หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
Ram 1 | สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก |
รัชกาลที่
1 |
1.พระราชประวัติ |
|
||||||
2.การสร้างราชธานี | |||||||
3.การปกครอง | |||||||
4.เศรษฐกิจ | |||||||
5.การศาสนา | |||||||
6.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี | |||||||
7.กวีและวรรณกรรม | |||||||
8.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ | |||||||
พระมหากษัตริย์ |
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(วังหน้า ) |
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
(วังหลัง ) |
สมุหพระกลาโหม
|
สมุหนายก(มหาดไทย) |
นครบาล |
ธรรมาธิกรณ์ |
โกษาธิบดี |
เกษตราธิการ |
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี |
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(วังหน้า ) |
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
(วังหลัง ) |
|||
1. กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) | เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ |
|||
2. กรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร (เจ้าฟ้าฉิม) | (พระยาสุริยอภัยหรือทองอิน) |
|||
สมุหพระกลาโหม |
สมุหนายก (ตราราชสีห์) |
พระยายมราช
(นครบาล) (ตราพระยมทรงสิงห์) |
พระยาธรรมา
(ธรรมาธิกรณ์) (ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ) |
พระยาโกษาธิบดี
(พระคลัง) (ตราบัวแก้ว) |
พระยาพลเทพ
(เกษตราธิการ) (ตราพระพิรุณทรงนาค) |
ด้านการปกครอง 1. การปกครองในราชธานี หรือระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง ยังคงใช้ตามแบบกรุงศรีอยุธยาคือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่ายได้แก่ 1.1 ฝ่ายทหาร คือเสนาบดีกรมพระกลาโหม ( สมุหพระกลาโหม ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ใช้ ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง 1.2 ฝ่ายพลเรือน คือ เสนาบดีกรมมหาดไทย ( สมุหนายก ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ใช้ ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง |
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ ช่วยบริหารงาน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย 1.2.1 กรมพระนครบาล ( กรมเวียง ) 1.2.2 กรมพระธรรมาธิกรณ์ ( กรมวัง ) 1.2.3 กรมพระโกษาธิบดี ( กรมคลัง ) 1.2.4 กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา ) |
กรมพระนครบาล (กรมเวียง) หรือ กรมเมือง เสนาบดีคือ พระยายมราช(พระยานครบาล) มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลราษฎรในเขตกรุง
รักษาความสงบเรียบร้อยและปราบโจรผู้ร้าย มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่ง กรมพระธรรมาธิกรณ์ (กรมวัง)เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก จัดการพระราชพิธีทั่วไป รวมทั้งพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์ หมายถึง ผู้วินิจฉัยคดีพิพาท ให้เป็นธรรม ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (เทวดาทรงพระโค ) เป็นสัญลักษณ์ |
กรมพระโกษาธิบดี (กรมคลัง) หรือ กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก
ใช้ตราบัวแก้วเป็นสัญลักษณ์ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น
ฝ่ายการเงิน มีหัวหน้าคือ พระยาราชภัคดี ฝ่ายการต่างประเทศ มีหัวหน้าคือ พระยาศรีพิพัฒน์ ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีหัวหน้าคือ พระยาพระคลัง(พระยาโกษาธิบดี) |
กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา) เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ (พระยาเกษตราธิการ)มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าว ค่านา จัดเก็บและรักษาเสบียง อาหารสำหรับพระนคร พิจารณาคดีเกี่ยวกับที่นา ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์ |
พระพิรุณทรงนาค |
2. การปกครองหัวเมือง หรือ ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การปกครองหัวเมือง คือการบริหารราชการแผ่นดินตามหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น
3 ประเภท 2.1 หัวเมืองชั้นใน 2.2 หัวเมืองชั้นนอก 2.3 หัวเมืองประเทศราช |
หัวเมืองชั้นใน เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง เมืองชั้นในไม่ได้เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือ ฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา |
หัวเมืองชั้นนอก(เมืองพระยามหานคร) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร
เมืองเหล่านี้จัดแบ่งเป็นระดับชั้น ตามขนาด จำนวนพลเมือง ความสำคัญ แบ่งเป็นชั้นเอก
ชั้นโท ชั้นตรี และอาจมีเมืองเล็ก ๆ ( เมืองชั้นจัตวา ) อยู่ใต้สังกัด เจ้าเมืองเหล่านี้
มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระราชโองการและนโยบายจากเมืองหลวงตามเขตความรับผิดชอบกล่าวคือหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน
อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง ) หัวเมืองที่ สังกัดกรมท่า มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราด เมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลา เมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง |
หัวเมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) เป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา
หรือ ประเทศเหล่านั้นยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของไทย มีเจ้าเมืองหรือกษัตริย์
ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของแต่ละชาติ การเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์
จะต้องบอกหรือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เป็นผู้แต่งตั้งให้ โดยเมืองขึ้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการ
และต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ โดยปรกติจะจัดส่ง 3 ปีต่อครั้ง ต้องเกณฑ์ทัพมาช่วยถ้ามีศึกสงคราม ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ลาวหรือล้านช้าง( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ) |
ด้านกฎหมายและการศาลไทย กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพราหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|