หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 2
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2
1.พระราชประวัติ    
2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.การฟื้นฟูประเพณี  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ      
       
       
       

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 2 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ( พ.ศ. 2352-2367)
ด้านเศรษฐกิจ
           สมัยรัชกาลที่ 2 บ้านเมืองว่างจากการศึกสงคราม จึงมีการค้าขายเจริญรุ่งเรืองกว่าแต่ก่อนกล่าวคือ มีการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมากมาย เช่น จีน อินเดีย มะละกา สิงคโปร์ ญวน และเขมร เป็นต้น สำหรับประเทศทางตะวันตก
ได้แก่ โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกาโดยวิธีดำเนินการค้าขาย ของหลวงยังคงให้พระคลังสินค้าจัดการ ตามที่เคย ปฎิบัติมา มีเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นหัวแรง ในการแต่งสำเภาหลวงติดต่อค้าขายกับจีนและประเทศอื่น ๆ จนได้รับพระราชทานสมญาว่า“เจ้าสัว”
ในรัชการนี้มีเรือกำปันหลวงที่ใช้ในการค้าขายที่สำคัญ 2 ลำ คือ เรือมาลาพระนครและเรือเหราข้ามสมุทร สินค้าที่ผูกขาย ในสมัยนี้ ที่เป็นสินค้าขาออกมี 10 ชนิด คือ รังนก ฝาง ดีบุก พริกไทย เนื้อไม้ ผลเร่ว ตะกั่ว งาช้าง รงและช้าง สินค้า ที่ห้ามส่งออกโดยเด็ดขาด คือ ข้าวเปลือกและข้าวสาร ส่วนสินค้าขาเข้าก็มี ปืนและดินปืน
การปรับปรุงภาษีอากร ลักษณะการเก็บภาษีอากรยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่1 มีการปรับปรุงเพิ่มเติมดังนี้
          1 . การเดินสวน คือการแต่งเจ้าพนักงานออกไปสำรวจสวนของราษฎร ์ในการเก็บอากรสวนตามชนิดของ ผลไม้ ดังนี้
                    1.1 อากรสวนใหญ่ เป็นการเก็บภาษีจากผลไม้ยืนต้นชั้นดี มี 7 ชนิด ได้แก่
ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมากและพลูค้างทองหลาง
                   1.2 พลากร เป็นภาษีที่เก็บจากผลไม้ชั้นรอง มี 8 ชนิด ได้แก่
ขนุน สะท้อน เงาะ ส้ม มะไฟ ฝรั่ง สับปะรดและสาเก
                   1.3 อากรสมพัตสร เป็นภาษีที่เก็บจากผลไม้ล้มลุก เช่น กล้วย อ้อย เป็นต้น
           2 . การเดินนา คล้ายกับการเดินสวน การเก็บอากรค่านา เรียกว่า “หางข้าว” โดยแบ่งนาออกเป็น 2 ประเภท คือ นาน้ำท่า และนางฟางลอย
                   2.1 นาน้ำท่า หรือ นาคู่โค หมายถึงนาที่สามารถปลูกข้าวได้หลายครั้งในหนึ่งปีโดยอาศัยน้ำฝนหรือน้ำท่า วิธีการเก็บภาษี หรือหางข้าว*ของนาประเภทนี้ เก็บด้วยวิธีดูคู่โคคือการนับโคหรือกระบือที่ใช้ไถนาโดยการคำนวณว่าโคหนึ่งคู่จะสามารถใช้ทำนาในผืนดินที่นานั้น ๆ ได้ปีละเท่าใดแล้วเอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นจั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสียภาษี นาประเภทนี้จึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่า "นาคู่โค" ฉะนั้นนาคู่โคนี้ราษฎรจะทำนาหรือไม่ก็ตามก็จะต้องเสียภาษี(หางข้าว)ตลอดไป เมื่อทางราชการ จัดพนักงานหรือข้าหลวงเดินนามาสำรวจแล้วรัฐบาลจะออกหนังสือให้เจ้าของที่นาถือไว้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บหางข้าวหรืออากร
ค่านาต่อไป หนังสือสัญญานี้เรียกว่า "ตราแดง"
                     2.2 นาฟางลอย หรือ นาดอน หมายถึงนาที่สามารถปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว เป็นนาในที่ดอนน้ำท่าขึ้นไม่ถึง วิธีเก็บภาษีหางข้าวสำหรับนาประเภทนี้เก็บจากนาที่สามารถปลูกข้าวได้จริง ถ้าปีใดไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียอากรค่านาและถือเอาตอฟางที่เก็บเกี่ยวแล้ว เป็นเกณฑ์ในการเก็บค่านา เมื่อทางราชการ จัดพนักงานหรือข้าหลวงเดินนา
มาสำรวจแล้ว รัฐบาลจะออกหนังสือให้เจ้าของที่นาถือไว้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บหางข้าวหรืออากรค่านาต่อไป หนังสือสัญญานี้
เรียกว่า "ใบจอง"


*หางข้าว หมายถึงภาษีหรืออากรค่านา ที่รัฐบาลเก็บเป็นข้าวเปลือกในสมัยรัชกาลที่ 2 คิดอากรค่านาในอัตราไร่ละ สองสัดครึ่ง


มาตรา ตวงความจุไทย
เทียบมาตราตวงความจุเมตริก-ไทย
20 
ทะนาน = 1 ถัง
50 
ถัง  = 1 บั้น
บั้น    1 เกวียน
100 
ถัง = 1 เกวียน
1
ทะนาน =
1
ลิตร
1
บั้น  =
1
กิโลลิตร
1
เกวียน =
2
กิโลลิตร
1
เกวียน
2000
ลิตร
1 สัด = 20 ลิตร

เงินพดด้วงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ตราแผ่นดินเป็นรูปจักรหกกลีบ กลางจักร และ ระหว่างกลีบ มีจุดตราประจำรัชกาล เป็นรูปครุฑ ซึ่งมีอยู่สองแบบ คือ ครุฑอกยาวคล้ายครุฑ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และครุฑอกสั้นลักษณะโดยทั่วไปของเงินพดด้วงเหมือนกับเงินที่ผลิตในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile