หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
สาระภูมิศาสตร์
หน่วยที่ 3 ภูมิศาสตร์โลก World Geography  
บทที่ 9 ภูมิอากาศ Climate  
ความหมาย
ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อภูมิอากาศ
เขตภูมิอากาศ
การใช้สัญลักษณ์แทนชื่อภูมิอากาศ
ประเภทภูมิอากาศ
การแบ่งภูมิอากาศตามพืชพรรณธรรมชาติ
 
สภาพแวดล้อมทางกายภาพบนพื้นผิวโลก

เขตภูมิอากาศ

นักภูมิอากาศวิทยาได้พยายามจำแนกลักษณะภูมิอากาศของโลกออกเป็นกลุ่ม ๆ และกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิอากาศนั้น ๆ โดยใช้ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบหลาย ๆ ชนิดเป็นตัวกำหนด อาทิ ละติจูด  อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า มวลอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เป็นต้น
การแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกโดยใช้ละติจูดเป็นเกณฑ์
           
 เมื่อนำละติจูดมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะแบ่งออกเป็น 3 เขต รวม 5 บริเวณบนโลกได้แก่
1. เขตร้อน torrid zone  อยู่ระหว่างเส้นทรอปิก ออฟ แคนเซอร์ (ละติจูด 23 องศา  30 ลิปดาเหนือ) กับ เส้นทรอปิกออฟแคบริคอน  ละติจูด 23 องศา  30 ลิปดาใต้ แสงอาทิตย์สามารถส่องตั้งฉากบนพื้นโลกบริเวณเขตนี้ได้ มีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะได้ 2 ครั้งในหนึ่งปี พื้นที่เขตนี้จึงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลก
 
2. เขตอบอุ่น  temperate zone  เป็นลักษณะภูมิอากาศระหว่างเขตร้อนและเขตหนาวมีอยู่ 2 บริเวณ ตั้งแต่เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ Tropic of Cancer  ละติจูด 23 องศา  30 ลิปดาเหนือ  ถึง เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล  Arctic Circle ละติจูด 66 องศา  30 ลิปดาเหนือ  และพื้นที่ตั้งแต่เส้นทรอปิกออฟแคบริคอน Tropic of Cabricorn ละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาใต้ ถึงเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล Antarctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาใต้) แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมเฉียง แม้ว่าไม่มีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะ แต่ก็ยังได้รับแสงอาทิตย์ตลอดปี
 
3. เขตหนาว frigid zone มีอยู่ 2 บริเวณ ได้แก่ ดินแดนเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล Arctic Circle ละติจูด 66  องศา  30 ลิปดาเหนือ) ขึ้นไปถึงขั้วโลกเหนือ และใต้เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล Antarctic Circle ละติจูด  66 องศา 30 ลิปดาใต้) ลงมาถึงขั้วโลกใต้ แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมลาด มีโอกาสได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวน้อยมาก
 
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th