หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
แผนที่และการแปลความหมายแผนที่
หน่วยที่ 1  
แผนที่
  แผนที่และความหมาย ประโยชน์ของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ ประเภทและชนิดของแผนที่  
       
  องค์ประกอบของแผนที่
  1. ชื่อแผนที่  map  name
  2. ขอบระวางแผนที่     border
  3. ทิศทาง       direction
  4. พิกัด           coordinate
  5. มาตราส่วน      map  scale
  6. ชื่อภูมิศาสตร์     geographic  name
  7. สัญลักษณ์        symbol
  8. คำอธิบายสัญลักษณ์  legend
  9. ศัพทานุกรม    glossary
  สัญลักษณ์    symbol
 

เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าและแปลความ
หมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
สัญญลักษณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
         1. สัญญลักษณ์ที่เป็นจุด point symbol เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แทนสถานที่ และกำหนดสถานที่ตั้ง เช่น วัด
 โรงเรียน สนามบิน ตัวเมือง ลักษณะจุดที่แสดงอาจเป็นรูปร่างทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างต่างๆก็ได้
       2. สัญญลักษณ์ที่เป็นเส้น line symbol เป็นสัญญลักษณืที่ใช้แทนสิ่งต่างๆที่เป็นเส้นมีระยะทาง เช่น
แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ เส้นแบ่งเขตการปกครอง ลักษณะเส้นที่แสดงอาจมีรูปร่าง สีต่างๆกันก็ได้
         3. สัญญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ ared symbol เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แสดงบริเวณพื้นที่ของสิ่งต่างๆที่ปรากฏ
ในภูมิประเทศ เช่น พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ดินเค็ม ลักษณะพื้นที่ที่แสดงอาจให้มีรูปร่างและสีที่แตกต่าง
กันออกไปก็ได้

 



  การใช้สีแสดงสัญลักษณ์
 

สี color
          สีที่ใช้เป้นมาตรฐานในแผนที่มี 5 สี คือ
     1.  สีดำ ใช้แทนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน และใช้แทนเส้นกริดและเลขกำกับเส้นกริด
     2.  สีแดง ใช้แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ
     3.  สีน้ำเงิน ใช้แทนบริเวณที่เป็นน้ำ เช่น ทะเล มหาสมุทร
     4.  สีน้ำตาล ใช้แทนความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง เลขกำกับชั้นความสูง
     5.  สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกาตร สีอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้แทนรายละเอียดต่างๆ บางอย่าง ซึ่งจะอธิบายไว้ในคำอธิบายสัญญลักษณ์

     
 

ความสูงและทรวดทรงของภูมิประเทศ
       พื้นผิวโลกมีระดับสูงและต่ำของภูมิประเทศแตกต่างกัน การเขียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จึงต้องแสดงระ
ดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกัน
      การบอกระดับภูมิประเทศ ใช้ระดับทะเลปานกลาง (mean sea-level) ซึ่งมีตัวย่อว่า รทก.(msl)เป็นเกณฑ์
กำหนดความสูง แผนที่แสดงระดับความสูงนิยมแสดงแตกต่างกัน 4 รูปแบบ ดังนี้

 
  1.  เส้นชั้นความสูง contour line คือเส้นสมมติที่ลากผ่านบริเวณต่างๆ ของภูมิประเทศที่มีความสูงเท่ากัน
 และมีตัวเลขกำกับค่าของเส้นชั้นความสูงนั้นๆ เสมอ         
 
  การอ่านเส้นชั้นความสูง             
  แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้เส้นชั้นความสูงของผิวโลก ได้แก่ รูปร่าง ความลาดเท และความสูงของภูเขาหรือเนินเขา
เส้นชั้นความสูงจะแสดงไว้เป็นช่วงๆ อย่างเป็นลำดับ โดยใช้หน่วยเดียวกัน เช่น หน่วยความยาวเป็นเมตร จึงอาจสมมติ
ให้ช่วงของเส้นชั้นความสูงห่างกัน 50 เมตร
ได้แก่ 0  50  100  150  200 หรือ
หน่วยความยาวเป็นฟุต อาจกำหนดให้ชั้นความ สูงให้ห่างกัน 1,000 ฟุต
ได้แก่ 0  1,000   2,000   3,000      
 
   
  ความสูงของภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศมีความหมายดังนี้
                 1.  เส้นความสูงที่มีรูปร่างคล้ายวงกลม แสดงว่าลักษณะภูมิประเทสจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นเนินเขา
หรือภูเขารูปกรวย
                 2.  เมื่อไม่มีเส้นชั้นความสูงปรากฏในวงกลมหรือสี่เหลี่ยมด้านในของแผนที่ภูมิประเทศ แสดงว่าลักษณะ
ภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นที่ราบสูง
                 3.  เมื่อเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศแสดงไว้ชิดกันมากในบริเวณใด แสดงว่าลักษณะภูมิ
ประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศของบริเวณนั้นเป็นหน้าผา
 
     
  2.  การใช้แถบสี layer tinting คือการจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นดินและ
พื้นน้ำโดยใช้แถบสี สีที่นิยมใช้ในแผนที่เพื่อแสดงความสูง-ต่ำ ของภูมิประเทศ มีดังนี้
พื้นดิน กำหนดสีแสดงลักษณะภูมิประเทศไว้ ดังนี้
            สีเขียว                  แสดงที่ราบ ที่ต่ำ
            สีเหลือง               แสดงเนินเขาหรือที่สูง
            สีเหลืองแก่           แสดง ภูเขาสูง
            สีน้ำตาล              แสดง ภูเขาสูงมาก
            สีขาว                   แสดง ภูเขาที่มีหิมะปกคลุม
พื้นน้ำ สีที่นิยมใช้เพื่อบอกความลึกของแหล่งน้ำในแผนที่ มีดังนี้
            สีฟ้าอ่อน             แสดง ไหล่ทวีป หรือเขตทะเลตื้น
            สีฟ้าแก่                แสดง ทะเลลึก
            สีน้ำเงิน               แสดง ทะเล หรือมหาสมุทรลึก
            สีน้ำเงินแก่          แสดง น่านน้ำที่มีความลึกมาก
 
     
  3.  เส้นลายขวานสับ หรือเส้นลาดเขา(hachure) เป็นเส้นขีดสั้นๆ เรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดิน
 เพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้น หากเป็นพื้นที่ชัน สัญญลักษณ์ในแผนที่ภูมิประเทศจะแสดงด้วยเส้นขีดที่สั้นหนา
และชิดกัน หากเป็นพื้นที่ลาดเท มักแสดงด้วยเส้นขีดยาว บาง และห่างกัน เส้นลายขวานสับแสดงให้ทราบเฉพาะ
ความสูงของภูมิประเทศ ส่วนความสูงที่แผนที่กำหนดขึ้นเป็นตัวเลข ไม่นิยมแสดงไว้ในแผนที่ที่ใช้เครื่องหมายเส้นลาย
ขวานสับ
 
     
  4.  การแรเงา shading เป็นการแสดงความสูงของภูมิประเทศอย่างหยาบๆ โดยเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น
ภาพสามมิติหรือมีทรวดทรงขึ้น
 
     
     
     
       
     
     

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th