หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
 
หน่วยที่ 8 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
  8.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประทศ  
     
  ลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism)
 
  หลักสำคัญของแนวคิดพาณิชย์นิยมพอสรุปได้ดังนี้  
  ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม  
     
  1.  ทฤษฎีเงินและทองคำ Bullion Theory   
     
  ทฤษฎีนี้ถือว่า ทองคำและโลหะเงินเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประเทศมีความรุ่งเรืองและเป็นมหาอำนาจได้        ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงมุ่งทำการค้า  สะสมทองคำ  และโลหะเงินเป็นการใหญ่  
     
  2. ทฤษฎีดุลการค้า Balance of Trade Theory  
     
  ทฤษฎีดุลการค้า Balance of Trade Theory ถือว่าการส่งออก     มากกว่าการสั่งสินค้าเข้ามาขายภายในประเทศ นั่นคือ การดุลการค้าเกินดุล ซึ่งจะทำให้มีจำนวนทองคำและโลหะเงินไหลเข้าประเทศ  
     
  ดุลการค้า Balance of Trade  
     
  ตามแนวคิดของนักพาณิชย์นิยม ประเทศจะส่งเสริมให้มีการส่งออกไม่ใช่การนำเข้า โดยจะอยู่ในรูปของการเก็บภาษีศุลกากร Tariffs โควต้า การอุดหนุน ภาษีต่างๆ และอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้เกิดดุลการค้าได้เปรียบ Favorable Balance of trade  
     
  การผลิตจะถูกกระตุ้นโดยการแทรกแซงของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในประเทศและการใช้กฎเกณฑ์ของการค้าระหว่างประเทศ ภาษีคุ้มครอง Protective duties จะนำเอามาใช้กับสินค้าต่างๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และ สินค้าใดก็ตามที่จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก รัฐบาลจะให้การสนับสนุน  
     
                นักประวัติศาสตร์ลัทธิเศรษฐกิจต่างก็ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดุลการค้าของ    นักพาณิชย์นิยม ทั้งนี้นักพาณิชย์นิยมในยุคแรกๆ ไม่ได้นิยาม ความมั่งคั่งของชาติ ในรูปของการผลิตหรือการบริโภคสินค้า แต่อยู่ในรูปของการครอบครองของวัตถุ      ที่มีค่า precious metals เหตุที่ไม่เห็นด้วยก็เนื่องจากการที่ดุลการค้าได้เปรียบ      มันทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของมีค่าเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจในประเทศ เพื่อจะทำให้ดุลการค้าเกิดการสมดุล  
     
            นักพาณิชย์นิยมกลุ่มแรกเห็นว่าดุลการค้าได้เปรียบโดยเปรียบเทียบจะทำให้แต่ละประเทศเกิดการหยุดชะงัก ส่วนนักเขียนในยุคต่อมาจำนวนมากโต้แย้งว่ามีเพียงดุลการค้าทั้งหมดของทุกๆ ประเทศรวมกันเท่านั้นที่ยอมรับได้ ดังนั้น ประเทศอังกฤษจึงไม่ได้ดุลการค้าได้เปรียบจากอินเดีย แต่เพราะอังกฤษซื้อวัตถุดิบจากประเทศอินเดียในราคาที่ต่ำซึ่งสามารถนำเอาไปผลิตสินค้าในอังกฤษเพื่อการส่งออก มันจะเป็นดุลการค้าที่ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ดีกว่าถ้าทุกประเทศต่างก็ได้รับผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ  
     
            เรื่องที่มีเกี่ยวข้องกับการส่งออกของมีค่า หรือ ทองคำ นักพาณิชย์นิยม       กลุ่มแรกๆ แนะนำว่าการส่งออกของมีค่าเหล่านี้ ควรเป็นสิ่งต้องห้ามนักคิด     ในช่วงต่อมาแนะนำว่าการส่งออกของมีค่าจะนำไปสู่การยกระดับดุลการค้าถ้าทองคำที่ใช้เพื่อซื้อวัตถุดิบ
สำหรับนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกคำยืนกรานของเหล่า    นักพาณิชย์นิยมในเรื่องดุลการค้าได้เปรียบก่อให้เกิด
ความสงสัยมากขึ้น ทำให้ต้องมาทำการศึกษามุมมองของเหล่านักพาณิชย์นิยมในเรื่อง 
เงิน
 
     
     
 





Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th