หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
Ram 8 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล |
รัชกาลที่
8 |
1.พระราชประวัติ | รัชกาลที่ 8 |
|
2.การปกครอง | ||
3.เศรษฐกิจ | ||
4.ศาสนา | ||
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี | ||
6.กวีและวรรณกรรม | ||
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ | ||
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รัฐบาลไทยได้พยายามแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ที่ไทยได้ทำไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศแรกที่ ยอมแก้ไขสนธิสัญญาคือ สหรัฐอเมริกา โดยยินยอมทำสนธิสัญญาฉบับใหม่กับไทย เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2479 ประเทศไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2482- 2488 ) ประเทศคู่สงครามที่ทำการสู้รบกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ 1. ฝ่ายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี และ ญี่ปุ่น 2. ฝ่ายพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในทวีปยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2482 กองทัพเยอรมันเข้ารุกรานฝรั่งเศสและอังกฤษ ต่อมาญี่ปุ่น ซึ่งมีความใกล้ชิดกับเยอรมันและอิตาลี ก็ได้ขยายอำนาจเข้ามาในทวีปเอเชีย ยึดดินแดนในประเทศจีน รัฐบาลไทย เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากสงครามในครั้งนี้ จึงมีนโยบายเป็นกลาง เดือนมิถุนายน 2483 ได้ทำสัญญาไมตรีกับญี่ปุ่น ในเดือนเดียวกันก็ได้ทำสัญญาไม่รุกรานกับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่เมื่อฝรั่งเศสยอมแพ้แก่เยอรมัน ในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลไทยเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะเรียกร้องเอาดินแดนที่เคยเสียให้กับฝรั่งเศสตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 กลับคืนมาและ ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้เสียงสนันสนุนจากคนไทยตามความรู้สึกจากลัทธิชาตินิยม รัฐบาลไทยได้ตัดสินใจ ส่งทหารเข้ายึดดินแดนดังกล่าว เมื่อ 2 มกราคม 2484 เกิดการสู้รบกับกองกำลังของฝรั่งเศส นาน 22 วัน ญี่ปุ่นได้ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย กรณีพิพาทอินโดจีนที่เกิดขึ้นและได้มีการประชุม ณ กรุงโตเกียวเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2484 โดยญี่ปุ่นได้ใช้อำนาจบังคับให้ฝรั่งเศสและไทยลงนาม ในอนุสัญญาสันติภาพที่กรุงโตเกียว ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมีสาระดังนี้ 1. ให้ใช้ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน ตามหลักสากลของกฎหมายระหว่างประเทศ 2. ไทยได้ดินแดนจังหวัดล้านช้าง ( ดินแดนตรงข้ามหลวงพระบาง ) จังหวัดจำปาศักดิ์และมโนไพร ( ดินแดนตรงข้ามปากเซ ) 3. ไทยได้ดินแดนเขมรส่วนใน ( พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ) จากความสำเร็จในการเรียกร้องดินแดนคืนในครั้งนี้ทำให้ พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ได้เลื่อนยศเป็นจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 7 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุนเปิดฉากสงครามด้านเอเชีย ด้วยการโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา บริเวณอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย เป็นจุดที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายเดียวกับพันธมิตร วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก ทางภาคใต้ของประเทศไทยบริเวณ ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์และสมุทรปราการ ได้เกิดการปะทะกับทหารไทย รัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้พิจารณาเห็นว่า กองทัพไทยไม่สามารถต้านทานกองกำลังของกองทัพญี่ปุ่นได้ จึงยอมตกลงทำสัญญากับประเทศญี่ปุ่นโดยยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทย มีการลงนามในกติกาสัญญาไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเมื่อ 21 ธันวาคม 2484 มีสาระสำคัญของกติกาสัญญาว่า ทั้งไทยและญี่ปุ่นจะเคารพเอกราชและอธิปไตยของกันและกัน จะร่วมมือกัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร ต่อมาไทยจึงได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร เมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ผลของการประกาศสงครามทำให้ไทยได้ดินแดนในแหลมมลายู ที่เสียให้อังกฤษกลับคืนมา ( ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ) และยังได้ดินแดนในแคว้นรัฐฉาน ( เชียงตุง เมืองพาน ) ในเขตประเทศพม่าอีกด้วย ขบวนการเสรีไทย จากการที่รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้คนไทยบางกลุ่มไม่เห็นด้วย จึงจัดตั้งองค์การขึ้นมาต่อต้านญี่ปุ่นและร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตร เรียกว่า ขบวนการเสรีไทย โดยมีหัวหน้าที่สำคัญคือ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศ มี นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น เป็นหัวหน้า ขบวนการเสรีไทย ภายในประเทศได้ประสานงาน โดยใช้รหัส O.S.S ( The United States office of Strategic Services )ผ่านไปทางประเทศจีน เพื่อแจ้งข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกองทัพญี่ปุ่น ในประเทศไทย ให้กับขบวนการเสรีไทยในต่างประเทศ และเตรียมกำลังพลจำนวน 50,000 คน เพื่อช่วยฝ่ายพันธมิตร ในการที่จะขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย จากบทบาทของขบวนการเสรีไทยทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกยึดครองของฝ่ายพันธมิตร ภายหลังจากที่ สหรัฐอเมริกา ได้ทิ้งระเบิด ปรมาณู ลูกแรก ณ เมืองฮิโรชิมา เมื่อ 6 สิงหาคม 2488 และทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ณ เมือง นางาซากิ เมื่อ 9 สิงหาคม 2488 ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามเมื่อ 14 สิงหาคม 2488 และทำพิธียอมจำนนเมื่อ 2 กันยายน 2488 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้สงครามทางประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนรัฐบาล โดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้แพ้มติในที่ประชุม เรื่องพระราชบัญญัติการสร้างเมืองหลวงใหม่ที่เพชรบูรณ์ จึงได้ลาออกไป ดร. ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ ได้แต่งตั้งให้นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้ได้พยายามบริหารประเทศโดยการเจรจาหว่านล้อม ไม่ให้ญี่ปุ่นควบคุมกิจการของไทยจนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง นายทวี บุณยเกตุ ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ชั่วคราว ดร. ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ออกแถลงการณ์ว่า คนไทยไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรของรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และขอประกาศว่า การประกาศสงครามต่อพันธมิตรในสมัยจอมพล ป. เป็นโมฆะ ทางไทยพร้อมที่จะคืนดินแดนที่ได้มา ให้กับฝรั่งเศสและอังกฤษ ชื่อของประเทศไทยยังคงใช้ชื่อประเทศสยามตามเดิม เพื่อเอาใจพันธมิตร จากนั้นทางไทย ได้ติดต่อให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้เจรจากับฝ่ายพันธมิตรได้อย่างราบรื่นเพราะ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นที่ รู้จักของฝ่ายพันธมิตร ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกามีความเข้าใจขบวนการเสรีไทยที่ช่วยต่อต้านญี่ปุ่น จึงประกาศรับรอง การประกาศสงครามของ รัฐบาลไทยเป็นโมฆะ ทำให้ประเทศฝ่ายพันธมิตรอื่น ๆ ไม่กล้าทำอะไรรุนแรงต่อประเทศไทย มีเพียง 2 ชาติที่ยังเห็นผลประโยชน์ที่จะได้จากไทยคือ อังกฤษและฝรั่งเศส จึงพยายามที่จะให้ไทย เป็นฝ่ายแพ้สงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ จึงต้องมีการเจรจาเพื่อยุติสงคราม ผลของการเจรจา รัฐบาลไทยจึงต้องลงนามความตกลงอันสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ ( The Formal Agreement ) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 1. ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายในดินแดนที่ไทยได้ยึดครองมาจากอังกฤษ และ ชดใช้ค่าเสียหายในทรัพย์สิน ของชาวอังกฤษที่ถูกไทยครอบครอง 2. ไทยต้องคืนดินแดนในแหลมมลายู ( ไทรบุรี กลันตัน ปะลิส ตรังกานู ) และรัฐฉานของพม่า ( เชียงตุง เชียงรุ้งและเมืองพาน ) ให้แก่อังกฤษ 3. ไทยต้องไม่ขุดคลองเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามันบริเวณคอคอดกระ โดยไม่ได้รับการยินยอม จากรัฐบาลอังกฤษ 4. ไทยต้องบริจาคข้าวสารจำนวนหนึ่งล้านห้าแสนตันให้แก่อังกฤษทุกปี 5. ไทยจะต้องขายยางพารา ดีบุก ข้าวและชา ตามราคาที่คณะกรรมการระหว่างชาติกำหนดไว้ 6. เพื่อเป็นการตอบแทนที่ไทยยอมทำสัญญานี้อังกฤษจะสนับสนุนให้ไทยได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยต้องเจรจากับฝรั่งเศส เพื่อยุติสงครามเพราะไทยได้ยึดดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส ในกรณีพิพาท อินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2483 และได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส เมื่อ 25 มกราคม 2485 โดยรัฐบาลไทยยอมคืน ดินแดนที่ยึดมาตามอนุสัญญาสันติภาพที่กรุงโตเกียว พ.ศ. 2484 โดยทำสนธิสัญญาใหม่กับฝรั่งเศส เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2489 ในสมัยรัชกาลที่ 9 |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|