หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 2
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2
1.พระราชประวัติ  
2.การปกครอง    
3.เศรษฐกิจ  
4.ศาสนา  
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี    
6.กวีและวรรณกรรม    
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    
     
     

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 2 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ( พ.ศ. 2352-2367)

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
1. ความสัมพันธ์กับประเทศอังกฤษ

มาร์ควิส เฮสติงค์ ผู้สำเร็จราชการอินเดีย ( อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ) ได้ส่ง ยอห์น ครอว์เฟิด คนไทยเรียก การะฝัด เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี กับไทย ในปี พ.ศ. 2365 โดยที่อังกฤษต้องการ
1. ขยายการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก 2. เพื่อแก้ปัญหาเมืองไทรบุรี 3. เพื่อทำแผนที่ของภูมิภาคนี้
ผลของการเจรจาล้มเหลวเพราะ
1. ทั้งสองฝ่ายพูดไม่เข้าใจภาษากัน
2. ล่ามเป็นคนชั้นต่ำ ขุนทางไทยตั้งข้อรังเกียด
3. ชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อส่วนมากเป็นชาวจีนซึ่งมีกิริยาอ่อนน้อม
4. อังกฤษต้องการให้ไทยคืนเมืองไทรบุรีให้กับปะแงรัน
5. ประเพณีไทย ขุนนางเข้าเผ้าไม่สวมเสื้อ ทำให้ฝรั่งดูหมิ่นเหยียดหยาม

2. ความสัมพันธ์กับประเทศโปรตุเกส
โปรตุเกส เจ้าเมืองมาเก๊า ได้ส่ง คาร์โลส มานูเอล ซิลเวลา เป็นทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ให้ความสะดวกแก่กันมากในการค้าขาย
ต่อมา คาร์โลส มานูเอล ซิลเวลา ได้มาเป็นกงสุลประจำประเทศไทย นับเป็นกงสุลชาติแรกในสมัยรัตนโกสินทร์และซิลเวลาได้รับพระราชทานยศเป็น “หลวงอภัยวานิช”
3. ความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐอเมริกดา
อเมริกา มีความสัมพันธ์กับไทยครั้งแรกในสมัยนี้ พ่อค้าชาวอเมริกัน ชื่อ กัปตันแฮน ได้มอบปืนคาบศิลา จำนวน 500 กระบอก รัชกาลที่ 2 จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “หลวงภักดีราช”

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

1. ความสัมพันธ์กับประเทศพม่า
พม่า พระเจ้าจักกายแมง กษัตริย์พม่าได้เกลี้ยกล่อมพระยาไทรบุรียกทัพมาตีไทย ไทยทราบข่าวก็จัดกองทัพไป ขัดตาทัพไว้ ทางพม่าเกิดจลาจลจึงไม่ได้ยกทัพมา
2. ความสัมพันธ์กับประเทศเวียดนาม
ญวน พระเจ้าญาลอง มีพระราชสาสน์มาขอเมืองบันทายมาศโดยอ้างว่าเมืองนี้เป็นเมืองขึ้นของญวน ไทยต้องยอมยกให้ เพราะไม่อยากมีศึกสองทาง (ต้องรบกับพม่า)
3. ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
ไทรบุรี พระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) เมื่อปี 2352 มาช่วยไทยรบกับพม่า เมื่อครั้งพม่าตีถลางไทยจึงได้เลื่อนยศให้เจ้าพระยานคร (น้อย) ยกกองทัพไปปราบ เมืองไทรบุรี จึงตกมาเป็นของไทย
4. ความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา
กัมพูชา (เขมร) พระอุทัยราชา ไม่ซื่อตรงต่อไทย หันไปฝักใฝ่ญวนยิ่งขึ้น เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น
    - พระอุทัยราชา มาเข้าเผ้ารัชกาที่ 1 โดยพลการ ไม่ยอมให้เสนาบดีเบิกตัว จึงได้รับการติเตียนจากรัชกาลที่ 1 ทำให้ พระอุทัยราชาได้ รับความอัปยศ และอาฆาตคิดร้ายต่อไทย
    - พระอุทัยราชา ทะเลาะกับพระยาเดโช (เม็ง) พระยาเดโชหนีมาไทย พระอุทัยราชา มีหนังสือมาขอตัวพระยาเดโช แต่ทางไทยไม่ยอมส่งตัวไปให้ พระอุทัยราชาจึงไม่พอพระทัย
    - พระอุทัยราชา มีหนังสือขอนักองค์อีและนักองค์เภา ผู้เป็นป้า รัชกาลที่ 1 ไม่ทรงอนุญาต เพราะทั้งสองเป็นสนมของ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทไม่ต้องการให้พ่อแม่ลูกจากกัน เมื่อครั้งรัชกาลที่ 1 สวรรคต พระอุทัยราชา ก็ไม่ยอมมาช่วยในงานพระบรมศพ คงให้แต่นักองค์สงวนและนักองค์อิ่มผู้น้องมาแทน เมื่อครั้งไทยทราบข่าวว่าพม่า ยกทัพมาตีไทย ไทยมีหนังสือไปแจ้งพระอุทัยราชาให้มาช่วย แต่พระอุทัยราชากลับนิ่งเฉยเสีย มีแต่นักองค์สงวน ( พระยาอุปโยราช ) ที่เกณฑ์คนมาช่วยตามลำพัง พระอุทัยราชาทราบข่าวจึงได้ขอให้ญวนมาช่วย โดยบอกว่าเกิดกบฎ ในเมือง นักองค์สงวนจึงหนีมาไทย พ.ศ. 2354
เจ้าพระยายมราช (น้อย) ได้ไปไกล่เกลี่ย แต่พระอุทัยราชา แสดงอาการเป็นกบฎ ไทยจึงยกทัพเข้าไป พระอุทัยราชาจึงหนีไปพึ่งญวน ไทยจึงเผาเมืองพนมเปญ เมืองบันทายเพชร พระเจ้าญาลองมีหนังสือมาถึงไทย ขอให้พระอุทัยราชากลับครองบ้านเมืองตามเดิม ทางไทยไม่ปรารถนาที่จะทำสงครามกับญวน ดังนั้นพระอุทัยราชาจึงได้กลับมาครองกัมพูชาตามเดิม แต่ขออยู่ที่พนมเปญ และส่งเครื่องราชบรรณาการ ตามเดิมส่วน การบังคับบัญชาชั้นเด็ดขาดตกอยู่แก่ฝ่ายญวน โดยญวนได้ส่งข้าหลวงมาดูแลกำกับด้วย ในสมัย ร.2 ไทยต้องเสียเขมรให้กับญวน
5. ความสัมพันธ์กับประเทศจีน
จีน การติดต่อค้าขายกับจีน หลายชาติต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน เพื่ออาศัยเป็น “ใบเบิกทาง” ในการอำนวยความสะดวกในการค้าขาย ทางจีนเรียกว่า
“จิ้มก้อง” โดยที่จีนถือว่าประเทศที่นำเครื่องราชบรรณาการ มาถวาย เป็นประเทศราช ทางไทยหลงเข้าใจผิด เพิ่งจะทราบความจริงในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งทางประเทศจีนคิดว่า ไทยเป็นประเทศราชของจีนจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดสง ประเทศไทยกับจีน จึงได้มีสัมพันธไมตรีกันใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile