หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | สาระภูมิศาสตร์ |
หน่วยที่ 3 | ภูมิศาสตร์โลก World Geography | |
บทที่ 9 | ภูมิอากาศ Climate |
ความหมาย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เขตภูมิอากาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การใช้สัญลักษณ์แทนชื่อภูมิอากาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทภูมิอากาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การแบ่งภูมิอากาศตามพืชพรรณธรรมชาติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อภูมิอากาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภูมิอากาศ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภูมิอากาศ climate หมายถึง ลักษณะอากาศของบริเวณใดบริเวณหนึ่งในระยะเวลานาน หรือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งในช่วงระยะเวลานาน หาได้จากการจดบันทึกสภาพอากาศประจำวัน ของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ แล้วนำผลมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อสรุปหาค่าภูมิอากาศของภูมิภาคนั้น ซึ่งระยะเวลาในการจดบันทึกอาจนานมากกว่า 30 ปี นักภูมิอากาศวิทยาได้พยายามจำแนกลักษณะภูมิอากาศของโลกออกเป็นกลุ่ม ๆ และกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิอากาศนั้น ๆ โดยใช้ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบหลาย ๆ ชนิดเป็นตัวกำหนด อาทิ ละติจูด อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า มวลอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เป็นต้น การแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกโดยใช้ละติจูดเป็นเกณฑ์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมื่อนำละติจูดมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะแบ่งออกเป็น 3 เขต รวม 5 บริเวณบนโลกได้แก่ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. เขตร้อน torrid zone อยู่ระหว่างเส้นทรอปิก ออฟ แคนเซอร์ (ละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ) กับ เส้นทรอปิกออฟแคบริคอน ละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาใต้ แสงอาทิตย์สามารถส่องตั้งฉากบนพื้นโลกบริเวณเขตนี้ได้ มีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะได้ 2 ครั้งในหนึ่งปี พื้นที่เขตนี้จึงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลก 2. เขตอบอุ่น temperate zone เป็นลักษณะภูมิอากาศระหว่างเขตร้อนและเขตหนาวมีอยู่ 2 บริเวณ ตั้งแต่เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ Tropic of Cancer ละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ ถึง เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล Arctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ และพื้นที่ตั้งแต่เส้นทรอปิกออฟแคบริคอน Tropic of Cabricorn ละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาใต้ ถึงเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล (Antarctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาใต้) แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมเฉียง แม้ว่าไม่มีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะ แต่ก็ยังได้รับแสงอาทิตย์ตลอดปี 3. เขตหนาว (frigid zone) มีอยู่ 2 บริเวณ ได้แก่ ดินแดนเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (Arctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ) ขึ้นไปถึงขั้วโลกเหนือ และใต้เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล (Antarctic Circle ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาใต้) ลงมาถึงขั้วโลกใต้ แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมลาด มีโอกาสได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวน้อยมาก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การแบ่งเขตภูมิอากาศของโลก โดย ดร. วลาดิเมียร์ เคิปเปน Wladimir K?ppen |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยใช้สัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ดังนี้ A หมายถึง ภูมิอากาศเขตร้อน tropic climate อุณหภูมิเฉลี่ยทุกเดือนสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส ไม่มีฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนสูงกว่าการระเหย B หมายถึง ภูมิอากาศเขตแห้งแล้ง dry climate การระเหยมีมากกว่าความชื้นที่ได้รับ เป็นเขตที่ไม่มีต้นน้ำลำธาร C หมายถึง ภูมิอากาศเขตอบอุ่น warm temperate climate อุณหภูมิของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส แต่ไม่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เป็นเขตที่มีทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว D หมายถึง ภูมิอากาศเขตหิมะ snow climate อุณหภูมิของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่ร้อนที่สุดสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส E หมายถึง ภูมิอากาศเขตขั้วโลก polar climate อุณหภูมิของเดือนที่ร้อนที่สุดต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เป็นเขตที่ไม่มีฤดูร้อน H หมายถึง ภูมิอากาศแบบที่สูง highland climate ปรากฏได้ในทุกเขตตั้งแต่ละติจูดต่ำถึงละติจูดสูง ลักษณะอากาศเปลี่ยนแปลงตามความสูงของพื้นที่และที่ตั้งตามละติจูด ตัวอักษร ภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ 5 ตัว A, B, C, D, E, เป็นตัวอักษรหลักในการกำหนดเขตภูมิอากาศและยังมีอักษรตัวที่สองและสามใช้แสดงปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิประจำลักษณะภูมิอากาศแต่ละประเภทได้แก่ อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ W หมายถึง ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งเป็นทะเลทราย มีประมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี หรือ 10 นิ้วต่อปี S หมายถึง ภูมิอากาศแบบกึ่งแห้งแล้งเป็นทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย มีประมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 250 -500 มิลลิเมตรต่อปี หรือ 10-20 นิ้วต่อปี T หมายถึง ภูมิอากาศแบบขั้วโลก ฤดูร้อนสั้น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส แต่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย ลบ 18 องศาเซลเซียส ต่อ ปี ปริมาณน้ำฝน 250 -500 มิลลิเมตรต่อปี หรือ 10-20 นิ้วต่อปี F หมายถึง ภูมิอากาศแบบขั้วโลกเป็นทะเลทรายในเขตหนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนน้อยมาก แต่การระเหยน้อยกว่าความชื้นที่ได้รับ ไม่มีเดือนใดอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก f หมายถึง ลักษณะอากาศชื้นมีฝนตกตลอดทั้งปี ปริมาณฝนแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร w หมายถึง ลักษณะอากาศฝนไม่ตกในฤดูหนาว ในฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง m หมายถึง ลักษณะอากาศมีปริมาณน้ำฝนมากเมื่อได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม มีฤดูแล้งสลับ 2-3 เดือนในหนึ่งปี s หมายถึง ลักษณะอากาศฝนไม่ตกในฤดูร้อน ในฤดูร้อนอากาศแห้งแล้ง a หมายถึง ลักษณะอากาศเดือนที่ร้อนที่สุดมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 22 องศาเซลเซียสและอย่างน้อย 4 เดือนอุณหภูมิต้องสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส b หมายถึง ลักษณะอากาศเดือนที่อบอุ่นที่สุดมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียสและอย่างน้อย 4 เดือนอุณหภูมิต้องสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส c หมายถึง ลักษณะอากาศอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดสูงกว่า -38 องศาเซลเซียส และใน 1 ปี มีเดือนทีมีอุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส น้อยกว่า 4 เดือน d หมายถึง ลักษณะอากาศอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -38 องศาเซลเซียส h หมายถึง ลักษณะอากาศที่มีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิตลอดปีเท่ากับ 18 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า k หมายถึง ลักษณะอากาศที่มีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิตลอดปีต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมื่อนำตัวอักษรมาประกอบกันจะได้ภูมิอากาศของโลกดังนี้ เขตภูมิอากาศของโลกอาจจำแนกเขตภูมิอากาศตามระบบเคิปเปนได้ ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. แบบ A ภูมิอากาศเขตร้อน (Tropical climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คืออุณหภูมิเฉลี่ยของทุกเดือนจะไม่ต่ำกว่า 64.4 องศาฟาเรนไฮต์ (18 องศาเซลเซียส) มีปริมาณน้ำฝนมากและมีฝนรายปีเกินปริมาณน้ำที่ระเหยขึ้นไป ภูมิอากาศแบบนี้ไม่มีฤดูหนาว ภูมิอากาศแบบ A นี้ยังแบ่งได้อีกเป็น 3 แบบ ได้แก่ Af, Am, Aw | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.1 ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นฝนชุก (Tropical rain forest climate) Af ลักษณะอากาศชื้นตลอดเวลา มีฝนตกสม่ำเสมอและอุณหภูมิสูงตลอดปี ไม่มีเดือนใดที่ฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.2 ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบมรสุม (Tropical monsoon climate) Am มีลักษณะอากาศชื้นแตกต่างกันตามอิทธิพลของลมมรสุม ภูมิอากาศแบบนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม จึงทำให้มีระยะเวลาที่ฝนตกหนักและฝนตกน้อยตามอิทธิพลของลมมรสุม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.3 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical savanna climate) Aw ลักษณะอากาศชื้นกับแล้งสลับกันชัดเจน มีชื่อเฉพาะว่า สะวันนา (savanna) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภูมิอากาศแบบนี้แตกต่างจากภูมิอากาศแบบชื้นตลอดเวลา เพราะมีน้ำฝนตลอดปีน้อยกว่า จึงทำให้มีทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. แบบ B ภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง (Dry climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบ B คือการระเหยของน้ำจะมีมากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ภูมิอากาศแบบนี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ BW, BS | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2.1 แบบทะเลทราย (desert climate) BW อากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีต่ำกว่า 250มิลลิเมตร มีสองชนิด คือทะเลทรายในเขตร้อน BWh และทะเลทรายในเขตอบอุ่น BWk | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2.2 แบบทุ่งหญ้าสเตปป์ (steppe climate) BS ลักษณะอากาศเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 250 - 500มิลลิเมตร มีสองชนิด คือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายในเขตร้อน BSh และภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายในเขตอบอุ่น BSk | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. แบบ C ภูมิอากาศแบบอบอุ่นหรืออุณหภูมิปานกลาง (Warm temperate หรือ mesothermal climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คือ เดือนที่หนาวเย็นที่สุดจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 64.4 องศาฟาเรนไฮต์ (18 องศาเซลเซียส) แต่จะไม่ต่ำกว่า 26.6 องศาฟาเรนไฮต์ (-3 องศาเซลเซียส) ภูมิอากาศแบบ C แบ่งได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ Cf, Cw, Cs | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.1 แบบกึ่งร้อนชื้น (Humid subtropical climate) Cw ลักษณะอากาศชื้น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศแห้งแล้งไม่มีฝนตก, (Cwa, Cwb ) (Cwa = humid subtropical winter dry) ภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้น อากาศแห้งและฝนไม่ตกในฤดูหนาว ในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูงมีฝนตก (Cwb = humid subtropical winter dry) ภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นฝน อากาศแห้งและฝนไม่ตกในฤดูหนาว ในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างต่ำมีฝนตก (Cfa = Humid sobtropical without dry season , hot summer) ภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นไม่มีอากาศแห้งแล้งอากาศร้อนในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูง พบได้ในเขตละติจูดกลาง ประมาณละติจูด 25 40 องศาทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ มักปรากฏทางชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีป จึงเรียกภูมิอากาศชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ภูมิอากาศแบบชายฝั่งตะวันออก (marine east coast climate) ได้แก่ ดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ดินแดนทางภาคตะวันออกของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทวีปแอฟริกา บริเวณชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์และนิวเซาท์เวลส์ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดียถึงตอนใต้ของจีน ภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลีและประเทศญีปุ่น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.2 แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (Humid marine west coast climate) Cf ลักษณะอากาศชื้น มีอุณหภูมิปานกลาง สบายในฤดูร้อนและไม่หนาวเกิน ในฤดูหนาว มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณน้ำฝนมากปานกลาง (Cfb , Cfc = Humid marine west coast without dry season warm to cool summer) ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตกไม่มีอากาศแห้งแล้ง อากาศอบอุ่นในฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลาง อากาศอบอุ่นในฤดูหนาว พบได้ในเขตละติจูดกลาง ประมาณละติจูด 25 40 องศาทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้อยู่บริเวณใกล้เคียงกับภูมิอากาศชายฝั่งตะวันออกแต่จะปรากฏอยู่ด้านชายฝั่งตะวันตกของทวีปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป ทางตอนใต้ของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ตอนใต้ของนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ทางตะวันตกของเยอรมัน ในทวีปอเมริกาเหนือบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในมลรัฐบริติชโคลัมเบีย วอชิงตันและโอเรกอน ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณทางตอนใต้ของประเทศชิลี ในทวีปแอฟริกาบริเวณ สาธารณะรัฐแอฟริกาใต้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.3 แบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean climate) Cs ภูมิอากาศชื้น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกในฤดูหนาวแห้งแล้งในฤดูร้อน ปริมาณน้ำฝนประมาณ 375 625 มิลลิเมตรต่อปี(Csa, Csb) (Csa = mediterranean summer dry) ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ฝนไม่ตกในฤดูหนาว อากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูง (Csb = mediterranean summer dry) ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ฝนไม่ตกในฤดูหนาว อากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. แบบ D ภูมิอากาศแบบอุณหภูมิต่ำ (Snow หรือ Microthermal climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คือ เดือนที่หนาวเย็นที่สุดจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 26.6 องศาฟาเรนไฮต์ (-3 องศาเซลเซียส) ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่ร้อนที่สุดจะสูงกว่า 50 องศาฟาเรนไฮต์ (10 องศาเซลเซียส) แบ่งเป็น 2 แบบคือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4.1 แบบอุณหภูมิต่ำที่มีความชื้นตลอดปี (Humid continental hot summer climate) Df มีฝนตกทั้งในฤดูร้อนและฤดูหนาวอากาศชื้นตลอดปี (Dfa, Dfb, Dfc, Dfd) (Dfa = Humid continental hot summer) ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนตกเกือบตลอดทั้งปี อากาศร้อนในฤดูร้อน (Dfb = Humid continental warm summer) ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนตกเกือบตลอดทั้งปี อากาศอบอุ่นในฤดูร้อน (Dfc = Subarctic cool summer) ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกหรือภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้น ในฤดูร้อนอากาศเย็น (Dfd = Subarctic varycool winter without dry season) ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติก หรือ ภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้น อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4.2 แบบอุณหภูมิต่ำที่มีความแห้งแล้งในฤดูหนาว (Humid continental mild summer climate) Dw มีฝนตกในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศเย็นและไม่มีฝนตก (Dwa, Dwb, Dwc, Dwd) (Dwa = Humid continental hot summer) ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนไม่ตกในฤดูหนาว อากาศร้อน ในฤดูร้อนอากาศร้อน (Dwb = Humid continental warm summer) ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีปฝนไม่ตกในฤดูหนาว อากาศอบอุ่นในฤดูร้อน (Dwc = Subarctic cool summer) ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกหรือภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้นฝนไม่ตกในฤดูหนาว ในฤดูร้อนอากาศเย็น (Dwd = Subarctic varycool winter, winter dry) ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติก หรือ ภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศแบบหนาวชื้น อากาศแห้งและหนาวจัดในฤดูหนาว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. แบบ E ภูมิอากาศแบบขั้วโลก (Polar climate) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ คือ ไม่มีเดือนใดที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 50 องศาฟาเรนไฮต์ (10 องศาเซลเซียส) แบ่งเป็น 2 แบบ คือ (ET, EF) 5.1 แบบทุนดรา (Tundra climate) ET มีฤดูร้อนช่วงเวลาสั้นมาก ฤดูหนาวอากาศหนาวมาก และหนาวนาน มีฝนตกในฤดูร้อนบ้างเป็นครั้งคราว 5.2 แบบเขตน้ำแข็งหรือแบบขั้วโลก (Ice cap climate) EF อากาศหนาวจัดมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6. แบบ H ภูมิอากาศแบบที่สูง (Highland climate) เป็นภูมิอากาศในแนวตั้ง คือ ลักษณะภูมิอากาศที่ปรากฏตั้งแต่ที่ราบไปสู่ที่สูง หรือยอดเขา ภูมิอากาศแบบนี้ทั้งอุณหภูมิ ปริมาณฝน และพืชพรรณธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่และที่ตั้งตามละติจูด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |