หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 5
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
1.พระราชประวัติ
2.การปกครอง
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี
6.ชนชั้นทางสังคม
7.กวีและวรรณกรรม
8.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
 

ด้านเศรษฐกิจ
1. การปรับปรุงระบบการคลัง แยกการคลังออกจากกรมท่า ให้กรมท่ามีหน้าที่ทางด้านการต่างประเทศ
เพียงอย่างเดียว ทรงตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์เพื่อเป็น
สำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์ รายได้ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ที่แห่งเดียว ต่อมาได้ยกฐานะ
หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเป็น กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2435
2. ตรากฎหมายกวดขันภาษีอากร โปรด ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อ 4 มิถุนายน
2416 โดยวางหลักเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีอากรให้ทันสมัยตามแบบสากล
3. การปรับปรุงระบบภาษีอากรแบบใหม่ พ.ศ. 2435 ทรงตั้งข้าหลวงคลังไปประจำทุกมณฑล เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง แล้วรวบรวมส่งไปยังกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
4. ยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร เปลี่ยนให้เทศาภิบาลเก็บภาษีเองเหมือนกันหมดทุกมณฑล
5. จัดทำงบประมาณแผ่นดิน ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2439 โดยแยกพระราชทรัพย์ของพระองค์ออกจากรายได้ของแผ่นดิน ตั้ง พระคลังข้างที่ ขึ้นสำหรับจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำหรับรายได้ภาษีอากรของแผ่นดิน ให้พระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ควบคุมดูแล
6. จัดระบบเงินตราใหม่ โดยยกเลิกระบบเงินพดด้วง หน่วยเงิน เฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ โสลฬ ตำลึง ชั่ง โดยสร้างหน่วยเงินขึ้นใหม่ ให้ใช้ เหรียญบาท เหรียญสลึง เหรียญสตางค์ กำหนดให้ 100 สตางค์ เท่ากับ 1 บาท พร้อมทั้งผลิตเหรียญสตางค์ทำด้วยทองคำขาวมี 4 ราคา ได้แก่ 20 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์และ 2 สตางค์ครึ่ง
7. ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. 121 จัดพิมพ์ธนบัตรรุ่นแรก มีราคา 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาทและ 1000 บาท ต่อมาเพิ่มชนิด 1 บาท
8. เปลี่ยนมาตราฐานเงินมาเป็นมาตราฐานทองคำ ร.ศ. 127 เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2451 เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไทยให้สอดคล้องกับหลักสากลทั่วไป
9. กำเนิดธนาคารแห่งแรก เดิมเรียกว่า บุคคลัภย์ Book Clup แล้วขอพระราชทานพระบราราชานุญาตจดทะเบียนเป็นบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีชื่อว่า บริษัท แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด เมื่อ พ.ศ. 2482

 
เงินพดด้วงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการผลิตเงินพดด้วงเพียง ๒ ครั้งเพื่อใช้เป็นที่ระลึก ไม่ได้ทำออกใช้ทั่วไป มีตราประทับอยู่ดังนี้ ตราพระเกี้ยว ไม่ทราบแน่ชัดว่า ทำขึ้นกี่ขนาด ที่พบ มีขนาดหนึ่งบาท ตราพระเกี้ยวพานรอง และช่อรำเพย ทำขึ้นมีขนาด แปดสิบบาท สี่สิบบาท ยี่สิบบาท สิบบาท สี่บาท และสองบาท
การสาธารณูปโภค
กำเนิดการไฟฟ้า โดยมี จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นผู้ริเริ่มจำหนายไฟฟ้าและขยาย กิจการมาเป็น การไฟฟ้านครหลวงในปัจจุบัน
กำเนิดการประปา ในเดือนกรกฎาคม 2452 ได้โปรดให้เริ่มดำเนินการสร้างประปาขึ้น โดยเก็บกักน้ำ ที่คลองเชียงราก จังหวัดปทุมธานี แล้วขุดคลองประปาสำหรับส่งน้ำเข้ามาจนถึงคลองสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกและอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ราษฎรมีน้ำสะอาดใช้
กำเนิดโรงพยาบาลแห่งแรก ตั้งอยู่ บริเวณริมคลองบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เดิมเรียก โรงพยาบาลวังหลัง ดำเนิน กิจการเมื่อ 26 เมษายน 2431 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงศิริราชพยาบาล แต่คนทั่วไปชอบเรียกกันว่า โรงพยาบาลศิริราช กำเนิดโรงเรียนแพทย์ ในโรงพยาบาลศิริราช เมื่อ 2432 เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ต่อมาเรียก ราชแพทยาลัย ภายหลังคือ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ของมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน
ตั้งสภาอุณาโลมแดง เนื่องจากกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 มีทหารไทยบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงจัดตั้ง สภาอุณาโลแดงแห่งชาติสยาม ขึ้น เพื่อจัดหาทุนซื้อยาและเครื่องเวชภัณฑ์ ส่งไปบรรเทาทุกข์ทหารที่บาทเจ็บในสงครามครั้งนี้ ต่อมาได้ขยายกิจการช่วยเหลือกว้างขวางออกไปถึงประชาชนทั่วไปและภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดสยาม และเปลี่ยนเป็น สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน
ตั้งกรมสุขาภิบาล ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เพื่อดูแลรักษาความสะอาด กำจัดกลิ่นเหม็น ควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆ ให้ราษฎรมีสุขภาพอาณามัยที่ดี แล้วขยายไปยังส่วนภูมิภาค โดยทดลองจัดการสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครเมื่อ พ.ศ. 2448 ครั้นกิจการสุขาภิบาลได้ผลดี เป็นที่น่าพอใจ ในปี พ.ศ. 2451 ได้จัดการสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภทคือ สุขาภิบาลเมือง และ สุขาภิบาลตำบล ต่อมาได้กลายเป็นเทศบาล
จัดตั้ง โอสถศาลารัฐบาล เพื่อเป็นสถานประกอบการและผลิตยาสามัญประจำบ้าน ส่งไปจำหน่ายแก่ราษฎร ชาวบ้านเรียกว่า ยาโอสถสภา ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า ยาตำราหลวง
การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร
กำเนิดการรถไฟ สร้างทางรถไฟหลวงสายแรก กรุงเทพฯ – อยุธยา เมื่อ 26 มีนาคม 2439และขยายกิจการไป ทั่วทุกภูมิภาค
เริ่มกิจการรถรางในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2430
เริ่มกิจการไปรษณีย์ โปรดฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เมื่อ 4 สิงหาคม 2426
เริ่มกิจการโทรเลข โทรเลขสายแรกคือกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. 2412
ต่อมาได้รวมกิจการไปรษณีย์โทรเลขเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข
เริ่มกิจการโทรศัพท์ เมื่อปี พ.ศ. 2424

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile