หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
อภิเษกสมรส
ชาติกำเนิด ถวายพระนาม ศึกษาเล่าเรียน อภิเษกสมรส ออกบรรพชา
บำเพ็ญทุกรกิริยา ตรัสรู้ ประกาศศาสนา

          พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้านั้นมีสองฝ่าย  คือฝ่ายพระมารดาและฝ่ายบิดา  ทั้งสองฝ่ายอยู่คนละเมือง  มีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเขตกั้นพรมแดนพระญาติวงศ์ฝ่ายมารดามีชื่อว่า โกลิยวงศ์  ครองเมืองเทวทหะ 
พระญาติวงศ์ฝ่ายพระบิดาชื่อ ศากยวงศ์ ครองเมืองกบิลพัสดุ์ ทั้งสองนครนี้เกี่ยวดองเป็นพระญาติกัน   มีความรักกันฉันพี่น้องร่วมสายโลหิต   ต่างอภิเษกสมรสกันและกันเสมอมา      ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ คือ  พระเจ้าสุทโธทนะ   ส่วนพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองเทวทหะ      พระชายาของพระเจ้าสุปปพุทธะ  มีพระนามว่าพระนางอมิตา  เป็นกนิษฐภคินี  คือ น้องสาวคนเล็กของพระเจ้าสุทโธทนะ  กลับกันคือพระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะ หรือพระมารดาของพระพุทธเจ้า มีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา  พระนางเป็นน้องสาวของพระเจ้าสุปปพุทธะ   ทั้งสองทรงอภิเษกสมรสกับ  พระภคินี ของกันและกัน  พระเจ้าสุปปพุทธะมีโอรสและพระธิดาอันเกิดกับพระนางอมิตา สองพระองค์ พระโอรส  คือ  เทวทัต  พระธิดา  คือ  พระนางยโสธราพิมพา

           พระพระเจ้าสุทโธทนะมีพระราชประสงค์ที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงครองเพศฆราวาสเป็นพระจักพรรดิผู้ทรงธรรม   จึงพระราชทานความสุขเกษมสำราญ  แวดล้อมด้วยความบันเทิงนานาประการแก่พระราชโอรสเพื่อผูกพระทัย ให้มั่นคงในทางโลก   พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายทรงเห็นพร้อมกันว่า พระนางยโสธราพิมพาทรงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง  สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ   พระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงได้มีขึ้นเมื่อ เจ้าชายสิทธัตถะ เจริญพระชนม์ได้  16 พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะ จึงโปรดให้สร้างปราสาทอันวิจิตรงดงามขึ้น  3  หลัง สำหรับให้พระราชโอรสได้ประทับอย่างเกษมสำราญตามฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน   ฤดูฝน  และฤดูหนาว   แล้วตั้งชื่อปราสาทนั้นว่า  รมยปราสาท  สุรมยปราสาท  และสุภปราสาท พร้อมสระบัวอีกสามสระ อุบลบัวขาบสระหนึ่ง ปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง และบุณฑริกบัวขาวอีกสระหนึ่งตามลำดับ  และทรงสู่ขอพระนางพิมพาหรือยโสธรา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตา แห่งเทวทหะนคร ในตระกูลโกลิยวงค์ ให้อภิเษกด้วย  เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติ จนพระชนมายุมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพายโสรธาจึงประสูติพระโอรส    พระองค์มีพระราชหฤทัยสิเนหาในพระโอรสเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงการประสูติของพระโอรสพระองค์ตรัสว่า   ราหุลัง  ชาตัง  พันธะนัง ชาตัง  บ่วงเกิดแล้ว  เครื่องผูกมัดเกิดแล้วเกิดแล้ว  แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า
" ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว"  คำที่แปลว่า "ห่วง" ในพระอุทานของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ  ราหุลัง  หรือ  ราหุล ต่อมาคำนี้ได้ถวายเป็นพระนามของราหุลกุมาร ที่เจ้าชายสิทธัตถะเปล่งอุทานขึ้นมาว่า "ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว" นั้น หมายถึงว่า  พระองค์กำลังตัดสินพระทัยจะเสด็จออกบวช  กำลังจะตัดห่วงหาอาลัยในฆราวาสอย่างอื่น   ก็เกิดมีห่วงใหม่ขึ้นมาผูกมัดเสียแล้ว


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th