หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 5 แนวการพัฒนาประเทศไทย  
บทที่ 13 ภูมิศาสตร์ประเทศไทย  
 
 
  การแบ่งเขตภูมิประเทศ  
  ประเทศไทยแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 เขต ได้แก่  
  1. ภาคเหนือ  เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขา  
  2. ภาคกลาง    เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ  
  3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตที่ราบสูง  
  4. ภาคตะวันออก เขตที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบลูกฟูก  
  5. ภาคตะวันตก  เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขา  
  6. ภาคใต้   เขตเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล  
     
  2. ภาคกลาง    เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ มี 22 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม  
     
 

ที่ราบใหญ่ภาคกลาง  มีขนาดกว้าง ประมาณ 50 - 150 กิโลเมตร  ยาวประมาณ 300 กิโลเมตร แบ่งออกได้เป็น 2 ตอนด้วยกันคือ
            1. ที่ราบภาคกลางตอนบน  เป็นพื้นที่ราบ ซึ่งมีลักษณะเป็นลุ่มแอ่งน้อย ๆ ตั้งอยู่ในระหว่างย่านภูเขาทางเหนือ มีทิวเขาถนนธงชัยอยู่ทางด้านทิศตะวันตก และทิวเขาเพชรบูรณ์อยู่ทางด้านทิศตะวันออก  พื้นที่ตอนกลางระหว่างทิวเขาทั้งสองเป็นที่ลุ่ม มีระดับสูงประมาณ 3 - 4 เมตร จากระดับน้ำทะเล  แต่ทางตอนใต้บริเวณ จังหวัดชัยนาท เป็นที่ค่อนข้างดอน มีความสูงประมาณ 18 เมตร จากระดับน้ำทะเล
            2. ที่ราบภาคกลางตอนล่าง  เป็นพื้นที่ราบ ซึ่งมีความลาดจาก จังหวัดชัยนาทลงไปทางใต้ ลงสู่ทะเลที่อ่าวไทยพื้นที่ต่ำสุดอยู่ตอนกลาง ซึ่งเป็นรางของลำน้ำ พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก จะมีความลาดลงมาน้อย ๆ จากแนวเทือกเขา มีระดับสูง 18 เมตร ที่ชัยนาท 4 เมตรที่อยุธยา และ 1.8 เมตรที่กรุงเทพมหานคร


 
     
               ที่ราบภาคกลางตอนล่าง  มีสายน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็เป็นลำน้ำสายสำคัญที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ ไหลผ่านที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ  ส่วนแม่น้ำสายอื่น ๆ ก็มีความสำคัญรองลงไป  แม่น้ำที่สำคัญในภาคกลางได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา ยาวประมาณ 700 กิโลเมตรเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุด นับเป็นเส้นโลหิตใหญ่ของประเทศ  เริ่มต้นจากตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่อยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการกับตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ             
             
  ที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสัก  เป็นที่ราบแคบ ๆ ในภาคกลาง คั่นอยู่ระหว่างที่ราบใหญ่ภาคกลางกับที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบแคบ ๆ และยาวอยู่ระหว่างหุบเขาของเทือกเขาเพชรบูรณ์ กับเทือกเขาเลย
แม่น้ำป่าสัก ยาวประมาณ 450 กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์ ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ไหลผ่านที่ราบในหุบเขาเพชรบูรณ์ ผ่านจังหวัดลพบุรี สระบุรี ไปบรรจบลำน้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดอยุธยา   โดยมี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กั้นลำน้ำ บริเวณ ณ บ้านหนองบัว หมู่ 6 อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และ ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทยด้วยความยาวทั้งสิ้น 4,860 เมตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะตัวเมืองจังหวัดอยุธยา
 
             
 
 
             
  แม่น้ำท่าจีน  มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร  เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียก แม่น้ำนั้นว่า "คลองมะขามเฒ่า" และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกทีตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท เรียกว่า "คลองมะขามเฒ่า"
ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรีเรียกว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี"  ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" และจังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า "แม่น้ำท่าจีน"        
 
             
  แม่น้ำลพบุรี เป็นสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางพุทราบริเวณตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ไหลมาทางตะวันออกผ่านอำเภอพรหมบุรี 
จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก่อนไหลลงไปทางใต้เข้าเขตอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอนครหลวง และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักหน้าตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงจะมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดพนัญเชิง ตำบลหอรัตนไชย อำเภอและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 63 กิโลเมตรี ไหลผ่านจังหวัดลพบุรี แล้วไหลไปบรรจบ แม่น้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดอยุธยา          
 
             
 

แม่น้ำสะแกกรัง ต้นกำเนิดอยู่ในเขตเขาโมโกจูในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา 
ที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร  

 
             
               ที่ราบภาคกลางตอนบน บริเวณตั้งแต่ใต้จังหวัดอุตรดิตลงมาถึงจังหวัดนครสวรรค์ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก rolling plains ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน  ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ราบง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก  
     
               นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิดที่ราบแบบขั้นบันได terraces ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง flood plain ของแม่น้ำปิง ที่ไหลผ่านจังหวัดในภาคกลางตอนบนในเขต จังหวัดกำแพงเพชร แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำน่านที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  
     
  แม่น้ำยม ไหลผ่านจังหวัดในภาคกลางตอนบน ในเขตจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตรไปรวมกับแม่น้ำน่านบริเวณตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน่าน ไหลผ่านจังหวัดในภาคกลางตอนบนในเขต จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร แล้วไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงบริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์  
     
     
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th