หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
ลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) |
||
หน่วยที่ 8 | เศรษฐกิจระหว่างประเทศ | |
8.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประทศ | ||
ลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) |
||
หลักสำคัญของแนวคิดพาณิชย์นิยมพอสรุปได้ดังนี้ | ||
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม | ||
หลักสำคัญของแนวคิดพาณิชย์นิยมพอสรุปได้ดังนี้ | ||
1. ปรารถนาซึ่งความมั่งคั่ง โดยพิจารณาจากโลหะทองคำและเงิน (gold and silver) | ||
2. สนับสนุนความเป็นชาตินิยมโดยเน้นให้ประเทศมีส่วนเกินของการส่งออก และความเป็นชาตินิยมก็หมายความว่า ทางด้านการทหารต้องมีกองทัพที่เข้มแข็ง | ||
3. สนับสนุนให้นำวัตถุดิบเข้ามาโดยยกเว้นภาษีและจำกัดการนำวัตถุดิบออกนอกประเทศ นโยบายนี้เน้นการส่งสินค้าออกจำหน่ายแต่ลดการนำสินค้าเข้า ซึ่งเป็นความกลัวสินค้าเข้าหรือเรียกว่า "the fear of goods" | ||
4. พ่อค้านายทุนเชื่อว่าการครอบครองและการเอาผลประโยชน์จากดินแดนอาณานิคมโดยการผูกขาดการค้าในดินแดนอาณานิคม จะได้ประโยชน์แก่ตนฝ่ายเดียว | ||
5. นักพาณิชย์นิยมสนับสนุนให้มีการทำธุรกิจในประเทศโดยระบบการค้าเสรี ไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีภายใน อากร และข้อจำกัดในการขนย้ายสินค้า | ||
6. นักพาณิชย์นิยมชอบรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งที่สามารถควบคุมธุรกิจได้ | ||
7. นักพาณิชย์นิยมสนับสนุนความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศจะมีความมั่งคั่ง เพราะในทางปฏิบัตินักพาณิชย์นิยมจะชอบให้มีประชากรจำนวนมาก ประชากรทำงานหนักแต่ค่าแรงถูก และการมีทหารจำนวนมากเพื่อต่อสู้กับศัตรู | ||
แนวคิดพาณิชย์นิยมรุ่งเรืองมากเพราะการที่อังกฤษอยู่ในระยะของการค้าและการทหารเพื่อหาเมืองขึ้น ตลอดจนการเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ผลิตสินค้าได้มาก จึงต้องส่งไปขายยังประเทศอาณานิคม คู่แข่งที่สำคัญ ได้แก่ สเปนและฝรั่งเศส ซึ่งมีกำลังที่เข้มแข็งทั้งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ การมีบรรยากาศสงครามระหว่าง 3 ประเทศทำให้อังกฤษต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาหารในยามสงคราม การเก็บภาษีอันนำมาซึ่งรายได้เพียงอย่างเดียว ก็คงไม่เพียงพอ จึงได้แสวงหาความมั่งคั่งจากการค้าขายในต่างประเทศ | ||
การแข่งขันการมีอำนาจทางทะเลระหว่าง อังกฤษ สเปน และฮอลันดา ทำให้แต่ละประเทศแสวงหาประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะทางด้านการค้ามีการเอาเปรียบทางการค้ากับชาติอื่นๆ ให้มากที่สุด เพราะว่าการที่การค้าอันนำมา ซึ่งการได้เปรียบหรือกำไรมากที่สุดจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับผลตรงกันข้าม คือ ทำให้อีกฝ่ายเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน แต่ต่อมาความเชื่อดังกล่าวนี้ได้รับการพิสูจน์ว่า ที่แท้จริงแล้วการค้าระหว่างประเทศจะเป็นการให้ประโยชน์แก่ทุกๆ ฝ่าย ลัทธิพาณิชย์นิยมรุ่งเรืองที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นระยะต้นของการเข้าสู "ยุคใหม" |
||
จนถึงช่วงศตวรรษที่ 17 - 18 การค้า อุตสาหกรรมเจริญขึ้น การเข้ามาแทรกแซงของรัฐบาล ทำให้เกิดผลเสียมากมาย อย่างหาที่เปรียบไม่ได้กับอังกฤษ เพราะการที่อเมริกาในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีการกำหนดข้อห้ามไว้อย่างมากมาย เช่น ห้ามผลิตสินค้าที่เป็นโทษแก่อังกฤษ ผลิตได้เฉพาะที่อังกฤษและแผ่นดินแม่ผลิตไม่ได้ ให้เป็นตลาดสินค้าเมืองแม่ |
||
ประมาณปี ค.ศ. 1700 - 1760 อาณานิคมได้ขยายตัวและมีประชากรเพิ่ม การค้าระหว่างประเทศอังกฤษกับอาณานิคมมีเพียงครึ่งเดียว แต่อาณานิคมผลิตได้มากขึ้น ในขณะนั้นอังกฤษได้บังคับห้ามมีการส่ง สินค้าผ้าไปขายที่อังกฤษ ห้ามส่งจากอาณานิคมหนึ่งไปยังอีกอาณานิคมหนึ่ง การส่งสินค้าต้องใช้เรือจากอังกฤษเท่านั้น | ||
ในที่สุดอเมริกาทนไม่ไหว จึงปลดแอกออกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ประมาณ ค.ศ. 1776 ลัทธิพาณิชย์นิยมได้รับ การติเตียนมากจากนักปราชญ์ นักเศรษฐกิจ นักเขียนได้พยายามเขียนถึงการปลดเปลื้องให้พ้นจากการควบคุมของรัฐบาล ในศตวรรษที่ 18 | ||
จึงเห็นว่านโยบายชาตินิยมหรือพาณิชย์นิยมเป็นนโยบายที่ล้าสมัยไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ บรรดาพ่อค้าที่มีฐานะดีจึงแสดงการต่อต้านจนสำเร็จและทำให้ทุกคนในระบบใหม่นี้ได้มีการเห็นแก่ตัวมากขึ้น โดยมีแนวคิดว่า "หากผลประโยชน์ของทุกๆคนดีแล้ว ผลประโยชน์ของประเทศก็จะได้ผลดีด้วย เพราะผลประโยชน์ของชาติคือ ผลรวมของทุกๆ คนนั่นเอง" รัฐคงมีหน้าที่เพียงการรักษาความสงบภายในและ ภายนอกรวมถึงการให้ความยุติธรรมต่อประชาชนไม่ควรเข้าไปแทรกแซงในธุรกิจเอกชนแต่อย่างใด รัฐบาลจึงคล้อยตาม ระบบเสรีนิยม จึงเข้ามาเป็นนโยบายหลัก ของประเทศแทน ลัทธิพาณิชย์นิยม ที่เสื่อมไป |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |