หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
การต่างประเทศ
สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
กรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี

พระยาจักรี (แขก)
กะปิตันเหล็ก


พระยาจักรี(ทองด้วง)

พระราชประวัติ  
การปกครอง
เศรษฐกิจ
ศาสนา
ชนชั้นทางสังคม
กวีและวรรณกรรม  
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
 
แบบฝึกหัด
1
2
3
4
5
6
7
เลือกตอบ
พระราชประวัติ
การปกครอง
เศรษฐกิจ
ศาสนา
วัฒนธรรม
กวีวรรณกรรม
การต่างประเทศ
R0-320
R2-420
R0-520
R2-620
R0-321
R2-421
R0-521
R2-621

สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2310 – 2325

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
     ความสัมพันธ์กับจีน
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการค้าขายกับจีน ในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฎว่ามีสำเภาของพ่อค้าจีน เข้ามาติดต่อค้าขายตลอดรัชกาลและทางไทยก็ได้เอาใจใส่ในการทะนุบำรุงการค้าขายทางเรือนี้อย่างมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงส่งสำเภาหลวงออกไปทำการติดต่อค้าขายกับเมืองจีนอยู่เสมอ จึงบับว่าจีนเป็นชาติที่สำคัญที่สุดที่เราติดต่อทางการค้าด้วย ในสมัยกรุงธนบุรี
     ในปี พ.ศ. 2324 สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้ทรงส่งคณะทูตชุดหนึ่ง มี
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช เป็นหัวหน้าคณะออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีน ในแผ่นดินพระเจ้าเกาจงสุนฮ่องเต้ ( พระเจ้ากรุงต้าฉิ่ง ) ณ กรุงปักกิ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อขอให้ทางจีนอำนวยความสะดวก ให้แก่ไทยในการจัดแต่งสำเภาหลวง บรรทุกสินค้าออกไปค้าขายที่เมืองจีนต่อไป โดยขอให้ยกเว้นค่าจังกอบและขอซื้อสิ่งของบางอย่าง เช่น อิฐ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างพระนคร กับขอให้ทางจีนช่วยหาต้นหนสำเภา สำหรับจะแต่งเรือออกไปซื้อทองแดงที่ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาใช้สร้างพระนครเช่นเดียวกัน ปรากฎว่าคณะทูตไทยที่ออกไปเจริญทางพระราชไมตรี กับพระเจ้ากรุงจีนครั้งนี้คุมเรือสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปด้วยถึง 11 ลำ
      ในพระราชสาส์น ที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงมีไปยังพระเจ้ากรุงต้าฉิ่ง ในครั้งนั้นปรากฎในจดหมายเหตุจีนว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงออกพระนามของพระองค์เองเป็นภาษาจีนว่า "
แต้เจียว" มีคำเต็มว่า เสี้ยมหลอก๊กเจียงแต้เจียว
      ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส
การค้าขายกับโปรตุเกส ปรากฎในจดหมายเหตุของบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงธนบุรีครั้งนั้น มีความตอนหนึ่งว่า เมื่อเดือนกันยายน  พ.ศ. 2322 มีเรือ
แขกมัวร์จากเมืองสุรัต ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส เข้ามาค้าขาย ณ กรุงธนบุรีด้วยและว่า ที่ภูเก็ตเวลานั้นมีพวกโปรตุเกสครึ่งชาติอยู่ 2-3 คน อยู่ในความปกครองของบาทหลวงฟรังซิสแกงของโปรตุเกส จึงแสดงว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นเราได้มีการติดต่อค้าขายสมาคมกับชาวโปรตุเกสอยู่บ้าง โดยทางเราได้เคยส่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายยังประเทศอินเดียจนถึงเขตเมืองกัว เมืองสุรัต อันเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสอยู่ในครั้งนั้นด้วยเหมือนกัน แต่ทว่าในตอนนั้นยังมิได้ถึงกับมีการส่งทูตเข้ามาหรือออกไปเจริญทางพระราชไมตรีอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
       ความสัมพันธ์กับอังกฤษ
ในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี บรรดาฝรั่งชาติต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาค้ายขายในเอเชีย มีการแย่งชิงอำนาจกัน ทางการค้าเป็นอันมาก ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงมีความประสงค์ที่จะได้สถานที่ตั้งสำหรับทำการค้าขาย แข่งกับพวกฮอลันดา ทางด้านแหลมมลายูสักแห่งหนึ่ง อังกฤษเห็นว่า
เกาะหมาก (ปีนัง) มีความเหมาะสม จึงได้พยายามเจรจาเกลี้ยกล่อมกับพระยาไทรบุรี ผู้มีอำนาจปกครองเกาะนี้อยู่เพื่อจะขอเช่า ในปี พ.ศ. 2319 กะปิตันเหล็ก (ฟรานซิสไลท์) เจ้าเมืองเกาะหมาก ได้ส่งปืนนกสับเข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน จำนวน 1,400 กระบอก พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ
       ความสัมพันธ์กับพม่า
ส่วนใหญ่ไทยกับพม่าจะทำสงครามกันเกือบตลอดรัชกาลในสมัยกรุงธนบุรีดังนี้

          พ.ศ. 2310    รบกับพม่าค่ายโพธิ์สามต้นพระเจ้าตากสิน กอบกู้เอกราช

          พ.ศ. 2310    รบกับพม่าในศึกบางกุ้ง สมุทรสงคราม ไทยเป็นฝ่ายชนะ
          พ.ศ. 2314    ไทยยกทัพไปตีพม่า ที่เชียงใหม่ครั้งที่ 1 แต่ไม่สามารถตีได้
          พ.ศ. 2315    พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 กองทัพพม่าจากเชียงใหม่ยกมาตีเมืองพิชัย เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปช่วย พม่าเป็นฝ่ายแพ้
          พ.ศ. 2316    พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 เกิดวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก พม่าแพ้สงคราม
          พ.ศ. 2317    ไทยตีเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้หัวเมืองลานนาเป็นเมืองขึ้นของไทยทั้งหมด พม่าหนีจากเชียงใหม่ไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเชียงแสน
          พ.ศ. 2317    ไทยรบพม่า (ศึกบางแก้ว ) ราชบุรี ไทยเป็นฝ่ายชนะ
          พ.ศ. 2318    พม่า ให้โปสุพลาและโปมะยุง่วนตีเชียงใหม่คืนแต่ไม่สำเร็จ
          พ.ศ. 2318    เกิดศึกอะแซหวุ่นกี้ ศึกหนักที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี ไทยต้องยอมทิ้งเมืองพิษณุโลก
          พ.ศ. 2319    สงครามป้องกันเมืองเชียงใหม่ โดยพระเจ้าจิงกูจา กษัตริย์พม่าส่งกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่
พระยาวิเชียรปราการ (เจ้าเมืองเชียงใหม่)ทิ้งเมืองหนีมากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรด ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ฯยกทัพไปสมทบกับพระยากาวิละ เจ้าเมืองลำปาง ตีเชียงใหม่กลับคืนมาได้ แต่ไทยทิ้งเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง นาน 15 ปี
       
ความสัมพันธ์กับลาว
          พ.ศ. 2319    ไทยตีเมืองจำปาศักดิ์
สาเหตุเพราะ
เจ้าเมืองนางรอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมาเอาใจออกห่าง โดยเอาเมืองนางรองไปขึ้นกับ เจ้าโอ แห่งเมืองจำปาศักดิ์ พระเจ้าตากสิน ถือว่าเป็นการนำดินแดนของไทยไปให้กับลาว จึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) เป็นแม่ทัพยกไปปราบ เจ้าพระยาจักรีทราบว่า เจ้าโอแห่งนครจำปาศักดิ์ เตรียมยกทัพมาช่วยเหลือเมืองนางรอง จึงขอกองทัพหลวงมาช่วย พระเจ้าตากสิน โปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปช่วย สามารถตีเมืองจำปาศักดิ์ได้ เจ้าโอสู้ไม่ได้หนีไปอยู่เมืองสีทันดร ส่วนเจ้าอิน อุปราชหนีไปอยู่เมืองอัตปือ ไทยสามารถจับตัวได้ทั้งสองคนแล้วประหารชีวิตเสีย จากชัยชนะในครั้งนี้ทำให้ไทยได้ดินแดนเพิ่มขึ้นอีกหลายเมือง อาทิ เมืองนางรอง เขมรป่าดง (แถบเมืองสุรินทร์ สังขะ ขุขันธ์) และเมืองจำปาศักดิ์ พระเจ้าตากสินจึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมา ทุกนคราระอาเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์      
          พ.ศ. 2321
    ไทยตีเมืองเวียงจันทน์
สาเหตุมาจากเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ชื่อ
พระวอ ทะเลาะกับเจ้าสิริบุญสาร เจ้าเมืองเวียงจันทน์ พระวอสู้ไม่ได้จึงหนีมาอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ภายหลังได้เข้ามาอยู่ ณ ตำบลดอนมดแดง เมืองอุบลราชธานี และขอสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสิน เมื่อเจ้าสิริบุญสารทราบข่าว ได้สั่งให้พระยาสุโพ มาจับพระวอฆ่าเสีย พระเจ้าตากสินเห็นว่า ลาวได้ละเมิดอธิปไตยของไทย จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ และเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ขณะที่ไทยล้อมเมืองเวียงจันทน์อยู เจ้าร่มขาว แห่งหลวงพระบางได้มาสวามิภักดิ์ ช่วยไทยตีเมืองเวียงจันทน์นาน 4 เดือนจึงสำเร็จ ไทยจึงได้เมืองเวียงจ้นทน์และหลวงพระบาง เป็นประเทศราช เสร็จจากสงครามในครั้งนี้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ได้อัญเชิญ พระแก้วมรกต มาประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) หรือวัดพระแก้วในสมัยกรุงธนบุรี
       ความสัมพันธ์กับเขมร

           พ.ศ. 2312
เมื่อพระเจ้าตากสินสามารถกอบกู้เอกราชได้แล้ว หลังจากปราบชุมนุมเจ้าพิมายได้แล้ว พระเจ้าตากสินได้ทรงแจ้งให้ทางเขมรกลับมาสวามิภักดิ์ตามเดิมแต่เขมรปฏิเสธ พระเจ้าตากสินจึงโปรดให้ พระยาอภัยรณฤทธิ์(ทองด้วง) กับ พระยาอนุชิตราชา(บุญมา) เป็นแม่ทัพไปตีเขมร สามารถตีได้เมืองเสียมราฐและพระตะบองสองเมือง ก็ยกทัพกลับเพราะได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าตากสินสวรรคต ณ เมืองนครศรีธรรมราช แต่เป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น

      
   พ.ศ. 2314
เนื่องจากเขมรชอบซ้ำเติมไทย เมื่อไทยมีศึกสงครามทางด้านอื่นเขมรถือโอกาสยกทัพมาตีเมืองตราดและจันทบุรี แต่ไทยสามารถป้องกันไว้ได้ หลังจากไทยเสร็จศึกจากเชียงใหม่ พ.ศ. 2314 พระเจ้าตากสิน ทรงไม่พอพระทัย เขมรเป็นอย่างมาก จึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง)เป็นแม่ทัพบก ส่วนกองทัพเรือ โปรดให้พระยาโกษาธิบดีเป็นทัพหน้า พระองค์เองเป็นทัพหลวงยกไปตีเขมรตีได้หลายเมืองรวมทั้ง เมืองบันทายเพชร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขมรในเวลานั้น ในที่สุดเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงธนบุรี ไทยแต่งตั้งให้นักองนนท์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระรามราชาครองกรุงกัมพูชา โปรดให้
นักองธรรม เป็น อุปราช และแต่งตั้งนักองตน เป็น อุปโยราชหลังจากที่กลับมาสวามิภักดิ์ต่อไทยซึ่งแต่เดิม นักองตนเป็นกษัตริย์ครองกรุงกัมพูชามีพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์ราชา แต่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับนักองนนท์ นักองตน
(สมเด็จพระนารายณ์ราชา) ไปขอกำลังจากญวนมาช่วย นักองนนท์สู้ไม่ได้จึงหนีมาไทย เมื่อไทยตีเขมรได้จึงแจ่งตั้ง นักองนนท์ขึ้นเป็นกษัตริย์ นามว่า สมเด็จพระรามราชา
       
   พ.ศ. 2324
ตอนปลายรัชกาล ในปี พ.ศ. 2323 เขมรเกิดจลาจล นักองธรรม พระมหาอุปราช ถูกลอบฆ่า และ นักองตน พระมหาอุปโยราช ก็สิ้นชีพอีก บรรดาขุนนางของเขมรที่เป็นพรรคพวกของ นักองตน เข้าใจว่า การตายของนักองธรรมและนักองตน ผู้บงการให้ฆ่าคือสมเด็จพระรามราชา ขุนนางเขมรจึงก่อการกบฏขึ้น โดยจับสมเด็จพระรามราชา ถ่วงน้ำ แล้วอัญเชิญให้
นักองเอง โอรสของ นักองตน (สมเด็จพระนารายณ์ราชา ) ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษาขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยมี ฟ้าทะละหะ(มู) ขุนนางผู้ใหญ่เป็นผู้สำเร็จราชการ โดยฟ้าทะละ(มู) ผู้นี้ฝักใฝ่ญวน ด้วยหวังพึ่งอิทธิพลของญวน สนับสนุนให้ตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงกัมพูชาต่อไปสมเด็จพระเจ้าตากสิน เห็นว่าถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไป ไทยจะต้องสูญเสียเขมรไป ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงโปรดให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช เป็นทัพหน้า และ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์เป็นกองหนุน ยกไปตีเขมร ถ้าตีได้ ทรงมีรับสั่ง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ให้สถาปนา เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เป็นกษัตริย์ครองกรุงกัมพูชาต่อไป แต่เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อนอันเนื่องมาจากพระยาสรรค์เป็นกบฏ ไทยจึงไม่สามารถตีเขมรได้ ต้องยกทัพกลับมา ปราบยุกเข็ญในกรุงธนบุรีเสียก่อน เมื่อกลับมาถึงกรุงธนบุรี 6 เมษายน 2325 ได้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ็ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เป็นอันสิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรี
    


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th