หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 8
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
รัชกาลที่ 8
1.พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 8
2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ  
4.ศาสนา  
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
   
   
     

ด้านการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของประเทศภายใต้การปกครองระบอบ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ด้านการเมืองการปกครองประเทศจึงขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้บริหารประเทศ ซึ่งขณะขึ้นครองราชสมบัตินั้นตรงกับรัฐบาลในสมัยของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ขึ้นครองราย์นั้นพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วย
1. กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เป็นประธาน
2. พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
3. เจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม )


กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

เจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม )
ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2478 กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ได้ปลงพระชนม์ชีพตนเอง รัฐบาลจึงแต่งตั้งให้
พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นประธาน และแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเพิ่มอีก 1 ท่านคือ เจ้าพระยา พิชเยนทรโยธิน ( อุ่ม อินทรโยธิน ) ต่อมาเจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม ) ถึงอสัญกรรมจึงแต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการ ภายหลังเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ถึงอสัญกรรม พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ลาออก จึงเหลือ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการผู้เดียวตลอดมา จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงบรรลุนิติภาวะ

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
(นายพจน์ พหลโยธิน)
การบริหารประเทศภายใต้การนำของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ( 2477 – 2481 )
ภายในระยะเวลา 5 ปี เหตุการณ์ภายในประเทศสงบเรียบร้อย รัฐบาลสามารถประสานงานให้ให้ฝ่ายทหารและฝ่าย พลเรือน ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ผลงานชิ้นสำคัญคือ การเจรจาให้สหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค ที่ไทยทำไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงได้ ทำให้ไทยได้เอกราชทางการศาลและ การค้ากลับคืนมาโดยสมบูรณ์ บุคคลสำคัญที่ช่วยเหลือไทยในการแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนี้คือ ดร. ฟรานซีส บี แซร์ ( พระยากัลยา ณ ไมตรี )
ด้านการศึกษา มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ 27 มิถุนายน 2477
ได้ตรา พระราชบัญญัติ การประถมศึกษา พ.ศ. 2478 ( พ.ร.บ. ประถมศึกษาฉบับที่ 2 ) โดยมีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์อายุการเรียนภาคบังคับของนักเรียนเป็นเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 8 ต้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และแก้ไขหลักเกณฑ์การผ่อนผันให้น้อยลง พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้ใช้บังคับทุกตำบล แต่กว่าจะทำได้ครบทุกตำบลก็ใช้เวลานานถึง 32 ปี นับตั้งแต่การตรา พ.ร.บ. ประถมศึกษาฉบับแรก ( พ.ศ. 2464 ) ผลจากการออก พ.ร.บ. ประถมศึกษา 2478 นี้ ทำให้เกิดโรงเรียนเทศบาลขึ้น ในปี พ.ศ. 2478 นอกจากนี้ยังเปิดโรงเรียนประชาบาลทุกตำบล เพื่อขยายการศึกษาภาคบังคับ
ด้านการทหาร ยกฐานะกรมอากาศยานขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ. 2480
ต่อมามีการตั้งกระทู้ถามรัฐบาล นายกไม่สามารถชี้แจงได้จึงประกาศยุบสภามีการเลือกตั้งใหม่ พระยาพหลพลพยุหเสนา ไม่ยอมเป็นนายกรัฐมนตรี สภาจึงเลือกพลตรีหลวงพิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

พันเอกหลวงพิบูลสงคราม
(นายแปลก ขีตตะสังคะ หรือ ป. พิบูลสงคราม)
 

การบริหารประเทศภายใต้การนำของหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ( 2481-2487 )
16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบริหารประเทศ เพื่อที่จะนำประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าที่สุดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยดูแบบอย่างจากประเทศเยอรมันและญี่ปุ่นเป็นแนวทาง หลักสำคัญที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายมี 2 ประการคือ
1. รัฐบาลพยายามปลุกใจประชาชนให้รักชาติและเชื่อมั่นในรัฐบาลทหารอันมีหลวงพิบูลสงครามเป็นผู้นำ
2. ประเทศไทยจะต้องพึ่งตนเอง ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลได้ออกกฎหมายสงวนอาชีพไว้ให้กับคนไทย
รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออกเมื่อ 24 กรกฎาคม 2487 เพราะสภาลงมติไม่รับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติอนุมัติ พระราชกำหนดจัดตั้ง นครบาลเพชรบูรณ์และพุทธบุรีมณฑล โดยมีนโยบายที่จะย้าย เมืองหลวง จากกรุงเทพมหานครไปตั้งอยู่ ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจะสร้างศูนย์กลางพระพุทธศาสนาที่จังหวัดสระบุรี

 

หลวงโกวิท อภัยวงศ์ ( พันตรีควง อภัยวงศ์)
1 สิงหาคม 2487 พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อ 16 สิงหาคม 2488 เนื่องจากมีการประกาศสันติภาพ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ตามพระบรมราชโองการ
 

นายทวี บุณยเกต
31 สิงหาคม 2488 นายทวี บุณยเกตุเป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อ 17 กันยายน 2488 อยู่ในตำแหน่ง 17 วัน
 

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
17 กันยายน 2488 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อ 15 ตุลาคม 2488 แต่อยู่รักษาการถึง 31 มกราคม 2489 ลาออกเพราะสภามีมติไม่เห็นชอบ ในการที่รัฐบาลเสนอร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม
 

พันตรีควง อภัยวงศ์ (หลวงโกวิท อภัยวงศ์)
31 มกราคม 2489 พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ลาออกเมื่อ 18 มีนาคม 2489 เพราะรัฐบาลแพ้เสียงในสภา กรณีสมาชิกเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนใน-ภาวะคับขัน
 

นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐมนูธรรม )
 
24 มีนาคม 2489 นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมยตรี ลาออกเมื่อ 1 มิถุนายน 2489 เพราะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เหมือนสภาอังกฤษ คือสภาผู้แทนราษฎรและพฤฒิสภา แยกการบริหารและการเมืองออกจากกัน ต่อมา เมื่อ 8 มิถุนายน 2489 ได้รับแต่งตั้งอีกและลาออกเมื่อ 9 มิถุนายน 2489 เพราะรัชกาลที่ 8 สวรรคตโดยที่ยังไม่ตั้งคณะรัฐมนตรี
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile