หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
แผนที่และการแปลความหมายแผนที่
หน่วยที่ 1  
แผนที่
  แผนที่และความหมาย ประโยชน์ของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ ประเภทและชนิดของแผนที่  
       
  องค์ประกอบของแผนที่
  1. ชื่อแผนที่  map  name
  2. ขอบระวางแผนที่     border
  3. ทิศทาง    direction
  4. พิกัด       coordinate
  5. มาตราส่วน   map  scale
  6. ชื่อภูมิศาสตร์    geographic  name
  7. สัญลักษณ์        symbol
  8. คำอธิบายสัญลักษณ์  legend
  9. ศัพทานุกรม    glossary
  มาตราส่วน  (map scale) 
มาตราส่วนหมายถึง สิ่งแสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางที่ปรากฏจริงบนผิวโลกเนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของพื้นโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่ามาตราส่วนในแผนที่นั้นใช้แทนระยะทางบนพื้นผิวโลกมากน้อยเพียงใด มาตราส่วนที่นิยมใช้มีอยู่ ขนิด ดังนี้
   
 

1. มาตรส่วนคำพูด verbal scale คือมาตราส่วนที่บอกโดยตรงว่าระยะทางในแผนที่ หน่วย แทนระยะทางในพื้นที่จริงเท่าไร เช่น "เซนติเมตร เท่ากับ 20 กิโลเมตร"

   
 

 

  2. มาตราส่วนเส้น graphic scale หรือมาตราส่วนรูปแท่ง bar scale คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยเส้นตรงหรือรูปแท่งที่มีตัวเลขกำกับไว้เพื่อบอกความยาวบนแผนที่ แทนระยะทางจริงบนพื้นโลก โดยมีหน่วยความยาวที่นิยมใช้ คือ ก.ม. ไมล์  
   
     
  3. มาตราส่วนแบบเศษส่วน representative fraction คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วน เช่น เช่น เศษ ส่วน 50,000 หรือ 1: 50,000 หรือหมายความว่าระยะทาง หน่วยเท่ากับระยะทาง 50,000 หน่วยบนพื้นโลก  
   
  มาตราส่วนส่วนเศษส่วน เป็นการบอกมาตราส่วนที่ส าคัญมากที่สุดและนิยมใช้กันอย่าง กว้างขวาง คือ การบอกมาตราส่วนแบบเศษส่วน เขียนในลักษณะ 1:200,000 หรือ 50,000 1 หรือ 1/200,000 หมายความว่า 1 เซนติเมตร ในแผนที่เท่ากับระยะจริงบนพื้นผิวภูมิประเทศ 200,000 เซนติเมตร ซึ่ง 200,000 เซนติเมตร เท่ากับ 2 กิโลเมตร  
 

ตัวอย่่าง
แผนที่กำหนดมาตราส่วน 1 : 200,000      ถ้านักเรียนวัดระยะทางในแผนที่ได้ 7 ซ.ม.  ระยะทางบนพื้นโลก ยาวเท่าไร

  มาตราส่วน 1 : 200,000    เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่ 1 ซ.ม. ต่อ ระยะทางจริงบนพื้นโลก 2 ก.ม.

  ระยะทางในแผนที่     1 ซ.ม. เท่ากับ    ระยะทางบนพื้นโลก        =    2     ก.ม.         
                                
                              Scale = MD/GD
 
  ระยะทางในแผนที่
     1 ซ.ม.   เท่ากับ   ระยะทางบนพื้นโลก     =    200,000           เซนติเมตร
  ระยะทางในแผนที่     7 ซ.ม.   เท่ากับ   ระยะทางบนพื้นโลก     =    200,000  × 7     เซนติเมตร  
                                                    ระยะทางบนพื้นโลก     =    1,400,000         เซนติเมตร
                                                    
ระยะทางบนพื้นโลก     =    14  กิโลเมตร

 
  ตัวอย่่าง
แผนที่กำหนดมาตราส่วน 1 : 250,000      ถ้านักเรียนต้องการวัดระยะทางให้ได้ 18 ก.ม.  ระยะทาง ในแผนที่ ยาวเท่าไร

  มาตราส่วน 1 : 250,000    เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่ 1 ซ.ม. ต่อ ระยะทางจริงบนพื้นโลก 2.5 ก.ม.
  ระยะทางบนพื้นโลก 2.5 ก.ม.   เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่     =     1                   เซนติเมตร
  ระยะทางบนพื้นโลก   1 ก.ม.   เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่      =     1 ÷ 2.5            เซนติเมตร
  ระยะทางบนพื้นโลก  18 ก.ม.   เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่     =     1 ÷ 2.5  × 18     เซนติเมตร  
                                                                               =    
7.2   เซนติเมตร  
 
 

หน่วยวัดความยาวระบบเมตริก

  10 มิลลิเมตร เท่ากับ 1 เซนติเมตร  
  10 เซนติเมตร เท่ากับ 1 เดซิเมตร  
  10 เดซิเมตร เท่ากับ 1 เมตร  
  10 เมตร เท่ากับ 1 เดคาเมตร  
  10 เดคาเมตร เท่ากับ 1 เฮกโตเมตร  
  10 เฮกโตเมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร
 
     
 

หน่วยวัดน้ำหนักระบบเมตริก

  10 มิลลิกรัม เท่ากับ 1 เซนติกรัม  
  10 เซนติกรัม เท่ากับ 1 เดซิกรัม  
  10 เดซิกรัม เท่ากับ 1 กรัม  
  10 เดคากรัม เท่ากับ 1 เฮกโตกรัม  
  10 เฮกโตกรัม เท่ากับ 1 กิโลกรัม  
  1,000 กิโลกรัม เท่ากับ 1 เมตริกตันหรือตัน
 
     
 

หน่วยวัดปริมาตรระบบเมตริก

  10 มิลลิลิตร เท่ากับ 1 เซนติลิตร  
  10 เซนติลิตร เท่ากับ 1 เดซิลิตร  
  10 เดซิลิตร เท่ากับ 1 ลิตร  
  10 เดคาลิตร เท่ากับ 1 เฮกโตลิตร  
  10 เฮกโตลิตร เท่ากับ 1 กิโลลิตร  
  1,000 กิโลลิตร เท่ากับ 1 เมตริกตันหรือตัน
 
     
     

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th