หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
สมัยกรุงธนบุรี | สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
กรุงธนบุรี |
สมัยกรุงธนบุรี | สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี |
ตราแผ่นดินเป็นรูปจักรห้าแฉกระหว่างแฉกมีจุดซึ่งต่าง
ออกไปจาก ตราแผ่นดิน สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งส่วนมากเป็น แปดจุด ล้อมจุดกลาง
สำหรับตราประจำ รัชกาลเป็นรูป ซ่อมสองง่ามปลายด้ามซ่อม มีจุดรูปร่างลักษณะของเงินพดด้วง
เหมือนกับเงินพดด้วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา คือขาสั้นปลายขา อยู่ห่างกัน
ไม่มีช่องระหว่างขา ไม่มีรอยบาทและมีรอยค้อนกลมข้างลงหนึ่งรอย |
|
พระราชประวัติ | |||
การปกครอง | |||
เศรษฐกิจ | |||
ศาสนา | |||
ชนชั้นทางสังคม | |||
กวีและวรรณกรรม | |||
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ | |||
แบบฝึกหัด |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
เลือกตอบ |
พระราชประวัติ |
การปกครอง |
เศรษฐกิจ |
ศาสนา |
วัฒนธรรม |
กวีวรรณกรรม |
การต่างประเทศ |
R0-320 |
R2-420 |
R0-520 |
R2-620 |
||||
R0-321 |
R2-421 |
R0-521 |
R2-621 |
สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2310 2325 กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าเข้ารื้อเผาทำลายเมือง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ 2310 พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ขุนนางและไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดิน ถูกจับเป็นเชลยกลับไปเมืองพม่า ราชอาณาจักรอยุธยาที่เคยรุ่งเรืองที่สุด ในภูมิภาคก็ล่มสลาย ทุกหัวระแหงมีกลุ่มโจรปล้นสะดม มีการรวบรวมช่องสุมผู้คนตั้งเป็นชุมนุมเพื่อป้องกันตัวเองและพวกพ้อง อันที่จริงสภาวการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นก่อนเวลา กรุงศรีอยุธยา จะแตกเสียอีก เพราะในช่วงเวลานั้น ทุกคนต่างตระหนักถึงความล่มสลายของระบบป้องกันตนเองของราชอาณาจักรแล้ว ดังจะเห็นภาพได้จากตำนาน เรื่องชาวบ้านบางระจันที่รวมตัวกันปกป้องชุมชนของตน ข้าราชการไม่มีความคิดที่จะต่อสู้เพื่อป้องกัน กรุงศรีอยุธยา ขุนนางหัวเมืองที่ถูกเรียกเข้ามาป้องกันพระนคร ก็พยายามหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อกลับไปป้องกันบ้านเมืองและครอบครัวของตนที่อยู่ตามหัวเมือง เนื่องจากทุกคนเห็นว่า พระนครศรีอยุธยาต้องเสียเอกราชอย่างแน่นอน ในช่วงเวลานั้น ทุกคนจึงคิดแต่จะหาทางเอาตัวรอดไว้ก่อน แม้แต่พลเมือง ในพระนครศรีอยุธยา ที่ถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่ จนขาดแคลนเสบียงอาหาร ก็มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้แอบหลบหนีออกจากพระนครเข้าไปอยู่กับกองทัพพม่า เพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พม่าได้เข้าเมืองกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินกลับไปเมืองพม่า โดยแต่งตั้งให้สุกี้นายทหารพม่าเชื้อสายมอญเป็นพระนายกองอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ให้คอยรวบรวมทรัพย์สินและผู้คน ที่อาจมีประโยชน์อยู่บ้าง เพื่อส่งกลับไปเมืองพม่า ภายในราชอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการจลวจลวุ่นวายไปทั่ว มีการซ่องสุมผู้คนเพื่อปล้นสะดมและป้องกันตนเองอยู่ทั่วไป แต่ที่สำคัญมี 5 ชุมนุมดังนี้คือ 1. เมืองพระฝาง คือกลุ่มชาวบ้านที่มีหัวหน้าชื่อ เรือน ซึ่งในอดีตเป็นพระภิกษุ ชั้นราชาคณะ ของ เมืองเหนือ เรียกว่า สังฆราชเรือน ได้สึกออกมาและรวบรวมผู้คนซ่องสุมกำลังป้องกันตนเอง อยู่ที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองชายแดนเหนือสุดตามลำแม่น้ำน่านของกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองที่มีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งเมืองฝางยังเป็นดินแดนของแคว้นสุโขทัย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เมืองพิษณุโลก ซึ่งเคยเป็นหัวเมืองทางเหนือที่สำคัญของอยุธยา และเคยเป็นเมืองสำคัญของสุโขทัย มาก่อน เจ้าเมืองพิษณุโลก ( เรือง ) ได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และรวบรวมบ้านเมืองที่เคยเป็นเมืองทางเหนือ ของอยุธยาไว้ด้วยกันแต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ จึงมีอำนาจอยู่เฉพาะที่เมืองพิษณุโลกเท่านั้น 3. เมืองพิมาย มีเจ้าพิมายรวบรวมผู้คนในละแวกเมืองพิมาย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้คนมาก เนื่องจากเป็น ดินแดนของการตั้งรกรากที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม และเป็นบ้านเมืองที่เจริญมาตั้งแต่ราชอาราจักรขอมกัมพูชา กรมหมื่นเทพพิพิธ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของราชสำนักอยุธยาได้หนีมาอยู่กับเจ้าพิมายด้วย แต่อำนาจทั้งหลายยังคงอยู่ที่เจ้าพิมายซึ่งมีฐานกำลังของคนพื้นเมืองพวกเดียวกัน 4. เมืองนครศรีธรรมราช เมืองใหญ่บนดินแดนแหลมมลายูของราชอาณาจักรอยุธยาเดิมและเคยเป็นเมืองสำคัญแต่โบราณ ที่ถูกอยุธยาผนวกดินแดนไว้ตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชชื่อหนูตั้งตัวเป็นใหญ่ หัวเมืองอื่นๆ ตั้งแต่ใต้เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป อาทิเช่นเมืองสงขลา เมืองพัทลุง ต่างก็ยอมรับอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ( หนู ) แต่โดยดี 5. เมืองจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตการรุกรานของกองทัพพม่าที่เข้ามาทำสงครามครั้งนี้ หัวหน้าคือพระยาตาก ( สิน ) ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระเจ้าตากสินมหาราช ขุนนางหัวเมืองเหนือของกรุงศรีอยุธยาที่ถูกเรียกมาช่วยป้องกัน พระนครศรีอยุธยา ได้นำทหารหัวเมืองที่ติดตามมาด้วยกันประมาณ 500 กว่าคน ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมาได้ และมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนจากบ้านเมืองแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกตั้งแต่ระยองลงไป บ้านเมืองที่แตกแยกตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าตีแตกนั้น มิใช่แต่ เพียงตัวพระนครที่ถูกเผาผลาญย่อยยับอย่างเดียว แต่ระบบที่ยึดโยงบ้านเมืองต่างๆ เข้าไว้ในอาณาจักรเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันนั้นก็ได้แตกสลายไปด้วย ก๊กเหล่าที่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันเหล่านี้ จึงกลับไปมีสภาพเหมือนกับแว่นแคว้นเมืองเล็กเมืองน้อย ที่ก่อตั้ง ขึ้นมาใหม่และออกปล้นสะดมต่อสู้กัน โดยมีลักษณะภายในที่แตกต่างกันออกไป บางก๊กก็มีลักษณะของการรวมตัวโดยใช้อำนาจศักดิ์สิทธิ์เป็นพื้นฐาน บางก๊กมีลักษณะที่ตั้งอยู่บนระบบเดิม ภายในที่ยังหลงเหลืออยู่ในท้องถิ่น แม้ว่าก๊กพิมายจะมีเจ้านายราชวงศ์เดิมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นมูลฐานแห่งการรวมตัว กล่าวคือแต่ละหมู่เหล่า ที่ตั้งตัวเป็นอิสระนั้น มีลักษณะเพื่อป้องกันตนเองในเบื้องแรก และพัฒนาไปสู่การจัดตั้งอำนาจรัฐใหม่เฉพาะท้องถิ่นของตน ไม่ปรากฎหลักฐาน ที่แสดงบทบาทหรือพฤติกรรมของก๊กใดเลย ที่ต้องการจะพลิกฟื้นอยุธยาขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเห็นว่าได้กลายเป็นเมืองเก่าที่ไร้ประโยชน์แล้ว มีแต่ก๊กที่เมืองจันทบุรีของพระยาตากสิน เพียง ก๊กเดียวเท่านั้น ที่แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจน ตั้งแต่เริ่มแรกในการที่จะกลับมาพลิกฟื้นพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เมื่อกองทัพพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยานั้นพระยาตากสินซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากถูกเรียกระดมพลเข้ามาป้องกันพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ 2308 พระยาตากสินได้สู้รบกับกองทัพพม่าและได้รับชัยชนะหลายครั้ง ดังที่ได้กล่าวแล้ว ถึงความเสื่อมโทรม ภายในราชอาณาจักรหลายประการ ที่ทำให้พระยาตากสินเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาไม่สามารถที่จะรอดพ้นเงื้อมมือกองทัพพม่าอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนเวลาที่กรุงศรีอยุธยา จะเสียเอกราชแก่พม่าประมาณ สามเดือน พระยาตากสินพร้อมกับนายทหารหัวเมืองที่ร่วมรบมาด้วยกันประมาณ 500 คน ได้ยกกำลังตีฝ่าทัพพม่าไปทางทิศตะวันออก มุ่งหน้าไปสู่หัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกซึ่งกองทัพพม่าไม่สามารถเข้าไปรุกรานได้ ในที่สุด เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว กองกำลังของพระยาตากสินก็ยึดเมืองจันทบุรีเป็นที่ตั้งและรวบรวมกำลังผู้คนจากเมืองใกล้เคียง ทั้งโดยวิธีเกลี้ยกล่อม และการใช้กำลังเข้าปราบปราม ในช่วงเวลานั้น มีข้าราชการกรุงศรีอยุธยาได้เข้ามาร่วมด้วย คนสำคัญ คือ นายสุดจินดา(บุญมา) มหาดเล็กหุ้มแพร ซึ่งภายหลังคือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อพระยาตากสินสามารถรวบรวมกำลังคน สะสมอาวุธ และต่อเรือ ที่เมืองจันทบุรีได้มากพอแล้ว เมื่อสิ้นฤดูฝน จึงได้ยกกองทัพไปยังอยุธยา และรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ที่มีสุกี้คุมกำลังอยู่ได้ สุกี้ตายในที่รบ พระยาตากสินจึงยึดกรุงศรีอยุธยาที่เหลือแต่ซากปรักหักพังคืนมาได้ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาตกเป็นของพม่านาน 7 เดือน พระยาตากสินเห็นว่า ยังไม่มีกำลังเพียงพอที่จะบูรณะ และรักษาเมืองหลวงเก่าแห่งนี้ได้ จึงรวบรวมผู้คนกลับไปตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี พระยาตากสินทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษาทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 อันเป็นการ แสดงเจตนารมณ์สืบพระสมมติวงศ์แห่งกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา โดยพระนาม แต่คนทั่วไปนิยมขนานนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก่อนเข้ารับราชการนั้น ค่อนข้างคลุมเครือส่วนมากที่ทราบกันอยู่นั้น เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นในภายหลังโดยปราศจากหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะการเขียนพระราชประวัติ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในสมัยนั้น เพื่อมุ่งเทิดพระเกียรติพระองค์เป็นสำคัญ มิได้มีแนวคิดเพื่อการเสนอข้อเท็จจริงเหมือนเช่นในปัจจุบัน ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้นำเสนอประกอบการวิเคราะห์ในหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงมีเพียงว่า พระองค์มีพระนามเดิมว่า สิน ทรงมีเชื้อสายทางบิดา เป็นจีนแต้จิ๋ว แซ่แต้ ทรงพระราชสมภพ เมื่อ พ.ศ 2277 ในต้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก่อนเข้ารับราชการ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีอาชีพเป็นพ่อค้าเกวียน คือมีกองเกวียนบรรทุกสินค้า ขึ้นไปแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่เมืองตาก(เมืองระแหง) ซึ่งเป็นเมืองชายเขตขนาดเล็กของอยุธยา พระองค์อาจจะคุมกองเกวียน ติดต่อกับเมืองชายเขตแถบเมืองเหนือ เช่น พิษณุโลก พิชัย ฝาง ด้วย ดังนั้น พระองค์จึงเข้าใจภูมิประเทศและฤดูกาลของบ้านเมืองในถิ่นนั้นได้เป็นอย่างดี การค้าระหว่างเมืองชายเขตกับส่วนกลางที่กรุงศรีอยุธยา ช่วยสร้างความมั่งคั่ง ให้แก่พระองค์จนทำให้สามารถเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกับขุนนางชั้นสูงในส่วนกลาง ดังนั้นเมื่อเมืองตากซึ่งเป็นเมืองชายเขตขนาดเล็ก และไม่ค่อยมีความสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงในราชสำนัก ขาดเจ้าเมืองเพราะเจ้าเมืองคนเก่าถึงแก่กรรม เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีระบบขุนนางที่ล้มเหลว พระเจ้าตากสินซึ่งเป็นพ่อค้า ที่สามารถเข้าถึงวงในของระบบราชการของกรุงศรีอยุธยาได้ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตาก โดยที่การเป็นเจ้าเมืองตากสามารถอำนวยผลประโยชน์ให้แก่การค้าของพระองค์ได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นเจ้าเมืองตากอยู่ไม่นานก็เกิดสงครามพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร ในฐานะเจ้าเมืองตาก พระองค์พร้อมกับทหารจำนวน 500 คน จึงเข้ามา เป็นกองกำลังป้องกันพระนครอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง แต่หลังจากเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาคงไปไม่รอดจากเงื้อมมือ กองทัพพม่าแน่นอนแล้ว พระองค์พร้อมไพร่พลคู่พระทัยทั้ง 500 คนก็ได้ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกไปตั้งหลักเพื่อต่อสู้กับพม่า เมื่อได้ปราบดาภิเษกเสวยราชราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พยายามสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กลับคืน มาสู่ราชอาณาจักรสยามที่ย้ายมาตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยทรงปราบปรามเมืองต่าง ๆ ให้ยอมรับพระราชอำนาจของพระองค์ ซึ่งบางเมืองต้องใช้กำลัง บางเมืองก็สามารถเกลี้ยกล่อมจนยอมสวามิภักดิ์ จนกระทั่ง พ.ศ 2313 เมื่อพระองค์สามารถปราบก๊กของพระเจ้าฝางได้เป็นก๊กสุดท้าย เป็นอันว่าพระองค์สามารถรวบรวมอาณาเขตของกรุงศรีอยุธยากลับมาได้ดังเดิม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงธนบุรี เมืองหลวงแห่งใหม่ของราชอาราจักรสยาม นอกจากการรวมอาณาเขตบ้านเมือง ให้กลับคืนมาเป็นปึกแผ่นดังเดิมแล้วพระองค์ก็ได้ส่ง กองทัพไป ปราบปรามเมืองประเทศราชอื่น ๆ คือ เขมร ลาว ให้เข้ามาอยู่ในพระราชอำนาจอย่างที่เคยเป็น ในสมัยอยุธยา ยิ่งไปกว่านั้น แคว้นล้านนา ที่พระมหากษัตริย์อยุธยาไม่เคยได้เข้าครอบครองอย่างถาวร นอกจากยกทัพไปเอาชนะ ได้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อยกทัพกลับ เจ้าเมืองทั้งหลายของล้านนาก็กลับเป็นอิสระปกครองตนเองกันต่อไป ในสมัยธนบุรีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้สนับสนุนชาวล้านนาตระกูลหนานทิพย์ช้าง ให้ต่อสู้ขับไล่พม่าออกจากดินแดน ล้านนา จึงเป็นดินแดน ที่เข้ารวมอยู่กับกรุงธนบุรี ตลอดระยะเวลา 15 ปี แห่งการเสวยราชสมบัติที่กรุงธนบุรีนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องทรงตรากตรำอย่างมากต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่เพิ่งฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ การที่ทรงมีชาติกำเนิดจากครอบครัวพ่อค้า อีกทั้งเมื่อรับราชการก็เป็นเพียงเจ้าเมืองขนาดเล็ก และได้เข้ามากรุงศรีอยุธยาก็ต่อเมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขันแล้ว ดังนั้นเมื่อต้องทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สืบสมมติวงศ์ แห่งราชอาณาจักรสยาม จึงสร้างความลำบากพระทัยให้แก่พระองค์อยู่มิใช่น้อยการที่ทรงประสบความสำเร็จ จากการรบหรือการที่ทรงพยายามฟื้นฟู เศรษฐกิจของบ้านเมือง จนราชสำนักจีนยอมรับการเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์และให้มีการติดต่อค้าขายด้วยหรือการที่ทรงเป็นพุทธมามกะ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ก็มิได้ทำให้สถานภาพการเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยามของพระองค์มีความสมบูรณ์ได้เลย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะพระองค์ไม่ได้มีเชื้อสายของพระราชวงศ์หรือขุนนางแห่งราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ช่่วยส่งเสริมอำนาจให้แก่พระองค์ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ได้นั้น ก็ล้วนเป็นทหารและขุนนางหัวเมืองทั้งสิ้น แม้เมื่อภายหลังจะมีขุนนางจากอดีตราชสำนักส่วนกลางกรุงศรีอยุธยามาเข้าร่วมกับพระองค์ เพื่อช่วยฟื้นฟูบ้านเมืองและจารีตราชประเพณีทั้งหลายบ้างก็ตาม ระยะเวลาที่ไม่อำนวยก็คงไม่สามารถสร้างความเป็นสถาบันให้แก่ พระองค์ได้ พระองค์เอง ก็อาจมองไม่เห็นความสำคัญในด้านนี้หรือทรงมองแตกต่างออกไปด้วยก็ได้ ดังจะเห็นได้จากขอบเขตพระราชฐานเล็ก ๆ ที่พระราชวังเดิมของพระองค์ ท้องพระโรงขนาดเล็กเป็นอาคารโถงธรรมดา มิได้มียอดปราสาทแสดงความยิ่งใหญ่แห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาหรือแม้แต่จะเทียบกับกรุงรัตนโกสินทร์ ์เมื่อแรกสถาปนาภายหลังพระตำหนักที่ประทับก็เป็นเพียงเก๋งจีนเล็ก ๆ ทึบและคับแคบอีกทั้งพระราชจริยวัตรของพระองค์ ที่ทรง เปิดเผยอาจจะเป็นลักษณะของผู้ที่มาจากครอบครัวชาวจีนที่สมถะก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงปรากฎหลักฐานที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของพระองค์ต่ออาณาประชาราษฎร์และขุนนางทั้งหลายว่า ทรงประพฤติปฏิบัติเยี่ยงพ่อกับลูก แต่การเป็นพ่อของพระองค์นั้น ทรงเป็นพ่อตามแบบฉบับชาวจีนที่ลูกจะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดในขณะที่ความเป็นลูกของขุนนางทั้งหลายนั้น มิใช่ลูกอย่างที่เป็นในครอบครัวชาวจีน พฤติกรรมของพระองค์ที่แตกต่าง ไปจากราชประเพณีของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาที่เคยมีมา ในขณะที่พระราชอำนาจแห่งความเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ ของพระองค ์ยังไม่สมบูรณ์ย่อมเป็นความเปราะบางแห่งราชบัลลังก์ ดังจะเห็นได้จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงปลายรัชกาลที่กล่าวว่า พระองค์ทรงเสียพระสติ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข่าวเพื่อทำลายพระองค์หรือทรงเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ก็ตาม แต้มูลเหตุที่มาย่อมมาจากพฤติกรรม ของพระองค์ ที่แตกต่าง ไปจากขนบธรรมเนียมราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ที่สืบมาแต่ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาเป็นสำคัญ ข่าวเรื่องการวิกลจริตของพระองค์แพร่ออกมาได้ โดยไม้มีผู้ใดออกมาปกป้องเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า พระองค์ขาดบุคคลที่ใกล้ชิดซึ่งมีอำนาจ และสามารถไว้ใจได้ แตกต่างจากบุคคลใกล้ชิดของพระมหากษัตริย์ในอดีตที่ผ่านมา จะเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนมากจะเป็นญาติพี่น้อง ของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นปัจจัย ที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องสูญเสียอำนาจและถูกปลงพระชนม์ ในที่สุด เมื่อ พ.ศ 2325 ซึ่งถือกันว่า พระองค์ทรงหมดบุญญาธิการแล้วตามแนวคิดของคน ในสมัยนั้น กรุงธนบุรีที่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพียงพระองค์เดียวตลอดระยะเวลา 15 ปี จึงได้สิ้นสุดลง ผังการปกครองสมัยกรุงธนบุรี
ลำดับเหตุการณ์ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2277 สมเด็จพระเจ้าตากสินสมภพ พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 1096 ตรงกับ วันที่ 7 เมษายน 2277 พ.ศ. 2309 14 กันยายน 2309 กองทัพม่าเข้าประชิดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 3 มกราคม 2310 พระยาวชิรปราการ นำกำลังตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา 7 เมษายน 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า 14 มิถุนายน 2310 พระยาวชิรปราการตีเมืองจันทบุรีได้ 5 พฤศจิกายน 2310 พระยาวชิรปราการตีเมืองธนบุรีได้ พระเจ้าตากสินกู้ชาติได้สำเร็จ เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2310 สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี รบกับพม่าในศึกบางกุ้ง สมุทรสงคราม ไทยเป็นฝ่ายชนะ พ.ศ. 2311 เดือนสิงหาคม 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงส่งทูตนำพระราชสาส์นไปเมืองจีนพร้อมเครื่องราชบรรณาการ แต่จีนไม่ยอมรับฐานะของพระองค์ เพราะไม่ใช่เชื้อพระวงศ์เก่า เดือนพฤศจิกายน ปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นชุมนุมแรกแต่ไม่สำเร็จเพราะพระเจ้าตากสินถูกข้าศึกใช้ปืนยิง ถูกที่พระชงฆ์ (แข้ง)กลับมารักษาตัวหายแล้วยกทัพไปปราบชุมนุมพิมายได้สำเร็จเป็นชุมนุมแรกแล้วประหารชีวิตกรมหมื่นเทพพิพิธ เพราะกระด้างกระเดื่อง โปรดให้พระราชวรินทร์ขึ้นเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ และโปรดให้พระมหามนตรีเป็นพระยาอนุชิตราชา จัดระเบียบสังฆมณฑล ณ วัดบางหว้าใหญ่ ( วัดระฆังโฆสิตาราม ) 28 ธันวาคม 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินปราบดาภิเษกเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ พ.ศ. 2312 ปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชได้สำเร็จ แล้วโปรดให้พระเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริยวงศ์ครอง นครศรีธรรมราชและนำตัวเจ้านคร มารับราชการที่กรุงธนบุรี โปรดให้พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชาไปตีเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดข่าวลือว่าพระเจ้าตากสินสวรรคตที่นครศรีธรรมราช พ.ศ 2313 พระเจ้าตากสินพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โปรดให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ ( ทองด้วง )และพระยาอนุชิตราชา ( บุญมา ) ปราบชุมนุมเจ้า พระฝางได้สำเร็จ พ.ศ. 2314 ยกทัพไปตีพระตะบอง โพธิสัตว์ บันทายเพชร กำปงโสม บันทายมาศ พนมเปญ ได้ เขมร มาเป็นเมืองขึ้น โปรดให้นักองค์นนท์เป็นกษัตริย์พระนามว่า สมเด็จพระรามราชา สมเด็จพระนารายณ์ราชา ( นักองค์ตน )เป็นพระมหาอุปโยราช นักองค์ธรรมเป็นมหาอุปราช นายสวนมหาดเล็กแต่งโคลงยอพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพไปตีเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 แต่ตีไม่สำเร็จ พ.ศ. 2315 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 กองทัพพม่าจากเชียงใหม่ยกมาตีเมืองพิชัย เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปช่วย พม่าเป็นฝ่ายแพ้ พ.ศ. 2316 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 เกิดวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก พ.ศ. 2317 ไทยตีเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้หัวเมืองลานนาเป็นเมืองขึ้นของไทยทั้งหมด พม่าหนีจากเชียงใหม่ไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเชียงแสน เดือนกรกฎาคม 2317 ไทยรบพม่า (ศึกบางแก้ว ) ราชบุรี ไทยเป็นฝ่ายชนะ พ.ศ. 2318 พม่า ให้โปสุพลาและโปมะยุง่วนตีเชียงใหม่คืนแต่ไม่สำเร็จ เกิดศึกอะแซหวุ่นกี้ ศึกหนักที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี ไทยต้องยอมทิ้งเมืองพิษณุโลก พ.ศ. 2319 สงครามป้องกันเมืองเชียงใหม่ โดยพระเจ้าจิงกูจา กษัตริย์พม่าส่งกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พระยาวิเชียรปราการ (เจ้าเมืองเชียงใหม่ทิ้งเมืองหนีมากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรด ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ฯยกทัพไปสมทบกับพระยากาวิละ เจ้าเมืองลำปาง ตีเชียงใหม่กลับคืนมาได้ แต่ไทยทิ้งเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง นาน 15 ปี สร้างสมุดภาพไตรภูมิพระร่วง สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้ เจ้าพระยาจักรีตีเมืองนางรอง ได้เขมรป่าดงและตีจำปาศักดิ์มาเป็นเมืองขึ้น เจ้าพระยาจักรีได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พ.ศ. 2321 เกิดศึกเวียงจันทน์ สาเหตุ พระวออุปราชเมืองเวียงจันทน์ ทะเลาะกับเจ้าสิริบุญญสารเจ้าเมือง เวียงจันทน์ พระวอหนีมาไทย สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ พระร่มขาวแห่งหลวงพระบางยกทัพมาช่วยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกตีเวียงจันทน์ ได้สำเร็จ ไทยได้ลาวทั้งหมด เป็นประเทศราช พ.ศ. 2322 กองทัพไทยกลับจากเวียงจันทน์ ได้พระแก้วมรกตและพระบาง มาไว้ที่กรุงธนบุรี หลวงสรวิชิต ( หน ) แต่งอิเหนาคำฉันท์ เกิดกบฏมหาดา ที่กรุงเก่า โดยพระภิกษุชื่อมหาดาแสดงอิทธิปาฏิหารย์ มีคนเชื่อถือมากขึ้น จึงคิดกบฏ สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดเกล้าให้จับตัวมหาดาและพรรคพวกมาประหารชีวิต พ.ศ. 2324 แต่งทูตไปเมืองจีน ครั้งนี้ราชสำนักจีนรับเครื่องบรรณาการ รับรองฐานะของพระองค์ เดือนมกราคม 2324 ไทยส่งกองทัพไปปราบจลาจลในเขมร เดือนมีนาคม 2324 นายบุนนาค บ้านแม่ลา หลวงสุระ หลวงชนะ เข้าปล้นจวน พระวิชิตณรงค์ เจ้าเมืองกรุงเก่า และจับเจ้าเมืองกรรมการเมืองประหาร สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสรรค์ไปปราบกบฏ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าร่วมกับพวกกบฏยกกำลังมาตีกรุงธนบุรี 10 มีนาคม 2324 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงออกผนวช 14 มีนาคม 2324 เกิดการสู้รบระหว่าง พระยาสุริยอภัย ( ทองอินทร์ ) กับกรมขุนอนุรักษ์สงคราม พระยาสุริยอภัยเป็นฝ่ายชนะ พ.ศ. 2325 พระเจ้าตากสินสติฟั่นเฟือน กรุงธนบุรีเกิดจลาจล สืบเนื่องมาจากพระยาสรรค์เข้าร่วมกับกบฏ 6 เมษายน 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และ เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพกลับจากเขมร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกสำเร็จโทษ |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |