
        
2. ระยะห่างจากทะเล หรือความใกล้ไกลทะเล
          บริเวณที่อยู่ห่างไกลจากทะเลมาก ๆ จะไม่ได้รับอิทธิพลความชื้นจากทะเลทำให้มีภูมิอากาศแห้งแล้งมีปริมาณฝนน้อย  บริเวณที่อยู่ใกล้จากทะเล จะได้รับอิทธิพล ความชื้นจากทะเลทำให้มีภูมิอากาศชื้นมีฝนตก แต่ฝนจะตกหรือไม่นั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้ฝนตก ดินแดนที่อยู่ใกล้ทะเล จะได้รับความชื้นจากจากทะเล ทำให้มีอากาศเย็นสบายไม่ร้อนจัด เพราะอิทธิพลของภาคพื้นสมุทร ส่วนดินแดนที่อยู่ไกลทะเลมากๆ เวลาอากาศร้อนจะร้อนจัด เวลาอากาศหนาวจะหนาวจัดเป็นเพราะอิทธิพลของภาคพื้นทวีป
        
3. การวางตัวของเทือกเขา
        ถ้าเทือกเขาตั้งขวางทางลม   เมื่อลมพัดพาความชื้นมา ด้านหน้าเขาหรือด้านรับลม ฝนจะตกหนัก ทำให้เกิดความชุ่มชื้น ส่วนด้านหลังเขา ฝนจะตกน้อย ทำให้เกิดความแห้งแล้ง
        
4. ความสูงของพื้นที่ Elevation
        นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจข้อมูลจากอุณหภูมิของอากาศที่ระดับความสูงต่างกันแล้วสรุปว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมีค่าประมาณ 5.5 องศาเซลเซียสต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร  อากาศมีคุณสมบัติเป็นตัวนำความร้อน Conduction ได้ไม่ดี เนื่องจากอากาศมีความโปร่งใส และมีความหนาแน่นต่ำ พื้นดินจึงดูดกลืนพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า อากาศถ่ายเทความร้อนจากพื้นดิน ด้วยการพาความร้อน Convection ไปตามการเคลื่อนที่ของอากาศ ในสภาพทั่วไปเราจะพบว่ายิ่งสูงขึ้นไป อุณหภูมิของอากาศจะลดต่ำลงด้วยอัตรา 5.5-6.5 องศาเซลเซียส ต่อ 1 กิโลเมตร หรือ อุณหภูมิ จะลดลงประมาณ 1 องศาเซลเซียส ทุกๆ 180 เมตร
        
5. ลมประจำที่พัดผ่าน
        ลมประจำปี Prevailing Wind
        1. ในเขตละติจูดต่ำ จะได้รับอิทธิพลของลมสินค้า
        2. ในเขตละติจูดกลางจะได้รับอิทธิพลของลมตะวันตก
        3. ในเขตละติจูดสูง จะได้รับอิทธิพลของลมขั้วโลก
 
          ลม wind คืออากาศที่เคลื่อนที่ขนานกับพื้นผิวโลก อันเนื่องมาจากความแตกต่างของพื้นผิวโลกได้รับความร้อนและคลายความร้อน จากดวงอาทิตย์ ต่างกัน ทำให้เกิดความกดอากาศไม่เท่ากันบนพื้นผิวโลก บริเวณที่มีมวลอากาศน้อยเรียกว่า หย่อมความกดอากาศต่ำ Low pressure บริเวณที่มีมวลอากาศมากเรียกว่า หย่อมความกดอากาศสูง High pressure เมื่ออากาศบนพื้นผิวโลกมีมวลอากาศไม่เท่ากันจึงเกิดการเคลื่อนที่ของอากาศจากหย่อมความกดอากาศสูง High pressure ไปสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ Low pressure
      
                  โดยทั่วไปบนพื้นผิวโลกมักจะเกิดหย่อมความกดอากาศตามละติจูด 7 บริเวณดังนี้
     1. บริเวณศูนย์สูตร ประมาณละติจูด 5 องศาเหนือ ถึง 5 องศาใต้ มักจะเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ
Low pressure
     2. บริเวณละติจูด 30-35 องศาเหนือ จะเกิดหย่อมความกดอากาศสูง
High pressure
     3. บริเวณละติจูด 30-35 องศาใต้ จะเกิดหย่อมความกดอากาศสูง
High pressure
     4. บริเวณละติจูด 60-65 องศาเหนือ จะเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ
Low pressure
     5. บริเวณละติจูด 60-65 องศาใต้ ถึง จะเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ
Low pressure
     6. บริเวณละติจูด 85-90 องศาเหนือ จะเกิดหย่อมความกดอากาศสูง
High pressure
     7. บริเวณละติจูด 85-90 องศาใต้ จะเกิดหย่อมความกดอากาศสูง
High pressure
                                                                   
         จากความแตกต่างของความกดอากาศทั้ง 7 บริเวณทั่วโลกทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปีเราจึงเรียกลมประจำปี ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
     1. ลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ  คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูง บริเวณละติจูด 30-35 องศาเหนือเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร
     2. ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้  คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูง บริเวณละติจูด 30-35 องศาใต้เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร
     3. ลมตะวันตกเฉียงเหนือคือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณละติจูด 30-35 องศาใต้ เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณละติจูด 60-65 องศาใต้
     4. ลมตะวันตกเฉียงใต้คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณละติจูด 30-35 องศาเหนือ เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณละติจูด 60-65 องศาเหนือ
     5. ลมขั้วโลกตะวันออกเฉียงเหนือคือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณละติจูด 85-90 องศาเหนือ เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณละติจูด 60-65 องศาเหนือ
     6. ลมขั้วโลกตะวันออกเฉียงใต้คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณละติจูด 85-90 องศาใต้ เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณละติจูด 60-65 องศาใต้
        ลมประจำถิ่น
     
        พายุหมุน
พายุหมุน Cyclonic Storm หมายถึง พายุที่มีขนาดใหญ่ เป็นลมที่พัดหมุนเวียนเป็นก้นหอยเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ บริเวณศูนย์กลางของพายุเรียกว่า "ตาพายุ" พายุหมุน เริ่มก่อตัวและมีกำลังแรงขึ้นจากบริเวณศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง บริเวณซีกโลกเหนือลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ส่วนบริเวณซีกโลกใต้ ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในลักษณะตามเข็มนาฬิกา 
                                                              
หย่อมความกดอากศต่ำในซีกโลกเหนือ ลมพัดทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง หย่อมความกดอากศสูงในซีกโลกเหนือ ลมพัดตามเข็มนาฬิกาออกจากจุดศูนย์กลาง

                                                                     
 หย่อมความกดอากศต่ำในซีกโลกใต้ ลมพัดตามเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง หย่อมความกดอากศสูงในซีกโลกใต้ ลมพัดทวนเข็มนาฬิกาออกจากจุดศูนย์กลาง
                                                          
 
1. พายุดีเปรสชัน Depression มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (น้อยกว่า63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2. พายุโซนร้อน
Tropical Storm มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 - 64 นอต (ระหว่าง 63 -118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
3. พายุไต้ฝุ่น
Typhoon มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต  ขึ้นไป (มากกว่า118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 
        
6. กระแสน้ำในมหาสมุทร
         กระแสน้ำในมหาสมุทร มี 2 ประเภทคือ กระแสน้ำเย็น และ กระแสน้ำอุ่น บริเวณที่กระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน จะทำให้ อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น ส่วนบริเวณที่กระแสน้ำเย็นไหลผ่าน

1. กระแสน้ำอุ่นแคริบเบียน

2. กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม 

3. กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ

4. กระแสน้ำอุ่นนอร์เวย์

5. กระแสน้ำเย็นคานารี

6. กระแสน้ำอุ่นบราซิล

7. กระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา

8. กระแสน้ำเย็นลมตะวันตก

9. กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก

10. กระแสน้ำอุ่นมาดากัสการ์

 

11. กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก

12. กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก

13. กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว

14. กระแสน้ำเย็นโอยาชิโว

15. กระแสน้ำเย็นชามชัตกา

16. กระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์ (เย็นเปรู)

17. กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย

18. กระแสน้ำอุ่นอลาสกา

19. กระแสน้ำเย็นลาบราดอร์

20. กระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก

21. กระแสน้ำอุ่นแปซิฟิกเหนือ


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th