หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 5 แนวการพัฒนาประเทศไทย  
บทที่ 13 ภูมิศาสตร์ประเทศไทย  
 
 
  การแบ่งเขตภูมิประเทศ  
  ประเทศไทยแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 เขต ได้แก่  
  1. ภาคเหนือ  เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขา  
  2. ภาคกลาง    เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ  
  3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตที่ราบสูง  
  4. ภาคตะวันออก เขตที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบลูกฟูก  
  5. ภาคตะวันตก  เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขา  
  6. ภาคใต้   เขตเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล  
     
  6. ภาคใต้   เขตเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มี 14 จังหวัดได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา  
     
 

1. ที่ราบภาคใต้  ภาคใต้อยู่บนแหลมแคบ ๆ ที่มีความกว้างที่สุดไม่เกิน 200 กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุด ประมาณ 60 กิโลเมตร ตอนกลางของแหลมเป็นทิวเขาโดยตลอด จึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลผืนแคบ ๆ เป็นตอน ๆ ไม่ติดต่อกัน มี 2 ฝั่ง ได้แก่
1. ที่ราบริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย    
2. ที่ราบริมฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน

 
     
            ที่ราบริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ที่ราบบ้านดอน ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ราบพัทลุง ที่ราบตานี ไปจนถึงปากแม่น้ำโกลก อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

 
     
            ที่ราบริมฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน  เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ ครอบคลุมพื้นที่ ตั้งแต่ ลุ่มน้ำกระบุรี จังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูล ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบแคบๆลาดชันเรียบรายฝั่งทะเล บริเวณปากแม่น้ำจะมีป่าชายเลน ดินเป็นดินโคลนลักษณะเหมือนทรายแป้งตกตะกอนสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก  
     
  2. เขตแนวเทือกเขาสูง  
 

เทือกเขาภูเก็ต เป็นเทือกเขาที่แยกออกจากเทือกเขาตะนาวศรี  ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร บริเวณแม่น้ำปากจั่นลงไปทางใต้เป็นแนวทอดไปในแหลมมลายู ไปเชื่อมต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาสันกาลาคีรีในจังหวัดสตูล
จากนั้นเป็นเทือกเขาที่ทอดยาวลงไปในทะเลอันดามันเกิดเป็นเกาะภูเก็ต จึงให้ชื่อว่าเทือกเขาภูเก็ต และเนื่องจากว่าเทือกเขานี้ผ่านจังหวัดระนอง จึงได้ชื่อว่าเทือกเขาระนอง เทือกเขานี้ เป็นสันปันน้ำลงสองฟาก คือ ด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามันของมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านอ่าวไทย มีลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทย อาทิ คลองสวี แม่น้ำหลังสวน และแม่น้ำคีรีรัฐ ไหลลงสู่อ่าวไทยบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย มีแม่น้ำกระบุรี หรือ คลองปากจั่น และคลองสะอุ่นไหลมาบรรจบกัน และลำน้ำตะกั่วป่า ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน เทือกเขานี้มียอดเขาสูงที่สำคัญ ยอดเขากะทะคว่ำ สูง 1,092 เมตร ภูเขาปลายบางโต๊ะ สูง 1,047 เมตร ภูเขาทั้งสองลูกนี้อยู่ตอนเหนือของจังหวัดพังงา ภูเขาพระมีความสูง 1,106 เมตร อยู่ในเขตอำเภอคอเขา จังหวัดพังงา ภูเขาหลังคาตึก สูง 1,272 เมตร อยู่ในเขตอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ยังมียอดเขาที่สูงเกิน 1,000 เมตร อีกหลายยอด แต่ไม่มีชื่อเรียกกัน ทิวเขาภูเก็ตกั้นเขตแดน ระหว่างฟากตะวันออกกับฟากตะวันตก ของ 4 จังหวัดในภาคใต้ กล่าวคือ ทางตอนเหนือกั้นจังหวัดชุมพร อยู่ด้านตะวันออก กับจังหวัดระนอง อยู่ทางด้านตะวันตก ทางตอนใต้ กั้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ทางด้านฝั่งตะวันออก กับจังหวัดพังงา อยู่ฝั่งตะวันตก ของแหลมมาลายู

 
     
  เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นเทือกเขาตั้งเป็นแกนกลางของคาบสมุทรภาคใต้ ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ แบ่งภาคใต้ออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน เทือกเขานครศรีธรรมราชมียอดเขาที่สำคัญและยอดเขาสูงสุด คือ เขาหลวง อยู่ในเขตอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช สูง 1,835 เมตร  
     
  เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นเทือกเขาทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีภูเขาสลับซับซ้อนกั้นพรมแดน ระหว่าง ประเทศไทย กับ ประเทศมาเลเซีย  
     
     
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th