ด้านเศรษฐกิจ
รายได้ของประเทศในสมัยรัชกาลที่ 1 มีรายได้จากการค้าขายกับต่างประเทศ ในทวีปเอเชียส่วนใหญ่ไทยค้าขายกับ ชาวจีน ญี่ปุ่น ชวา สิงคโปร์และอินเดีย ส่วนชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อทำการค้า ได้แก่ โปรตุเกส อังกฤษ การค้าขายในสมัยนี้ ใช้เรือสำเภาในการบรรทุกสินค้า การค้าของไทยนี้อยู่ในความดูแลของพระคลังสินค้า สังกัดกรมท่า มีเรือสำเภาหลวงที่ปรากฏ ในสมัย รัชกาลที่ 1 ได้แก่ เรือหูสง และ เรือทรงพระราชสาส์น
ผลประโยชน์ที่ได้จากการค้ามีดังนี้
1. ภาษีเบิกร่อง หรือ ค่าปากเรือ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้นำสินค้าบรรทุกลงเรือเข้ามาขาย โดยเก็บจาก
เรือที่มีความกว้างตั้งแต่ 4 วาขึ้นไป คิดในอัตราวาละ 12 บาทสำหรับเรือที่เข้ามาติดต่อค้าขายอยู่เป็นประจำและมีไมตรีต่อกัน ถ้าเป็นเรือบรรทุกสินค้าของชาติที่นาน ๆ จะเข้ามาค้าขายสักครั้ง เรียกเก็บในอัตราวาละ 20 บาท
2. อำนาจในการเลือกซื้อสินค้าของทางราชการ กรมพระคลังสินค้า จะให้พนักงานลงไปตรวจดูสินค้า ในเรือ
ซึ่งเรียกว่า เหยียบหัวตะเภา เพื่อคัดเลือกสินค้าที่จะซื้อหรือเก็บภาษีขาเข้าก่อน พระคลังสินค้า สามารถสั่งพ่อค้า ชาว ต่างชาติ ให้นำสินค้าเข้ามาขายให้กับรัฐบาลก่อน จึงจะขายให้กับประชาชนได้ หรือสินค้าบางอย่างที่จะเป็นภัย ต่อความมั่นคงของชาติ รัฐบาลสามารถสั่ง ห้ามขายให้กับประชาชน ต้องนำออกนอกราชกาณาจักร อาทิเช่น อาวุธปืน กระสุนปืน ฝิ่น เป็นต้น
3. ภาษีสินค้าขาเข้า รัฐบาลเก็บโดยชักส่วนสินค้าที่เรือบรรทุกเข้ามาขาย เรือที่มาเป็นประจำเก็บ ร้อยชัก 3
นาน ๆ มาครั้งเก็บร้อยชัก 5 หรือเก็บตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ สินค้าขาเข้าที่สำคัญ ไดแก่ ผ้าไหมจากจีน ผ้าฝ้าย ผ้าจากอินเดีย เครื่องลายคราม ชา ไหมดิบ ไหมสำเร็จรูป เครื่องแก้ว ฯลฯ
4. ภาษีขาออก ภาษีชนิดนี้เก็บเป็นอย่าง ๆ ไป ตามประเภทของสินค้า เช่น น้ำตาลทรายเก็บหาบละ
50 สตางค์ ( 60 ก.ก ต่อ 2 สลึง ) สินค้าขาออกที่สำคัญได้แก่ ครั่ง ดีบุก ไม้ยาง งาช้าง รง เขาสัตว์ หนังสัตว์ นอแรด หมาก พลู พริกไทย กระวาน กานพลู ข้าว รังนก ผลเร่ว ฯลฯ
อนึ่งการค้าขายของไทยเป็นการค้าแบบผูกขาดโดย พระคลังสินค้า เป็นผู้กำหนดว่า สินค้าประเภทใด เป็น
สินค้าผูกขาด สินค้าประเภทใดเป็น สินค้าต้องห้าม สินค้านอกเหนือจากที่ พระคลังสินค้า กำหนด ราษฎรสามารถ นำสินค้าไปขายให้กับชาวต่างชาติได้โดยตรง
สินค้าผู้ขาด เป็นของหายาก เป็นสินค้าที่ราษฎรจะต้องนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น เช่น งาช้าง กฤษณา ฝาง รังนก ดีบุก ผลเร่ว
สินค้าต้องห้าม เป็นสิ่งของที่ห้ามขายออกนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด เช่น ดินประสิว กำมะถัน
5. รายได้จากการเก็บภาษีอากรและผลประโยชน์ของแผ่นดิน
5.1 จังกอบ ภาษีที่เก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาขาย โดยชักส่วนจากสินค้าที่ผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ
5.2 อากร ภาษีที่เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพทุกชนิด ยกเว้นการค้า
5.3 ฤชา ค่าธรรมเนียมที่ทางการเรียกเก็บจากราษฎรที่มาใช้บริการของรัฐ
5.4 ส่วย เงินหรือสิ่งของที่เรียกเก็บจากไพร่ส่วยแทนการเกณฑ์แรงงาน |