หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ

แผนที่และการแปลความหมายแผนที่
หน่วยที่ 1 เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์
แผนที่และการแปลความหมายแผนที่
  แผนที่และความหมาย ประโยชน์ของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ ประเภทและชนิดของแผนที่  
         
  องค์ประกอบของแผนที่  
  1. ชื่อแผนที่              map  name
  2. ขอบระวางแผนที่     border
  3. ทิศทาง                 direction
  4. พิกัด           coordinate
  5. มาตราส่วน            map  scale
  6. ชื่อภูมิศาสตร์          geographic  name
  7. สัญลักษณ์             symbol
  8. คำอธิบายสัญลักษณ์  legend
  9. ศัพทานุกรม           glossary
 
  4. พิกัด     coordinate  
 

พิกัด coordinate พิกัดเป็นตัวกำหนดตำแหน่งต่างๆ
       ระบบพิกัด Coordinate System  เป็นระบบที่สร้างขึ้นสำหรับใช้อ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง หรือ บอกตำแหน่งพื้นโลกจากแผนที่มีลักษณ์เป็นตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้นตรงสองชุดที่ถูกกำหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก- ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กำเนิด Origin ที่กำหนดขึ้น ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กำเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง Distance ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตำแหน่งของตำบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่างๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะ
   
สำหรับระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงกำหนดตำแหน่งบนแผนที่ที่นิยมใช้กับแผนที่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ
1. ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ Geographic Coordinate
2. ระบบพิกัดกริด  Grid Coordinate  
      

 
  1. พิกัดภูมิศาสตร์ Geographic Coordinate  
 

          พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งของจุดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนานตัดกันเป็น “ จุด”
1.1. ละติจูด Latitude เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศา ที่ขั้วโลกทั้งสอง
1.2. ลองจิจูด Longitude เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียน ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จนถึง 180 องศา

 
   
     
  2.  พิกัดกริด Grid Coordinate  
 

พิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transvers เป็นการกำหนดตำแหน่งที่ วัดเป็นระยะทาง ของค่าเหนือ(เส้นในแนวนอน(N= northing)) กับค่าตะวันออก (เส้นในแนวตั้ง (E= easting)) เพื่อให้ทราบว่าตำแหน่งนั้นอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรเป็นระยะทางกี่เมตร และห่างจากเส้นกึ่งกลางโซนแผนที่นั้นระยะทางกี่เมตร ในแผนที่ภูมิประเทศ 1: 50,000 จะมีระบบพิกัดกริดที่ตีเป็นตารางขนาด 2x2 เซนติเมตร(1 ช่อง 2x2 เซนติเมตร มีพื้นที่จริง 1 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งแต่ละเว้นจะมีตัวเลขกำกับบอกค่าระยะทางของค่าเหนือและค่าตะวันออก

 
 

UTM UTM Grid Coordinate
ใช้บอกค่าเป็นตัวเลข โดยที่เราต้องอ่านค่าของเส้นกริดตั้ง (แกน X ทางตะวันออก) และ เส้นกริดราบ (แกน Y ทางเหนือ) ตัดกันทั้ง 2 แกน ที่เส้นกริดตั้งและราบมีตัวเลขตัวโต  2  ตัวกำกับไว้ทุกเส้น   มีหน่วยที่วัดเป็น เมตร การหลักอ่านมีหลักดังนี้
        1. ให้อ่านเพียงตัวเลขใหญ่ที่กำกับไว้ในแต่ละเส้นกริด
        2. ให้อ่านตัวเลขใหญ่ประจำเส้นกริดตั้งก่อน เป็นการอ่านพิกัดที่เรียกว่า Read Right Up  โดยอ่านจากซ้ายไปขวาก่อน   แล้วอ่านตัวเลขใหญ่ประจำเส้นกริดราบ โดยอ่านจากข้างล่างขึ้นข้างบน
        3. การอ่านตัวเลขจึงประกอบด้วย  2  ส่วน
                ส่วนแรก หรือ ครึ่งแรก  เป็นตัวเลขอ่านไปทางขวา
               ส่วนหลัง หรือ ครึ่งหลัง  เป็นตัวเลขอ่านขึ้นข้างบน
                                     Read Right Up
       4. ถ้าอ่านเพียงจตุรัส  1,000 เมตร   ตัวเลขจะประกอบด้วย  4  ตัว
                 100  เมตร   ตัวเลขจะประกอบด้วย  6  ตัว
                 10 เมตร    ตัวเลขจะประกอบด้วย 8 ตัว

ตัวอย่าง  (ดูรูปที่ 23 ประกอบ)   เช่น การอ่านค่าพิกัด UTM ของจุดตัดถนนในแผนที่ (ตามวงกลมสีแดง)   ระดับ 100  เมตร   ค่าที่อ่านได้ คือ
แกน  X  =   639200  ตะวันออก
แกน  Y  =    985150  เหนือ

 
   
 

แผนที่ตัวอย่างที่นำมาใช้มาตราส่วน 1:50,000
-  ตัวเลข 639 ของ แกน X และ  985 ของแกน Y คือ ตัวเลขประจำกริด   ตัวเลขสีดำ
- ตัวเลข 200  ของ แกน X และ  150   ของแกน Y ได้ค่าโดยใช้ไม้บรรทัดวัดจากเส้นกริดมายังจุดตัดของถนน โดย
                แกน X (ทางตะวันออก) วัดได้ 4 มิลลิเมตร       ---> 4 x 50 = 200
                แกน Y (ทางเหนือ) วัดได้ 3 มิลลิเมตร          ---> 3 x 50 = 150
เนื่องจากระยะใน 1 ช่องจัตุรัส เท่า 1,000 เมตร และวัดได้เท่ากับ 20 มิลลิเมตร เพราะฉะนั้น 1 มิลลิเมตร เท่ากับ 50 เมตรในพื้นที่จริง

 
 

 

 
 

 

 
 

 
 

แผนที่ระบบพิกัดกริด ที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบ UTM เป็นระบบเส้นโครงชนิดหนึ่งที่ใช้ผิวรูปทรงกระบอกเป็นผิวแสดงเส้นเมริเดียน หรือ เส้นลองจิจูด และเส้นละติจูดของโลก โดยใช้ทรงกระบอกตัดโลกระหว่างละติจูด  84 องศาเหนือ และ 80 องศาใต้ในลักษณะแกนรูปทรงกระบอก ทำมุมกับแกนโลก 90  องศารอบโลก  แบ่งออกเป็น 60 โซนๆ  ละ 6 องศา
โซนที่  1  อยู่ระหว่าง  180  องศาตะวันตก กับ   174  องศาตะวันตก    และมีลองจิจูด  177 องศาตะวันตก  เป็นเมริเดียนย่านกลาง Central Meridian  มีเลขกำกับแต่ละโซนจาก  1  ถึง   60 กำกับ ไปจนถึง ช่องที่ 60   อยู่ระหว่าง   174  องศาตะวันออก   กับ 180  องศาตะวันออก
ส่วนในแนวนอนตามละติจูด จะนับจากซ้าย ไปทางขวาระหว่างละติจูด  84  องศาเหนือ  80  องศาใต้ แบ่งออกเป็น  2  ช่อง  ช่องละ  8 องศา  ยกเว้นช่องสุดท้ายเป็น  12 องศา  โดยเริ่มนับตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ขึ้นไปทางเหนือ ให้ช่องแรกเป็นอักษร  C  และช่องสุดท้ายเป็นอักษร X  (ยกเว้น I และ  O)  
          จากการแบ่งตามที่กล่าวแล้วจะเห็นพื้นที่ในเขตลองจิจูด  180 องศาตะวันตก  ถึง   180  องศาตะวันออก  และละติจูด  80  องศาใต้ ถึง 84   องศาเหนือ  จะถูกแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  1,200  รูป   แต่ละรูปมีขนาดกว้างยาว  6 องศา x  8 องศา จำนวน  1,140  รูป  และกว้างยาว  6 องศา x 12 องศา จำนวน  60  รูป   รูปสี่เหลี่ยมนี้เรียกว่า Grid Zone Designation (GZD) การเรียกชื่อ Grid Zone Designation ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ ระหว่างละติจูด 5 องศา 30 ลิปดา เหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ  และลองจิจูดประมาณ 97 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ถึง  105 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก 
          ดังนั้น  ประเทศไทยจึงตกอยู่ใน GZD  47N  47P  47Q 48N  48P และ 48Q ดังรูป

 
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th