หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
แผนที่และการแปลความหมายแผนที่
 
หน่วยที่ 1    
แผนที่  
  แผนที่และความหมาย  
  ประโยชน์ของแผนที่  
  องค์ประกอบของแผนที่  
  ประเภทและชนิดของแผนที่  
     
  องค์ประกอบของแผนที่  
 
  1. ชื่อแผนที่  map  name
  2. ขอบระวางแผนที่    border
  3. ทิศทาง        direction
  4. พิกัด            coordinate
  5. มาตราส่วน      map  scale
  6. ชื่อภูมิศาสตร์    geographic  name
  7. สัญลักษณ์        symbol
  8. คำอธิบายสัญลักษณ์ ( legend
  9. ศัพทานุกรม   glossary
 
     
  2. ขอบระวางแผนที่     border  
     
   
     
 

องค์ประกอบของแผนที่ที่จะกล่าวต่อไปนี้ หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนที่ ซึ่งผู้ผลิตแผนที่จัดแสดงไว้โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้แผนที่ได้ทราบข่าวสารและรายละเอียดอย่างเพียงพอสำหรับการใช้แผนที่นั้น แผนที่ที่จัดทำขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ระวาง” ( Sheet ) องค์ประกอบแผนที่แต่ละระวาง ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

        1. เส้นขอบระวาง ตามปกติรูปแบบของแผนที่ทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ห่างจากริมทั้งสี่ด้านของแผนที่เข้าไปจะมีเส้นกั้นขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเรียกว่าเส้นขอบระวางแผนที่ Border เส้นขอบระวางแผนที่บางแบบประกอบด้วยขอบสองชั้น เพื่อให้เกิดความสวยงาม สำหรับแผนที่ภูมิประเทศโดยทั่วไป เส้นขอบระวางมีเพียงด้านละเส้นเดียว บางชนิดมีเส้นขอบระวางเพียงสองด้านเท่านั้น ที่เส้นขอบระวางแต่ละด้านจะมีตัวเลขบอกค่าพิกัดกริด และค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ค่าของละติจูดและลองติจูด) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นในแผนที่แผ่นหนึ่งเส้นขอบระวางแผนที่จะกั้นพื้นที่บนแผ่นแผนที่ออกเป็นสองส่วนด้วยกัน คือพื้นที่ภายในขอบระวางแผนที่ และพื้นที่นอกขอบระวางแผนที่

        2. องค์ประกอบภายในขอบระวาง หมายถึง สิ่งทั้งหลายที่แสดงไว้ภายในกรอบ ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้นขอบระวางแผนที่ ตามปกติแล้วจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ
                1. สัญลักษณ์ Symbol ได้แก่ เครื่องหมายหรือสิ่งซึ่งคิดขึ้นใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ หรือให้แทนข้อมูลอื่นใดที่ต้องการแสดงไว้ในแผนที่นั้น 
                2. สี Colour สีที่ใช้ในบริเวณขอบระวางแผนที่จะเป็นสีของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดหรือข้อมูลต่าง ๆ ของแผนที่ 
                3. ชื่อภูมิศาสตร์ Geographical Names เป็นตัวอักษรกำกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่แสดงไว้ภายในขอบระวางแผนที่ เพื่อบอกให้ทราบว่าสถานที่นั้นหรือสิ่งนั้นมีชื่อเรียกอะไร 
                4. ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง ( Position Reference Systems ) ได้แก่ เส้นหรือตารางที่แสดงไว้ในขอบระวางแผนที่ เพื่อใช้ในการกำหนดค่าพิกัดของตำแหน่งต่าง ๆ ในแผนที่นั้น 
 ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่งมีหลายชนิดที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไปมี 2 ชนิดคือ
                 1. พิกัดภูมิศาสตร์ Geographic Coordinates ได้แก่ เส้นขนานและเส้นเมอริเดียนที่บอกค่าละติจูดและลองติจูด อาจแสดงไว้เป็นเส้นยาวจรดขอบระวางแผนที่ หรืออาจแสดงเฉพาะส่วนที่ตัดกันเป็นกากบาท graticul อย่างเช่นแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรืออาจแสดงเป็นเส้นสั้นๆ เฉพาะที่ขอบ 
                   2. พิกัดกริด ( Rectangular Coordinates ได้แก่ เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่างเท่า ๆ กัน ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นตรงขนานทั้งสองชุดดังกล่าวอาจแสดงไว้เป็นแนวเส้นตรงยาวจรดขอบระวางหรืออาจแสดงเฉพาะส่วนที่ตัดกันก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม 

          3. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง หมายถึง พื้นที่ตั้งแต่เส้นขอบระวางไปถึงริมแผ่นแผนที่ทั้งสี่ด้าน บริเวณพื้นที่ดังกล่าวผู้ผลิตแผนที่จะแสดงรายละเอียดอันเป็นข่าวสารหรือข้อมูลที่ผู้ใช้แผนที่ควรทราบและใช้แผนที่นั้นได้อย่างถูกต้องตรงตามความมุ่งหมายของผู้ผลิตแผนที่
                   3.1 ระบบบ่งระวาง Sheet identification System การผลิตแผนที่ภูมิประเทศที่คลุมพื้นที่กว้างใหญ่ จำนวนแผนที่ที่ผลิตขึ้นใช้ย่อมมีหลายระวางจึงต้องจัดเข้าเป็นชุด ( Series ) และเพื่อสะดวกในการใช้จึงต้องวางระบบเพื่อเรียกหรืออ้างอิงแผนที่แต่ละระวางภายในชุดขึ้น
                   3.2 มาตราส่วนแผนที่ Map Scale มาตราส่วนแผนที่เป็นข่าวสารหรือข้อมูลที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้บนแผ่นแผนที่ ให้ผู้ใช้แผนที่ ได้ทราบว่าแผนที่แผ่นนั้นย่อจากภูมิประเทศจริง ที่ตรงกันด้วยอัตราส่วนเท่าใด
                   3.3 คำอธิบายสัญลักษณ์ Legend ประกอบด้วยตัวอย่างสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงรายละเอียดในแผนที่แผ่นนั้น พร้อมด้วยคำอธิบายความหมายของสัญลักษณ์นั้น ๆ อาจแสดงไว้ทั้งหมดหรือเลือกแสดงเฉพาะสัญลักษณ์ที่พิจารณาเห็นว่าสำคัญและจำเป็นก็ได้
                  3.4 ศัพทานุกรม Glossary เป็นส่วนที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่เกิดความเข้าใจความหมายของคำที่ใช้ในแผนที่นั้น มักจะใช้กับแผนที่ ที่มีตั้งแต่สองภาษาขึ้นไป 
                  3.5 สารบาญต่าง ๆ Indexes เป็นแผนภาพแบบต่าง ๆ ที่แสดงไว้ภายนอกขอบระวางแผนที่ เพื่อแสดงข้อมูลบางอย่างที่อาจมีคามจำเป็นสำหรับผู้ใช้แผนที่ สารบาญต่าง ๆ
                  3.6 วิธีออกเสียง Pronunciation Guide มีในแผนที่ที่ใช้ตั้งแต่สองภาษาขึ้นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้ออกเสียงชื่อภูมิศาสตร์ที่ใช้ในแผนที่นั้นได้ถูกต้อง

 
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th