หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 8
รัชกาลที่ 8
1.พระราชประวัติ

2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ  
4.ศาสนา  
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
   
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
 
แปลก พิบูลสงคราม
ปรีดี พนมยงค์
นายพจน์ พหลโยธิน
ด้านศิลปและวัฒนธรรม
ในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการสร้างชาติทางวัฒนธรรม ให้มีความเจริญ ก้าวหน้าให้ประเทศไทยมีความทัดเทียมอารยประเทศ จึงได้มีการปรับปรุงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมดังนี้
1. การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” เมื่อ 24 มิถุนายน 2482 พร้อมกับให้เรียกประชาชนว่า “ไทย” และใช้สัญชาติไทย หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ก่อนที่จะทำการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลไทยในเวลานั้นก็กลับไปใช้ชื่อ ประเทศสยาม ตามเดิม และเมื่อจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีก ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย อีกครั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
2. เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เพื่อให้เป็นไปตามสากลนิยม ทำให้ในปี พ.ศ. 2483 มีเวลาเพียง 9 เดือน
3. ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์ของขุนนางไทย เพื่อแสดงถึงความเสมอภาคกัน ฉะนั้น ยศ ของขุนนางไทย ที่เคยใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้เลิกใช้
     นายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม ใช้ชื่อว่า นายแปลก พิบูลสงคราม
     หลวงวิจิตรวาทการ ใช้ชื่อว่า นายวิจิตร วิจิตรวาทการ
     หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ใช้ชื่อว่า นายปรีดี พนมยงค์
     เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ใช้ชื่อว่า นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
     พระยาพหลพลพยุหเสนา ใช้ชื่อว่า นายพจน์ พหลโยธิน
     หลวงสินาดโยธารักษ์ ใช้ชื่อว่า นายแต้ม คงอยู่
     ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ ใช้ชื่อว่า นายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์
บรรดาศักดิ์ของขุนนางเหล่านี้ รัฐบาลของ ฯพณฯ ควง อภัยวงศ์ เห็นว่า เป็นสิ่งเชิดชูวงศ์ตระกูล ที่ทำคุณงามความดีเอาไว้ รัฐบาลจึงประกาศคืนบรรดาศักดิ์ให้ ในปี พ.ศ. 2488
4. การส่งเสริมฐานะของสตรี เพื่อแสดงถึงความเสมอภาคกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้หญิงมีส่วนในการสร้างชาติทางวัฒนธรรม รัฐบาลได้พยามยามโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงให้ผู้ชายยกย่องให้เกียรติสุภาพสตรี ในฐานะที่เป็น “แม่” ผู้คอยดูแล อบรมบุตรหลานและเยาวชน ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอณาคต
5. ออกพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 โดยมีการจัดตั้ง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ขึ้นเพื่อ ทำหน้าที่ ปรับปรุง บำรุงและส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติไทย โดยมีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นประธานสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ สภานี้ได้แบ่งแยกหน้าที่ออกเป็น 5 สำนักได้แก่
ก. สำนักวัฒนธรรมทางจิตใจ
ข. สำนักวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณี
ค. สำนักวัฒนธรรมทางศิลปกรรม
ง. สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม
จ. สำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง

กิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการปรับปรุง ฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยมีดังนี้
วัฒนธรรมในการแต่งกาย โดยให้ชายไทยเลิกนุ่งกางเกงแพรออกนอกบ้าน สนับสนุนให้ผู้ชายสวมชุดสากล ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน โดยเปลี่ยนมานุ่งผ้าถุง กระโปรง สวมหมวก สวมรองเท้าออกนอกบ้าน
ประกาศใช้ระเบียบการแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ โดยให้ผู้ชายสวมเสื้อขาว กางเกงขายาว ผูกผ้าผูกคอสีดำ สวมปลอกแขนสีดำที่แขนเสื้อข้างซ้าย สวมรองเท้าถุงเท้าสีดำ ส่วนผู้หญิงแต่งชุดสีดำล้วน
วัฒนธรรมเกี่ยวกับครอบครัว การจัดงานพิธีสมรส การแต่งกายของคู่บ่าวสาว การปฏิบัติตัวของสามี ภริยา
วัฒนธรรมเกี่ยวกับสังคม
การอยู่ในที่สาธารณะ ประกาศห้ามบ้วนนำลาย บนทางหลวงหรือที่สาธารณะ การนั่งหรือพักผ่อนบนทางเท้าหรือทางจราจร มารยาทในการโดยสารรถประจำทาง ระเบียบการบริโภคอาหาร ให้ใช้ช้อนส้อมเป็นเครื่องมือในการรับประทานอาหารแทนการใช้มือเปิบข้าวและหยิบอาหาร ห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด ระเบียบการแสดงความเคารพ ในเวลาปรกติ ในงานพิธี ราชพิธี และ พระราชพิธี การเคารพธงชาติ เพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี
วัฒนธรรมทางด้านภาษาและหนังสือ คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมทางภาษาไทย ได้พิจารณาเห็นว่า ตัวสระและพยัญชนะไทย มีหลายตัวที่ออกเสียงซ้ำ ๆ กัน ให้เลิกใช้เสียบ้าง เพื่อสะดวกในการศึกษาเล่าเรียน จึงตัดพยัญชนะที่มีเสียงซ้ำกันออกไป จำนวน 13 ตัว ฃ ฅ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฒ ณ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา ใ ทำให้การเขียนภาษาไทยต้องเปลี่ยนไปในสมัยนี้ แต่มีการสนับสนุนให้ใช้เลขอารบิกแทนเลขไทย เพื่อให้เป็นแบบสากล การปรับปรุงตัวการเขียนภาษาไทยแบบนี้ได้มีการยกเลิกไปในสมัย ฯพณฯ ควง อภัยวงศ์
นอกจากนี้ยังได้วางระเบียบการใช้คำต่าง ๆ เช่น คำเรียกแทนชื่อ การตั้งชื่อให้เหมาะสมกับเพศ คำกล่าว ต้อนรับ คำทักทายว่า สวัสดี
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479
จัดการศึกษาทั้ง 3 ส่วน เหมือนแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 กล่าวคือ ยังคงให้ความสำคัญของจริยศึกษา พุทธิศึกษาและพลศึกษา มีข้อแตกต่างจากแผนการศึกษาฉบับแรกคือ มีการจัดสายอาชีวศึกษาไว้ ให้นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถม ( ป. 1 – ป. 4 ) มัธยมต้น ( ม. 1 – ม. 3 ) และมัธยมปลาย ( ม. 4 – ม. 6 ) จัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้ที่ประสงค์จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ( มหาวิทยาลัย ) จะต้องเรียนในระดับเตรียมอุดมศึกษาก่อนอีก 2 ปี ( มัธยมปีที่ 7 – 8 ) ในขณะนั้นประเทศไทยมีสถาบันในระดับอุดมศึกษาดังนี้
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2459
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2477
มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ พ.ศ. 2485
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486
มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2486

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile