หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
Ram 1 | สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก |
รัชกาลที่
1 |
1.พระราชประวัติ | แบบฝึกหัด |
||
2.การสร้างราชธานี | |||
3.การปกครอง | |||
4.เศรษฐกิจ | |||
5.การศาสนา | |||
6.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี | |||
7.กวีและวรรณกรรม | |||
8.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ | วัดประจำรัชกาลที่ 1 (วัดโพธิ์ ) |
||
แผนผังบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ |
ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณพระบรมมหาราชวัง |
พระบรมมหาราชวัง |
ทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวง |
การสร้างราชธานี แต่เดิมแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่าง ปากคลองบางกอกน้อยลงมาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ เป็นแผ่นดินเดียวกัน มีชื่อเรียกกันในสมัยนั้นว่า บางกอก ตำบลบางกอกตั้งอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิม ไหลตามคลองบางกอกน้อย คลองบางระมาด คลองตลิ่งชัน และคลองบางกอกใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช ( พ.ศ. 2079 2089 ) โปรดให้ ขุดคลองลัด เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยไปออกแม่น้ำเก่าหน้าวัดอรุณราชวราราม เรียกว่า คลองลัดบางกอกใหญ่ ต่อมากลายเป็น แม่น้ำตรงหน้า ท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อน้ำไหลสะดวกขึ้น เลยกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองตลิ่งชั่น คลองบางระมาด คลองบางกอกใหญ่ในที่สุด ทำให้ตำบล บางมะกอก แบ่งออกเป็นสองส่วนคือฝั่งตะวันตกเรียก ฝั่งธนบุรี ฝั่งตะวันออกเรียก ฝั่งพระนคร ( บริเวณที่สร้างพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดให้ ย้ายราชธานี จากฝั่งตะวันตก มาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้ 1. ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เพราะกรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหล ผ่ากลางเมืองยากแก่การป้องกันข้าศึกเข้าโจมตี เหมือนเมื่อครั้งพระองค์เคยรักษาเมืองพิษณุโลก ในศึกอะแซหวุ่นกี้ถ้าย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกเพียงฝั่งเดียว ถ้ามีข้าศึกมาโจมตี ีก็จะป้องกันได้ง่าย 2. สถานที่ตั้งกรุงธนบุรีคับแคบ เพราะมีวัดขนาบสองด้านคือ วัดอรุณราชวราราม ( วัดแจ้ง ) และ วัดโมฬีโลกยาราม ( วัดท้ายตลาด ) ไม่เหมาะที่จะขยายเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นต่อไปได้ 3. ฝั่งธนบุรีเป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งทรุดพังอยู่เสมอ อาจเป็นอันตรายต่อพระราชฐานได้ เมื่อมีพระราชดำริดังนี้แล้ว ก็โปรดให้พระยาธรรมา ( บุญรอด ) และพระยาวิจิตรานาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่พล สร้างพระนครใหม่ โดยย้ายชาวจีน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่จะสร้างพระนคร ไปอยู่บริเวณ คลองสามปลื้มจนถึงคลองวัดสามเพ็ง ( ตลาดสำเพ็งในปัจจุบัน ) โดยทำพิธียกเสาหลักเมือง ในวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 ตรงกับ วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จุลศักราช 1144 โดยเกณฑ์ ชาวเขมร ลาว และข้าราชการหัวเมือง เข้ามา ช่วยระดมกัน ขุดลอกคูคลอง สร้างกำแพงเมือง ปราสาท ราชวัง ในการสร้างพระนครแห่งใหม่นี้ใช้เวลานาน 3 ปี เสร็จแล้ว โปรดให้มี พระราชพิธี สมโภชอย่างมโหฬาร รวม 3 วัน และขนานนามพระนครแห่งใหม่ว่า กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ ( สมัยรัชกาลที่ 4 เปลี่ยน กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็นกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ฯ ) ซึ่งแปลได้ความว่า เมืองแห่งเทพยดาเป็นเมืองใหญ่เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตเป็นเมืองรบ ไม่ชนะของพระอินทร์ เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ของโลก อันประกอบด้วยรัตน 9 ประการ เป็นเมืองแห่งความร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วยพระราชวังอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์อันเป็นที่ประทับ ของพระนารายณ์ เมืองที่พระอินทร์เป็น ผู้มอบให้ โดยให้พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้างพระมหาปราสาท และราชมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประกอบด้วย 1. พระที่นั่งอมรินทราภิเษก มหาปราสาท สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ โดยลอกแบบมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท พระที่นั่งองค์นี้ใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี พ.ศ. 2328 ต่อมาเกิดฟ้าผ่า ไฟไหม้ ในปี 2332 จึงโปรด ให้รื้อ แล้วสร้างขึ้นใหม่ ให้เหมือน พระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ แล้วพระราชทานนามว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท |
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท , พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท |
2. พระมหามณเฑียร เป็นพระที่นั่งหมู่ประกอบด้วย |
||
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท |
||
3.
พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ |
||
พระที่นั่งบรมพิมาน |
พระที่นั่งบรมพิมาน |
พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ |
|
ตั้งอยู่ริมกำแพงทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เป็นพลับพลาโถงเสาไม้ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ชั้นเดียวยกพื้นสูง บันไดอยู่ในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก ภายในยกพื้นตอนกลางสูง มีพระแท่นองค์ประธานอยู่ระหว่างเสาลายทอง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจก หน้าบันไม้จำหลักรูปเทวดายืนแท่น พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงตรี ล้อมรอบด้วยลายกระหนกก้านขดเทพพนม พื้นปิดกระจกสี ลายจำหลักลงรักปิดทอง ผนังภายนอกเขียนลายกระหนกหน้าสิงห์ ผนังภายในเขียนเป็นภาพในสรวงสวรรค์ |
พระที่นั่งพลับพลาสูง ( สุทไธสวรรค์ ) |
|
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีลักษณะป็นพลับพลาโถงจตุรมุขเครื่องไม้เรียกว่า พลับพลาสูง สร้างอยู่บนกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก สำหรับประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่ในพระราชพิธีสรงสนานใหญ่ พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน และทอดพระเนตรการฝึกช้าง สันนิษฐานว่าน่าจะทำตามแบบอย่างธรรมเนียมพระราชวังหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่สร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาทอยู่บนกำแพง |
พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท |
|
พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เป็นพระที่นั่งโถงทรงปราสาทจตุรมุขประกอบเครื่องยอดบุษบก โดยมุขรี(ด้านยาว)สั้นกว่ามุขด้านสกัด(ด้านกว้าง)มีเชิงเทินเกยเทียบพระยานคานหาม ตั้งอยู่ระหว่าง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท |
การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
( วัดพระแก้ว ) |
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
พระปรางค์แปดองค์ |
พระอุโบสถ |
พระอุโบสถ |
|
|
ยักษ์และลิงแบก |
พระบรมมหาราชวัง |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|