หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
แผนที่และการแปลความหมายแผนที่
หน่วยที่ 1  
แผนที่
  แผนที่และความหมาย ประโยชน์ของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ ประเภทและชนิดของแผนที่  
         
  องค์ประกอบของแผนที่  
  1. ชื่อแผนที่  map  name
  2. ขอบระวางแผนที่    border
  3. ทิศทาง      direction
  4. พิกัด         coordinate
  5. มาตราส่วน      map  scale
  6. ชื่อภูมิศาสตร์     geographic  name
  7. สัญลักษณ์        symbol
  8. คำอธิบายสัญลักษณ์  legend
  9. ศัพทานุกรม    glossary
 
  ทิศทาง   ( direction )  
 

สมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศขึ้น โดยใช้เข็มทิศ เป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศ เข็มทิศจึงมีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้เข้าใจว่าด้านบนของแผนที่คือทิศเหนือ 

 
      
  เข็มทิศ คือเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สำหรับใช้หาทิศทาง มีเข็มแม่เหล็กที่แกว่งไกวได้อิสระในแนวนอนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลก และที่หน้าปัดมีส่วนแบ่งสำหรับหาทิศทางโดยรอบ เข็มทิศจึงมีปลายชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ (อักษร N หรือ น) เมื่อทราบทิศเหนือแล้วก็ย่อมหาทิศอื่นได้โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านขวามือเป็นทิศตะวันออก ด้านซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก ด้านหลังเป็นทิศใต้ การบอกทิศทางในแผนที่โดยทั่วไป คือการบอกเป็นทิศที่สำคัญ 4 ทิศ คือทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก หรืออาจจะบอกละเอียดเป็น 8,16 หรือ 32 ทิศก็ได้  
     
  ขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก  
          
 

นักวิทยาศาสตร์พบว่าตำแหน่งของขั้วโลกเหนือแม่เหล็กเปลี่ยนไปมากจนทำให้ต้องมีการอัปเดตแบบจำลองแม่เหล็กโลก World Magnetic Model ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระบบนำทางที่ใช้ระบุทิศแผนที่บนในสมาร์ทโฟน
          เราต้องเข้าใจก่อนว่าขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์หรือขั้วโลกเหนือจริง Geographical North Pole ตั้งอยู่จุดเหนือสุดที่แกนการหมุนของโลกตั้งฉากกับพื้นผิว จุดนี้ไม่ได้ขยับไปไหนและไม่สามารถขยับได้ ส่วนที่เรากำลังพูดถึงกันนี้ คือขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก Magnetic North Pole ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งบนผิวโลกได้ ณ จุดนี้สนามแม่เหล็กของโลกจะชี้ลงไปที่ผิวโลกเป็นเส้นตรง
          ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ขั้วโลกเหนือแม่เหล็กเคลื่อนที่มุ่งหน้าไปสู่ไซบีเรีย ด้วยความเร็ว 48 กิโมเลมตรต่อปี ในต้นปี ค.ศ. 2019 นักวิทยาศาสตร์จึงต้องประกาศการปรับปรุง แบบจำลองแม่เหล็กโลก (World Magnetic Model)  การเคลื่อนที่ของขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก  คือการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยมาก แต่จะสังเกตได้สำหรับผู้ที่ใช้ระบุทิศทางที่ต้องการความแม่นยำสูงและอยู่ใกล้บริเวณขั้วโลกเหนือ 
จริงๆ แล้วการปรับปรุงฐานข้อมูลแบบจำลองแม่เหล็กโลกนี้ไม่กระทบกับตัวรับสัญญาณจีพีเอส Global Positioning System : GPS เพราะมันไม่ได้พึ่งพาขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก แต่รับสัญญาณจากดาวเทียมหลายๆดวงที่เรารู้ตำแหน่งการโคจรรอบโลกของมันอย่างแม่นยำและใช้วิธี trilateration หรือ การอินเตอร์เซกชันของสัญญาณเพื่อที่จะหาตำแหน่งที่เราอยู่
          อย่างไรก็ตามในสมาร์ทโฟนของเรานั้นบรรจุแบบจำลองแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยใช้นำทางและระบุทิศทาง แบบจำลองแม่เหล็กโลก World Magnetic Model เป็นแบบจำลองแม่เหล็กโลกมาตรฐานที่ใช้ในระบบนำทางโดยองค์กรต่างๆ เช่น องค์การนาโต NATO กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ เช่น  แอนดรอยด์และไอโอเอส เมื่อเราใช้แอพพลิเคชั่น แผนที่ในสมาร์ทโฟนเราจะเห็นลูกศรชี้ไปยังทิศทางที่เราหันไป ในสมาร์ทโฟนของเรานั้นมีเครื่องวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก magnetometer   ที่ใช้วัดสนามแม่เหล็กโลก เพื่อที่จะให้ข้อมูลนั้นถูกต้องชี้ไปยังขั้วโลกเหนือจริงเราจำเป็นจะต้องใช้แบบจำลองแม่เหล็กโลกเป็นฐานข้อมูล

 
     
 

มุมแบริ่ง  คือ  มุมที่นแนวราบหรือแนวระดับที่วัดจากแนวทางทิศเหนือหรือทิศใต้ไปทางทิศตะวันตก  หรือทิศตะวันออกมีค่าไม่เกิน  90 องศา
 ดังตัวอย่างต่อไปนี้
         ทิศทาง  ก  มุมแบริ่ง เท่ากับ เหนือ  45 องศาตะวันออก
         ทิศทาง  ข  มุมแบริ่ง เท่ากับ ใต้  45 องศาตะวันออก

 
   
  มุมอาซิมุท Azimuth เป็นการบอกทิศ เป็นมุมในแนวราบ โดยวัดออกจากทิศเหนือ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมาทิศเหนืออีกครั้งหนึ่ง มีค่าระหว่าง 0 - 360 องศา ในภาพเป็นการบอกทิศจาก จุด ก ไปยังจุด ข มีค่าเป็น อาซิมุท 135 องศา  
 

อาซิมุท 45 องศา จะตรงกับทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ

 
 

อาซิมุท 90 องศา จะตรงกับทิศ ตะวันออก

 
 

อาซิมุท 135 องศา จะตรงกับทิศ ตะวันออกเฉียงใต้

 
 

อาซิมุท 180 องศา จะตรงกับทิศ ใต้

 
 

อาซิมุท 225 องศา จะตรงกับทิศ ตะวันตกเฉียงใต้

 
 

อาซิมุท 270 องศา จะตรงกับทิศ ตะวันตก

 
 

อาซิมุท 315 องศา จะตรงกับทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ

 
 

อาซิมุท 135 องศา จากจุด   ก. ไปยังจุด   ข.

 
 
 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th