หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 1 | ||
บทที่ 1 | แผนที่และการแปลความหมายแผนที่ | |
แผนที่และความหมาย | ||
ประเภทและชนิดของแผนที่ | ||
องค์ประกอบของแผนที่ | ||
ประเภทและชนิดของแผนที่ | ||
ประโยชน์ของแผนที่ | ||
การจำแนกและชนิดของแผนที่ (Classification and type of maps) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ | ||
แผนที่ตามลักษณะของรายละเอียดที่ปรากฏ | ||
1. แผนที่ลายเส้น (Line maps) รายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่ลายเส้นอาจเป็น เส้นตรง เส้นโค้งหรือท่อนเส้นใดๆ ก็ได้ |
||
2. แผนที่รูปถ่าย (Photomap) เป็นแผนที่ที่ทำจากรูปถ่ายทางอากาศของสภาพภูมิประเทศทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อนำมาใช้แทนแผนที่ หรือเพิ่มเติมแผนที่ให้สมบูรณ์ในแผนที่รูปถ่าย มีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นกริด รายละเอียดข้อมูลชายขอบระวางแผนที่ เส้นชั้นความสูง ชื่อภูมิศาสตร์ แนวแบ่งเขต และข้อมูลอื่นๆ ที่อาจพิมพ์เพิ่มเติมได้นอกจากนี้ลักษณะของภูมิประเทศ ทางราบ อาจพิมพ์สีต่างๆ ทับลงไปอีกก็ได้ |
||
3. แผนที่ผสม (Annotated maps) รายละเอียดที่ปรากฏจะผสมระหว่างรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพภูมิประเทศกับรายละเอียดที่วาดหรือเขียนขึ้น | ||
แผนที่ตามขนาดมาตราส่วน | ||
– แบ่งในทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ | ||
1. แผนที่มาตราส่วนเล็ก มีขนาดมาตราส่วนเล็กกว่า 1:1,000,000 2. แผนที่มาตราส่วนปานกลาง มีขนาดมาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000 3. แผนที่มาตราส่วนใหญ่ มีขนาดมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000 |
||
– แบ่งในกิจการทหาร ได้แก่ | ||
1. แผนที่มาตราส่วนเล็ก มีขนาดมาตราส่วนตั้งแต่ 1:600,000 2. แผนที่มาตราส่วนปานกลาง มีขนาดมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000 3. แผนที่มาตราส่วนใหญ่มีขนาดมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:75,000 |
||
ชนิดของแผนที่ 1. แผนที่ทั่วไป เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะโดยทั่วไปได้แก่แผนที่แสดงลักษณะภูมิภาคต่างๆ โดยจะแสดงด้วยสี เพื่อให้เห็นความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ 2. แผนที่อ้างอิง เป็นแผนที่ที่ใช้เป็นหลักในการทำแผนที่ชนิดอื่น ๆ แผนที่อ้างอิงที่สำคัญ ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ คือ แผนที่ที่ใช้แสดงลักษณะภูมิประเทศบนพื้นผิวโลก เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา แม่น้ำ เกาะ ถนน เมือง และแผนที่ชุด คือ แผนที่หลายเเผ่นที่มีมาตราส่วนและรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน และครอบคลุมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ 3. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะเฉพาะตามจุดมุ่งหมาย เช่น แผนที่ แสดงป่าไม้ แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม แผนที่แสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น สามารถแบ่งได้ดังนี้ |
||
3.1 แผนที่รัฐกิจ (political map) คือแผนที่แสดงอาณาเขตทางการปกครอง เช่น เขตจังหวัดหรือประเทศ แผนที่ชนิดนี้จะต้องแสดงอาณาเขตติดต่อกับดินเเดนของประเทศหรือรัฐอื่น พร้อมทั้งแสดงที่ตั้ง ชื่อเมืองหลวง เมืองท่า หรือเมืองสำคัญอื่น |
||
3.2 แผนที่ภูมิอากาศ (climatic map) เป็นแผนที่สำหรับแสดงข้อมูลด้านภูมิอากาศโดยเฉพาะ เช่น แผนที่เขตภูมิอากาศของโลก แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของประเทศไทย แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของโลก แผนที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก |
||
3.3 แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอายุ ประเภท และการ กระจายตัวของหินเปลือกโลก การตกตะกอนทับถมของสารต่าง ๆที่ผิวโลกรวมทั้งแสดงรอยเลื่อนที่ ปรากฎบนผิวโลก และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นๆ |
||
3.4 แผนที่การถือครองที่ดิน (cadastral map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอาณาเขตที่ดินใน พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น ในเขตตำบล อำเภอ หรือจังหวัด โดยแบ่งออกเป็นแปลงๆ และแต่ละเเปลงต่างก็ แสดงสิทธิการครอบครองโดยการเเสดงการเป็นเจ้าของ |
||
3.5 แผนที่แสดงพืชพรรณธรรมชาติ (natural vegetation map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อ เเสดงประเภทของพืชพรรณธรรมชาติและการกระจายตัวของพืชพรรณชนิดนั้น ๆ ที่ปรากฎบนโลก ภูมิภาค หรือประเทศต่างๆ |
||
3.6 แผนที่ท่องเที่ยว (tourist map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแนะนำสถานที่นั้น โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งและสถานที่ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวโดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งและสถานที่ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง สำหรับการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางการคมนาคมทั้งทางบก เรือ อากาศ ทีพัก ร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ชายหาด น้ำตก เกาะ แก่ง ภูเขา อุทยาน เป็นต้น | ||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |