หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 2
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2
1.พระราชประวัติ

 
2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.ศิลปวัฒนธรรม  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
   
 
รัชกาลที่ 2
   
       

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 2 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ( พ.ศ. 2352-2367)
การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี
- ศิลปวัฒนธรรม
- ทรงฟื้นฟูประเพณี วันวิสขบูชา

             เดิมงานประเพณีวันวิสาขะบูชา ได้เคยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ถึงอยุธยา แต่เนื่องจากเกิดศึกสงคราม งานประเพณีจึงไม่ได้ จัดกัน ด้วยเหตุที่บ้านเมืองวุ่ยวายไม่สงบสุข ครันถึงสมัยรัชกาลที่ 2 บ้านเมือง
ร่มเย็นสงบสุขดี รัชกาลที่ 2 ได้ปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราช เมื่อเห็นสมควรดีแล้ว จึงได้โปรดให้ทำเป็นพระราชพิธีใหญ่โต
เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและวันแรม 1ค่ำ พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส จะรักษาศีล 8 (พระอุโสถศีล)  
ปล่อยนกปล่อยปลา ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามเสพสุรา ให้ตั้งโคมแขวนเครื่องสักการะบูชา เวียนเทียน โปรดให้มีพระธรรมเทศนา
ในพระอารามหลวง ถวายเครื่องไทยทานจนครบ 3 วัน
- พระราชพิธีอาพาธพินาศ
            เนื่องจากมีโรคอหิวาตกโรค ระบาดจึงได้ประกอบพิธีนี้ขึ้น และมีการตั้งโรงทาน เพื่อพระราชทานเลี้ยงอาหารแก่ราษฎร
ในปีพุทธศักราช 2363 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด ในพระนคร นานประมาณ 15 วัน ทำให้ราษฎร ล้มตายเป็นจำนวนมาก
( ประมาณ 30,000คน ) มีศพลอยอยู่ตามลำน้ำคูคลองอยู่กลาดเกลื่อน ซากศพทับถมเป็นกอง ทางวัดไม่สามารถเผาได้หมดจนพระสงฆ์ต้องหนีออกจากวัด ชาวบ้านต้องหนีออกจากบ้าน สร้างความวุ่นวายอย่างมากภายใน
พระนคร รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศขึ้น เมื่อวันจันทร์ขึ้น 7 ค่ำเดือน 10 พ.ศ. 2363  พระราชพิธีนี้ 
จัดทำขึ้น ณ  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  ลักษณะของพระราชพิธีนี้คล้ายกับพิธีตรุษ กล่าวคือมีการยิ่งปืนใหญ่รอบพระนครตลอดรุ่งคืน แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตออกแห่มีพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ออกร่วมขบวนแห่ด้วย โดยทำหน้าที่โปรยทรายและประพรมน้ำพระปริตร เพื่อขับไล่โรคร้ายทั้งทางบกและทางน้ำ พร้อมทั้งพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง หยุดงาน เพื่อรักษาศีลทำบุญทำทาน
ตามใจสมัคร ประกาศห้ามราษฎรฆ่าสัตว์ ให้ราษฎรอยู่แต่ในบ้านเรือน ถ้ามีธุระจำเป็นจริง ๆ จึงให้ออกจากบ้านได้ พระราชทานทรัพย์ให้เผาศพทีไร้ญาติ และโปรดให้ปล่อยนักโทษออกจากที่คุมขังจนหมดสิ้น
            นอกจากนี้ได้โปรดให้ตั้งโรงทานขึ้น ณ ริมประตูศรีสุนทร พระราชทานอาหารเลี้ยงราษฎรที่มีความปรารถนามารับพระราชทาน การรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัย บ้านเมืองสะอาด ทำให้โรคอหิวาตกโรคหมดไป( ในสมัยนั้นยังไม่รู้จักเชื้ออหิวาตกโรค)
เรียกกันว่า "โรคห่าระบาด"

- ด้านสถาปัตยกรรม มีการขยายเขตพระบรมมหาราชวัง สร้างสวนขวา
- การปั้นและการแกะสลัก
        ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนีวัดสุทัศน์เทพวรารามคู่หน้าด้วยพระองค์เองคู่กับกรมหมื่นจิตรภักดทรงแกะสลัก หน้าพระใหญ่และหน้าพระน้อย ที่ทำจากไม้รัก คู่หนึ่ง เรียกกันว่า “พระยารักใหญ่” กับ “พระยารักน้อย”
- ทรงปั้นพระพักตร์ พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
- ด้านการดนตรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระปรีชาสามารถในการดนตรีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะดนตรีไทย เครื่องดนตรี
ีที่ทรงโปรดมากคือ ซอสามสาย ทรงพระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" พระองค์ทรงแต่งเพลงสรรเสริญพระจันทร์ หรือ
เพลงบุหลันลอยเลื่อน หรือเพลงบุหลัน(เลื่อน)ลอยฟ้า หรือ เพลงทรงพระสุบิน เพราะเพลงนี้มีต้นกำเนิดจากพระสุบิน
ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่า หลังจากพระองค์ได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวงสวรรค์ ณ ที่นั้น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับ
มีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นจาบรรทมก็ยังทรงจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียก
พนักงาน ดนตรี มาแต่งเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแผ่ ซึ่งเคย ใช้ เพลงทรงพระสุบินนี้เป็นเพลงสรรเสริญ
พระบารมีอีกด้วย
- ธงชาติ ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย
         การใช้ธงช้าง เป็นธงชาติ ในสมัยนี้สืบเนื่องมาจาก รัชกาลที่ 2 ได้โปรดให้สร้างสำเภาหลวงขึ้นเพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ ขณะนั้นชาวอังกฤษได้ตั้งสถานีการขึ้นที่สิงคโปร์ ได้แจ้งว่าเรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายต่างก็ชักธงแดงทั้งหมดยากแก่การต้อนรับ ขอให้ทางไทยเปลี่ยนการใช้ธงเสีย จะได้จักการับรองเรือหลวงของไทยให้สมพระเกียรติ ขณะนั้นพระองค์ได้ช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีถึง 3 ช้าง จึงโปรดให้ใช้ธงที่มีรูปช้างสีขาวอยู่ในวงจักรสีขาว
ไว้ตรงกลางผืนธงสีแดง เป็นธงประจำเรือในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งหมายความว่าเป็นเรือของ พระเจ้าช้างเผือก
ส่วนเรือของราษฎรยังคงใช้พื้นธงสีแดง




ซอสายฟ้าฟาด
พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile