หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
ลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) |
||
หน่วยที่ 8 | เศรษฐกิจระหว่างประเทศ | |
8.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประทศ | ||
ลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) |
||
หลักสำคัญของแนวคิดพาณิชย์นิยมพอสรุปได้ดังนี้ | ||
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม | ||
ลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) | ||
Mercantile แปลว่า พ่อค้า หรือ พาณิช ส่วน ism แปลว่า ลัทธิ รวมกันเรียกว่าลัทธิพาณิชย์นิยมเป็นลัทธิที่นิยมและยกย่องพ่อค้าและการค้า ทำให้ประเทศมั่งคั่ง หรือแม้แต่พ่อค้าก็มั่งคั่ง นักเขียนในลัทธินี้ส่วนใหญ่จึงเป็นพ่อค้า | ||
การค้ากับต่างประเทศทำให้อังกฤษเป็นประเทศมั่งคั่งด้วยการซื้อวัตถุดิบจากเมืองขึ้น (ในแอฟริกาและเอเชียบางประเทศที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ) ในราคาถูก แล้วนำมาผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสินค้าสำเร็จรูปมีราคา แพงกว่าสินค้าออกมากกว่าสินค้าเข้า ทำให้มีดุลการค้าได้เปรียบ favorable balance of trade or surplus รวมทั้งการบังคับให้ประเทศเมืองขึ้นค้ากับตนเท่านั้น เช่น อังกฤษซื้อฝ้ายจากเมืองขึ้น เพื่อมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า ผลิตเป็นผ้าสำเร็จรูป ส่งไปขายเมืองขึ้นอีก ในราคาแพง มูลค่าเพิ่มจึงมาก ทำให้อังกฤษมีทองคำไหลเข้าประเทศมาก เพราะสมัยก่อนชำระหนี้ด้วยทองคำหรือเหรียญทองคำด้วยการผลิตที่ได้มาก ทำให้งานเพิ่มขึ้น ชาวอังกฤษจึงมีงานทำ ค่าจ้างสูง ตระหนักในเรื่องนี้ อังกฤษจึงคุ้มครองการค้า protectionism เพื่อให้สินค้าในประเทศขายได้ | ||
ลัทธินี้กำเนิดในคริศตวรรษที่ 16 จนถึงศตวรรษที่ 18 ก็สลายตัวลง ลัทธินี้เชื่อว่า ประเทศจะร่ำรวยมั่งคั่งได้ต้องมีดุลการค้าเกินดุล ทั้งนี้เพราะถ้าประเทศเกินดุลการค้าก็จะมีทองคำไหลเข้าประเทศ (ในช่วงนี้ประเทศใช้ระบบมาตรฐานทองคำ คือใช้ทองคำเป็นเงินตราระหว่างประเทศ) ดังนั้น การที่ประเทศสะสมทองคำเพิ่มขึ้น จะทำให้ประเทศมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น และเพื่อให้ประเทศเกินดุลการค้า รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือเอกชนของประเทศตน ในการทำการค้ากับประเทศอื่น ๆ โดยรัฐต้องพยายามหามาตรการและนโยบายเพื่อช่วยเหลือนักธุรกิจของตนเองเพื่อให้มีความได้เปรียบในการค้า มาตรการที่ใช้เช่น กีดกันการนำเข้า ให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยการตั้งกองเรือพาณิชย์และช่วยเจรจาต่อรองกับประเทศคู่ค้า โดยใช้อำนาจทางการทหารเป็นเครื่องช่วยการต่อรอง การค้าระหว่างประเทศภายใต้ลัทธินี้ไม่ขยายตัวเนื่องจากมีการกีดกันการค้าซึ่งกันและกัน ซึ่งในระยะยาวทำให้การผลิตและการจ้างงานหดตัวลง ประกอบกับในช่วงกลางคริศตวรรษที่ 18 เกิดแนวคิดเรื่องตลาดเสรีขึ้น โดยนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค |
||
ลัทธิพาณิชย์นิยม Merchantilism เป็นชื่อที่ได้มาเมื่อประมาณ 250 ปีของงานเขียนทางเศรษฐศาสตร์ในช่วงปี ค.ศ. 1500 – 1750 แม้ว่างานของเหล่า นักพาณิชย์นิยมจะเขียนขึ้นในยุโรปตะวันตก แต่งานที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่งนั้นเป็นของอังกฤษและฝรั่งเศสงานเขียนของนักการศึกษาเขียนขึ้นโดยนักบวช แต่แนวคิดของลัทธินี้เขียนขึ้นโดยพ่อค้า งานของเขาจึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับคำถามของนโยบายเศรษฐกิจและจะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่พวกเขาสนใจอยู่เสมอ เพื่อต้องการส่งเสริมการค้าการขายของพวกพ่อค้านั่นเอง ดังนั้นงานเขียนในช่วงนี้ จึงพิจารณาถึงสิ่งที่เขาสงสัยอยู่บ่อยๆ และโต้แย้งงานที่พวกเขาศึกษากันบ่อยครั้ง นักเขียนแต่ละคนจะมีเหตุผลสนับสนุนกับเรื่องที่เขาวิเคราะห์เสมอ ตลอดช่วงเวลาของลัทธิพาณิชย์นิยมจึงมีงานเขียนที่มีปริมาณและทั้งคุณภาพมากมายเกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ.1650 – 1750 งานเขียนของนักพาณิชย์นิยมเริ่มมีคุณภาพสูงขึ้น จนแม้แต่กระทั่งอดัม สมิธก็นำไปใช้เป็นพื้นฐานในการเขียนหนังสือชื่อ “ความมั่งคั่งของชาติ” The Wealth of Nation |
||
ลัทธิพาณิชย์นิยมเกิดขึ้นท่ามกลางความต้องการของมนุษย์อยากจะมั่งคั่งร่ำรวยอยู่ในระยะที่ระบบศักดินา feudalism ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้า กับสินค้าและมีทุกอย่างพอในเขตฟิวดวล self - sufficient economy นั้นเปลี่ยนมาเป็นเศรษฐกิจที่มีการซื้อขายขึ้นแทนนอกเขตฟิวดวลด้วย และเริ่มรู้จักใช้เงินตรา เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน มนุษย์จึงได้ค้นคว้าศึกษาเขียนหนังสือถึงวิธีการ แสวงหาความมั่งคั่ง wealth วิชาเศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความมั่งคั่ง ทำให้วิชาเศรษฐศาสตร์ได้กำเนิดขึ้นมา วิสัยของมนุษย์ที่มีความต้องการ ที่ไม่สิ้นสุดเห็นแก่ตัว หาทางที่จะสร้างความมั่งคั่งทางวัตถุนิยม materialism หรือแสวงหาเศรษฐทรัพย์ economic goods ในขณะเดียวกันที่มีจุดมุ่งหมายทางสังคม social goal เพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่รัฐ state power เมื่อประเทศมีความมั่งคั่ง มีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นทางทำให้ความอยู่ดีกินดีของประชาชนเกิดขึ้น well being การสร้างอำนาจด้วยการแสวงหาทรัพยากรและเมืองขึ้นดำเนินไป การค้าโดยการผลิตสินค้าไปขายต่างประเทศ ซื้อวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเมืองขึ้นมาผลิตให้มีสินค้าออกมีมูลค่ามากกว่าสินค้าเข้า อังกฤษอยู่ใน ระยะเวลาขยายการค้าและการทหารเพื่อหาเมืองขึ้น ซึ่งกลุ่มลัทธิพาณิชย์นิยมให้ การสนับสนุนเพื่อให้ประเทศรวมกันมีความสามัคคีและเข้มแข็ง จนถึงศตวรรษที่ 18 ที่ลัทธิพาณิชย์นิยมเจริญรุ่งเรืองที่สุดและเป็นเวลาที่เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม industrial revolution ที่สินค้าอุตสาหกรรมผลิตได้มากในอังกฤษ จึงต้องส่งขายเมืองขึ้นให้หมด | ||
สรุปได้ว่าลัทธิพาณิชย์นิยมมุ่งเพื่อการค้าระหว่างประเทศให้ได้เปรียบด้านการเงิน มีทองคำและเงินไหลเข้าประเทศ ซึ่งเกิดในอังกฤษ จนกลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งที่สุดในสมัยโน้น |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |