หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
Ram 5 | สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รัชกาลที่
5 |
1.พระราชประวัติ | ||
2.การปกครอง | ||
3.เศรษฐกิจ | ||
4.ศาสนา | ||
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี | ||
6.ชนชั้นทางสังคม | ||
7.กวีและวรรณกรรม | ||
8.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ | ||
การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5
ในช่วง พ.ศ.2394-2453 การล่าอาณานิคมของประเทศต่างๆ ในยุโรป ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในทวีปเอเชีย ประเทศต่างๆ ในเอเชียจึงต้องตกเป็นอาณานิคมแก่ประเทศในยุโรปหลายประเทศด้วยกันประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่ง ที่ถูกอิทธิพลจากการล่าอาณานิคมครอบคลุมมาถึงจนกระทั่งทำให้ต้องเสียดินแดนบางส่วนไป แต่ก็ยังรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ ดินแดนทั้งหมดที่ไทยต้องเสียไป มีดังนี้ การเสียดินแดนให้ ฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ 4 1. การเสียดินแดนในเขมรหรือเขมรส่วนนอก พ.ศ.2410 ( รัตนโกสินทร์ศักราช 86 ) ฝรั่งเศสคิดว่าแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านดินแดนของประเทศเขมร สามารถนำฝรั่งเศสเข้าไปสู่แคว้นยูนานของประเทศจีนได้ ซึ่งฝรั่งเศสจะใช้เป็นที่ระบายสินค้าที่สำคัญ ขณะนั้นเขมรตกเป็นประเทศราชของไทย ฝรั่งเศสกับไทยจึงเกิดเรื่องบาดหมางใจกันขึ้น โดยฝรั่งเศสอ้างว่า ญวนได้ตกเป็นของฝรั่งเศสและดินแดนต่อจากญวนลงไป โดยที่เขมรยินยอมทำสนธิสัญญาลับยอมอย ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 แต่ถึงกระนั้นสมเด็จพระนโรดมแห่งเขมรได้ทรงมีหนังสือรายงานกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าพระองค์ทรงถูกบีบบังคับให้ลงนาม แต่ยังมีความจงรักภักดีต่อไทยเสมอ ต่อมาในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2410 ไทยจึงจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศสรับรองอย่างเป็นทางการว่าเขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส โดยไทยจะไม่เรียกร้องให้เขมรส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่ไทยดังแต่ก่อน ส่วนดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ (เขมรส่วนใน) ก็ยังอยู่ภายใต้การปกครองของไทยตามเดิม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ 5 2. การเสียแคว้นสิบสองเจ้าไทย พ.ศ.2431 ( รัตนโกสินทร์ศักราช107) ฝรั่งเศสขอทำสนธิสัญญากับไทย เพื่อตั้งสถานกงสุลที่หลวงพระบาง พ.ศ.2431 โดยให้ นายออกุสต์ ปาวี (Monsieur August Pavie) เป็นกงสุลประจำ ต่อมาพวกฮ่อเข้าปล้นเขตแดนไทยจนถึงหลวงพระบาง ไทยจึงรีบยกทัพไปปราบปรากฏว่าสามารถขับไล่พวกฮ่อออกจากเขตแดนไทยได้ทั้งหมด แต่ฝรั่งเศสยังคงยึดแคว้นสิบสองเจ้าไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกไว้ไม่ยอมยกทัพกลับไป โดยอ้างว่าจะคอยปราบปรามพวกฮ่อ 3. การเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พ.ศ.2436 ( รัตนโกสินทร์ศักราช 112) ฝรั่งเศสต้องการให้ลาวหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตกเป็นเมืองขึ้นของตน จึงใช้ข้ออ้างว่าญวนและเขมรเคยมีอำนาจเหนือลาวมาก่อน เมื่อญวนกับเขมรเป็นเมืองขึ้น ของฝรั่งเศสดินแดนต่างๆ เหล่านี้ก็ควรตกเป็นของฝรั่งเศสด้วยใน พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพเรือ มาตามลุ่มแม่น้ำโขงและส่งเรือรบ 2 ลำ มาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทหารได้ทำการยิงต่อสู้ไม่สำเร็จ มีคนได้รับบาดเจ็บ และเรือเสียหายมาก นายปาวีซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้ยื่นคำขาดที่จะปิดน่านน้ำไทย ถ้าไทย ไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส และปิดอ่าวไทยทันที่ รัฐบาลไทยจึงต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสทุกประการ เพื่อเอกราชและอธิปไตยของชาติ วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 นี้นับว่าไทยสูญเสียดินแดนครั้งสำคัญและมากที่สุด โดยต้องยอมยกอาณาจักรลาวเกือบทั้งหมดให้กับฝรั่งเศส 4. การเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง พ.ศ.2446 ( รัตนโกสินทร์ศักราช 122) จากวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ทำให้ฝรั่งเศสยึดดินแดนจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นเมืองยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งของไทย ไว้เป็นประกันถึง 10 ปี ไทยจึงหาทางแลกเปลี่ยนโดยยอมยกเมือง มโนไพรและจำปาศักดิ์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองปากเซ และดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมือง หลวงพระบางให้ใน พ.ศ.2448 ฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกจันทบุรี แต่กลับไปยึดเมืองตราดไว้แทน 5. การเสียดินแดนมณฑลบูรพา พ.ศ.2449 ( รัตนโกสินทร์ศักราช 125) ไทยยอมทำสัญญายกมณฑลบูรพา
ซึ่งประกอบด้วยเมือง |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|