หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ศาสนา
สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
กรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี
พระแก้วมรกต

 


วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)


สมเด็จพระเจ้าตากสิน

พระราชประวัติ  
การปกครอง
เศรษฐกิจ
ศาสนา  
ชนชั้น  
กวีและวรรณกรรม  
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
 
แบบฝึกหัด
1
2
3
4
5
6
7
เลือกตอบ
พระราชประวัติ
การปกครอง
เศรษฐกิจ
ศาสนา
วัฒนธรรม
กวีวรรณกรรม
การต่างประเทศ
R0-320
R2-420
R0-520
R2-620
R0-321
R2-421
R0-521
R2-621

สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2310 – 2325

ศาสนา
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรีในระยะเวลา 15 ปี มีดังนี้
1. การจัดระเบียบสังฆมณฑล
2. การรวบรวมพระไตรปิฎก
3. การบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
4. การอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในราชอาณาจักร
        
การจัดระเบียบสังฆมณฑล
หลังจากการสถาปนาราชธานีแล้ว ในปี พ.ศ. 2311ก็โปรดให้จัดระเบียบสังฆมณฑล โดยเสาะหาพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ นิมนต์มาประชุมกัน ณ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) เพื่อเลือกตั้งพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีพรรษาและทรงคุณธรรม แล้วแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ประมุขฝ่ายสงฆ์ เพื่อจัดการปกครองในสังฆมณฑลต่อไป และโปรดแต่งตั้งพระเถระใหญ่น้อยตามลำดับสมณศักดิ์ แล้วนิมนต์ไปจำพรรษาตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในกรุงธนบุรี ทำหน้าที่บังคับบัญชาพระสงฆ์และสามเณร ในวัดฝ่ายคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
        การรวบรวมพระไตรปิฎก
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ 7 เมษายน 2310 วัดวาอารามบ้านเมืองถูกพม่าเผา พระคัมภีร์ พระไตรปิฎก และตำราต่าง ๆ ก็ถูกเผา และสูญหายเป็นอันมาก หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ก็โปรดให้สืบเสาะแสวงหาพระไตรปิฎกตามหัวเมืองต่าง ๆ แล้วนำมาคัดลอกไว้เพื่อชำระพระไตรปิฎกต่อไป อาทิ ในครั้งเมื่อยกทัพไปปราบชุมนุมนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2312 เมื่อเสร็จศึกแล้วก็โปรดให้ยืมพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกลงเรือเพื่อนำมาคัดลอกเก็บไว้  ณ กรุงธนบุรี และในครั้งที่ยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313 ก็โปรดให้นำพระไตรปิฎกจากวัดมหาธาตุ เมืองฝาง อุตรดิตถ์ เพื่อใช้ในการสอบทานกับต้นฉบับที่ได้มาจากนครศรีธรรมราช แต่การรวบรวมพระไตรปิฎกยังไม่เรียบร้อยก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
        การบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
โปรดให้บรรดาขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ราษฎร ร่วมกันสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร เจดีย์ กุฏิ รวมหลายพระอาราม หมดพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมาก วัดที่โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์มีดังนี้
วัดบางยี่เรือใต้(วัดอินทาราม)  วัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆังโฆสิตาราม)  วัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม)  วัดบางยี่เรือเหนือ(วัดราชคฤห์)  
วัดหงส์อาวาส(วัดหงส์รัตนาราม)

        วัดที่สำคัญในรัชกาลนี้คือ วัดอินทาราม
(วัดบางยี่เรือใต้หรือวัดบางยี่เรือนอก) สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเอาใจใส่ ทั่วพระอาราม และโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษซึ่งเป็นวัดฝ่ายวิปัสสนาธุระ
        วัดหงส์อาวาส บูรณะแล้วยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกฝ่ายการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม  
        วัดแจ้ง เป็นวัดในเขตพุทธาวาส เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เมื่อครั้งเสร็จศึกเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญ พระแก้วมรกต มาประดิษฐาน ณ วัดแจ้งแห่งนี้ วัดนี้จึงเรียกว่าวัดพระแก้วในสมัยกรุงธนบุรี
         
การอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในราชอาณาจักร
พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของไทย เดิมตามประวัติการพบครั้งแรก ณ เมืองเชียงราย ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเวียงจันทน์ ได้ชัยชนะแล้วได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบาง มายังกรุงธนบุรี โดยประดิษฐาน ณ วัดแจ้ง โดยมีพระราชดำริจะสร้างปราสาทถวายแต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th