หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 2
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2

1.พระราชประวัติ


2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.การฟื้นฟูประเพณี  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก
 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( พ.ศ. 2352-2367)
ด้านศาสนา
1. การแต่งสมณฑูตไปลังกา
    ในสมัยนี้ได้มีพระสงฆ์ชาวลังการูปหนึ่ง ชื่อ พระสาสนวงศ์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกับต้นโพธิ์ลังกาเข้ามาถวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยบอกว่า สมเด็จพระสังฆราชโปรดให้นำมา รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์ในลังกาก็เป็นสมณวงศ์แบบเดียวกับพระสงฆ์ไทย เคยมีสัมพันธไมตรีติดต่อกันมาช้านาน ประกอบกับพระพุทธศาสนา ในลังกาเริ่มเศร้าหมอง  เพราะลังกาตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัชกาลที่ 2 จึงโปรดแต่งสมณทูตคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
พระสงฆ์จำนวน 9 รูป มีพระอาจารย์ดีและพระอาจารย์เทพเป็นหัวหน้าเมื่อกลับมาถึงไทย  พระอาจารย์ดี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระคัมภีรปรีชา และพระอาจารย์เทพได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระปัญญาวิสารเถร นับเป็นสมณทูตไทยคณะแรก สมัยรัตนโกสินทร์ (เริ่มเดินทาง พ.ศ. 2357 กลับมาถึงประเทศไทย พ.ศ. 2361) ด้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ จากเมืองอนุราธบุรี กลับมาโดยเชื่อกันว่าเป็นต้นโพธิ์เชื้อสายของพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระพุทธเจ้านั่งตรัสรู้ จำนวน 6 ต้น โดยปลูกไว้ที่ รัฐกลันตัน 1 ต้น จังหวัดนครศรีธรรมราช 2 ต้น จังหวัดกรุงเทพฯ 3 ต้น โดยปลูกที่วัดสุทัศน์ฯ วัดมหาธาตุฯ วัดสระเกศฯ


 

2. การฟื้นฟูการประกอบพิธีวันวิสาขบูชา
          วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ซึ่งไทยเราเคยจัดทำกันตั้งแต่สมัยสุโขทัย และเสื่อมหายไปในสมัยอยุธยา ธนบุรี ล่วงเลยมาถึงสมัยรัชกาลที่ 2 จึงมีการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดฯ ให้จัดพระราชพิธีอย่างใหญ่โต เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 14-15 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ รวม 3 วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรักษาพระอุโบสถศีล ปล่อยนก ปล่อยปลา ห้ามเสพสุรา ห้ามฆ่าสัตว์ ให้ถวายประทีป ตั้งโคม แขวนเครื่องสักการะบูชา เวียนเทียน ให้มีพระธรรมเทศนาในพระอารามหลวงและวัดราษฎร์ ถวายไทยทานตลอด 3 วัน

 
3. การบูรณะและ ปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม อาทิ
    3.1 วัดอรุณราชวราราม ซึ่งถือว่าเป็นวันประจำรัชกาลที่ 2 เดิมชื่อ วัดบางมะกอก ในสมัยพระเจ้าตากสินยกทัพเรือมากอบกู้เอกราชกองทัพมาถึงหน้าวัดนี้สว่างพอดี เลยเรียกว่า วัดแจ้งวัดนี้ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งพระทัยว่าจะสร้างใหม่ทั้งหมด จึงเริ่มสร้างพระอุโบสถและพระวิหาร และให้มีงานฉลองขึ้น ในปี พ.ศ. 2363 และพระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชธาราม" จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม"
    3.2 วัดสุทัศน์เทพวราราม เริ่มสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 พอถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสร้างพระวิหารหลวงต่อจนยกเครื่องบนเสร็จ แต่ยังไม่มีช่อฟ้าใบระกา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงวางแบบแปลนไว้ และสร้างเสร็จในสมัยต่อมา นอกจากนี้ยังทรงบูรณะปฏสังขรณ์วัดอื่น ๆ อาทิ
    3.3 วัดโมฬีโลก
    3.4 วัดราชบูรณะ
    3.5 วัดราชาธิวาส
    3.6 วัดสุวรรณดาราราม (จ.อยุธยา)
 
4. การสังคายนา บทสวดมนต์ เนื่องจากในปีพุทธศักราช 2363 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด บรรดาขุนนาง ไพร่ ทาส
เสียชีวิตจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชดำริให้จัดงาน บำเพ็ญพระราชกุศล และมีการสังคายนาบทสวดมนต์ โดยแปลพระปริตรออกเป็นภาษาไทย และโปรดให้ขุนนางข้าราชการฝ่ายในฝึกสวดพระปริตรทุกวันเหมือนกับที่พระสงฆ์สวด
 
5. ปรับปรุงการสอบพระปริยัติยธรรม ในปี พ.ศ. 2359 กำหนดให้มีการสอบโดยกำหนดเป็นเปรียญ 3 ประโยค เ
ปรียญ 4 ประโยค จนถึงเปรียญ 9 ประโยค ทำให้การเรียนรู้ด้านภาษาบาลีเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปพร้อม ๆ กับความเจริญ
ทางด้านพระพุทธศาสนา
 
6. การบูรณมหาชาติคำหลวง ในปี พ.ศ. 2357 รัชกาลที่ 2 ได้โปรดให้ประชุมนักปราญ์ชราชบัณฑิต ให้ช่วยกันแต่ง มหาชาติคำหลวง จนครบทั้ง 13 กัณฑ์
  กัณฑ์ที่ 1 กัณฑ์ทศพร
กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์
กัณฑ์ที่ 3 กัณฑ์ทานกัณฑ์
กัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนประเวสน์
กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก
กัณฑ์ที่ 6  กัณฑ์จุลพน
กัณฑ์ที่ 7 กัณฑ์มหาพน
กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร
กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์มหาราช
กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์สกบรรพ
กัณฑ์ที่12 กัณฑ์ ฉกษัตริย์
กัณฑ์ที่13 กัณฑ์นครกัณฑ์
 
7. ในสมัยนี้ยังได้พระพุทธบุษยรัตน์ มาจากจำปาศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2355 พระพุทรูปองค์นี้ ทำด้วยแก้วผลึก ที่เรียกว่า “เพชรน้ำค้าง” หรือ “บุษย์น้ำขาว” พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้นำมา ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้อัญเชิญ พระพุทธบุษยรัตนฯ ไปประดิษฐาน ณ หอพระ พระที่นั่งอัมพรสถานสืบมาจนทุกวันนี้

พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile