หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
เฉลยภาษาบาลี
หลักธรรม
  1. ทำไมต้องพึ่งพา
    ............................................................................................................................................
    ............................................................................................................................................
  2. การไม่มีเพื่อนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร
    ............................................................................................................................................
    ............................................................................................................................................
  3. คำว่า  “มิตร” มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า  เมตตา   ซึ่งมีความหมายว่า ความรักใคร่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
  4. คำว่า  “มิตร” ถ้าใช้คำว่า สหาย แปลว่า     ผู้ไปด้วยกัน มีความคิดเห็นอย่างเดียวกัน
  5. สขา    แปลว่า     เพื่อน  มิตรมี  2 จำพวกคือ 
    5.1 มิตรแท้
    5.2 มิตรเทียม
  6. มิตรแท้มี  4  ประเภท ได้แก่ 
    6.1 มิตรอุปการะ
    6.2 มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข
    6.3 มิตรแนะนำประโยชน์
    6.4 มิตรมีความรักใคร่
  7. เพื่อนที่มีบุญคุณเรียกว่า      มิตรอุปการะ
  8. หลักธรรมขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นำมาใช้ในการผูกมิตร คือ สังคหวัตถุ 4
  9. สังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย   
    9.1 ทาน
    9.2 ปิยวาจา
    9.3 อัตถจริยา
    9.4 สมานัตตตา
  10. มิตรเทียม มาจากคำว่า  มิตรปฏิรูป
  11. มิตรเทียมมี 4 ประเภท ได้แก่
    11.1 คนปอกลอก
    11.2 คนดีแต่พูด
    11.3 คนหัวประจบ
    11.4 คนชักชวนในทางฉิบหาย
  12. มิตรเทียมมักชักชวนไปในทางเสื่อม 4 ประการที่เรียกว่า อบายมุข 4 ได้แก่
    12.1 นักเลงสุรา
    12.2 นักเลงผู้หญิง
    12.3 นักเลงการพนัน
    12.4 คบคนชั่วเป็นมิตร
  13. อบายมุข 6 ได้แก่
    13.1 นักเลงสุรา
    13.2 นักเลงผู้หญิง
    13.3 นักเลงการพนัน
    13.4 คบคนชั่วเป็นมิตร
    13.5 เกียจคร้านการทำงาน
    13.6 เที่ยวกลางคืน
  14. คารวะ หรือ เคารพ เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า     ครุ     แปลว่า        หนัก
  15. คารวะ หรือ เคารพ หมายถึง ความเคารพ หรือความนับถือ ความตระหนัก คือไม่ดูถูก ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
  16. พุทธศาสนาสอนให้ เคารพใน 6 สถาน ได้แก่
    16.1 พุทธคารวตา
    16.2 ธรรมคารวตา
    16.3 สังฆคารวตา
    16.4 สิกขคารวตา
    16.5 ปฏิสันถารคารวตา
    16.6 อัปปมาทคารวตา
  17. ชาวไทยสามารถแสดงความเคารพได้   5  วิธี ได้แก่ 
    17.1 อภิวาท
    17.2 วันทา
    17.3 อัญชลี
    17.4 อุฏฐานะ
    17.5 สามีจิกรรม

  18. อภิวาท คือ   การกราบ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่
    18.1เบญจางคประดิษฐ์
    18.2 หมอบกราบ
  19.  วันทา คือ การไหว้ ได้แก่การพนมมือไหว้ 
  20.  อัญชลี  คือ              การพนมมือ  
  21.  อุฎฐานะ คือ   การลุกขึ้นยืนต้อนรับ
  22. สามีจิกรรม คือ การนอบน้อมโดยวิธีการต่างๆ เช่น ถอดหมวก ถอดรองเท้า  
  23. พุทธคารวะตา หมายถึง   การเคารพในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  24. คุณงามความดีขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างย่อมี 3 ประการ ได้แก่  พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ
  25. เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สิ่งที่เป็นศาสดาแทนพระองค์คือ พระธรรม
  26. สิ่งที่เรานำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ แทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป พระบรมสารีริกธาตุ สังเวชนียสถาน
  27. ธรรมคารวะตา หมายถึง การเคารพในพระธรรม
  28. การเคารพในพระธรรมที่ดีที่สุดคือ       การศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 
  29. วัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการบูชาพระธรรมคือ    เทียน
  30. สังฆคารวะตา หมายถึง การเคารพในพระสงฆ์
  31. วัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการบูชาพระสงฆ์ คือ ดอกไม้
  32. สิกขคารวะตา  หมายถึง              การเคารพในการศึกษา  
  33. การเคารพในการศึกษา หมายถึง ความเคารพในผู้ให้การศึกษา เคารพในสิ่งที่ศึกษาเคารพในสถานศึกษา เคารพวิธีการศึกษา
  34. อัปปมาทคารวะตา หมายถึงเคารพในความไม่ประมาท
  35. ปฏิสันถารคารวะ หมายถึง        เคารพในการต้อนรับ   
  36. อามิสปฏิสันถาร หมายถึง            การต้อนรับด้วยวัตถุสิ่งของ            
  37. ธรรมปฏิสันถาร หมายถึง             การต้อนรับด้วยกิริยามารยาม การพูดจา           
  38. อกุศล แปลว่า     ความไม่ฉลาด     มูล  แปลว่า         รากเหง้า 
  39. อกุศลมูล แปลว่า      รากเหง้าหรือต้นตอแงความชั่วทั้งปวง 
  40. อกุศลมูล 3 ประกอบด้วย      โลภะ โทสะ โมหะ
  41. โลภะ หมายถึง              ความอยากได้
  42. โทสะ หมายถึง ความคิดประทุษร้าย
  43. โมหะ หมายถึง ความหลง
  44. ความกำหนัด คือ ความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
  45. กุศลมูล 3 ประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ
  46. อโลภะ หมายถึง ความไม่อยากได้
  47. อโทสะ หมายถึง ความไม่คิดประทุษร้าย
  48. อโมหะ หมายถึง             ความไม่หลง
  49. พยาบาท หมายถึง ความคิดปองร้าย
  50. โกรธะ    หมายถึง ความโกรธ
  51. มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด ความเข้าใจผิด
  52. สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นถูก เข้าใจเรื่องราวได้ถูกต้อง
  53. อริยสัจ หมายถึง      ความจริงอันประเสริฐ
  54. อริยสัจ 4 ประกอบด้วย
    54.1ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้)
    54.2 สมุทัย (ธรรมที่ควรละ)
    54.3 นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ)
    54.4 มรรค (ธรรมที่ควรเจิญ)
  55. ทุกข์ ในอริยสัจ 4 หมายถึง ปัญหา ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
  56. สมุทัย ในอริยสัจ 4 หมายถึง     ทุกข๋ที่เกิดจากความทยานอยากของจิต สาเหตุของทุกข์ที่เกิดจากตัญหา
  57. นิโรธ ในอริยสัจ 4 หมายถึง        ความดับทุกข์ รู้จักการดับสิ้นไปแห่งทุกข์ สภาพการสิ้นกิเลส
  58. มรรค ในอริยสัจ 4 หมายถึง        การปฏิบัติให้หมดทุกข์ หนทางการดับกิเลส
  59. ขันธ์ 5 คือ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต
  60. ขันธ์ 5 ประกอบด้วย
    60.1 รูปขันธ์
    60.2 เวทนาขันธ์
    60.3 สัญญาขันธ์
    60.4 สังขารขันธ์
    60.5 วิญญาณขันธ์
  61. อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์
  62. อายตนะภายใน 6 ประการประกอบด้วย
    62.1 หู
    62.2 ตา
    62.3 จมูก
    62.4 ลิ้น
    62.5 กาย
    62.6 ใจ
  63. อายตนะภายนอก 6 ประการประกอบด้วย
    63.1 เสียง
    63.2 รูป
    63.3 กลิ่น
    63.4 รส
    63.5 ความร้อน หนาว เย็น อ่อน แข็ง เหลว
    63.6 ความรู้สึกนึกคิด
  64. เสียง ที่ หู ได้ยิน เราเรียกว่า โสตวิญญาณ
  65. วัตถุรูป ที่ ตา มองเห็น เราเรียกว่า จักษุวิญญาณ
  66. รสที่ ลิ้น สัมผัส เราเรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
  67. กลิ่น ที่ จมูก ดม เราเรียกว่า ฆานวิญญาณ
  68. ความร้อนหนาวที่กายรับรู้ เราเรียกว่ากายวิญญาณ
  69. ความรู้สึกนึกคิดในอารมณ์ ที่มาต้องใจ เราเรียกว่า มโนวิญญาณ
  70. ไตรลักษณ์ หมายถึง อนัตตลักขณสูตร ลักษณะสามอย่าง ที่ไมีแน่นอนไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ไมีมีตัวตน
  71. ไตรลักษณ์ ประกอบด้วย
    71.1 อนิจจัง หรือ อนิจจตา
    71.2 ทุกขัง หรือ ทุกขตา
    71.3 อนัตตา หรือ อนัตตตา
  72. ไตรวัฏฏ์ หรือ วัฏฏะ 3 หมายถึง
  73. ไตรวัฏฏ์ ประกอบด้วย
    73.1 กิเลสวัฏฏ์ ได้แก่ อวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน
    73.2 กรรมวัฏฏ์ ได้แก่ สังขาร  ภพ
    73.3 วิบากวัฏฏ์ ได้แก่ วิญญาณ  นามรูป  สฬยตนะ  ผัสสะ เวทนา  ชาติ ชรามรณะ โสกะ  ทุกข์ โทมนัสอุปายาส
  74. ปปัญจธรรม 3 หมายถึง กิเลสที่ทำให้การศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาล่าช้า
  75. ปปัญจธรรม 3 ประกอบด้วย
    75.1 ตัณหา
    75.2 มานะ
    75.3 ทิฏฐิ
  76. อัตถะ หมายถึง ประโยชน์หรือจุดหมายที่เกิดจากการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา
  77. อัตถะ 3 ประกอบด้วย
    77.1 ทิฏฐธัมมิกัตถะ
    77.2 สัมปรายิกัตถะ
    77.3 ปรมัตถะ
  78. ทิฏฐธัมมิกัตถะ4 หมายถึง ผู้ใดปฏิบัติตามหลักธรรมแล้ว ผู้นั้นย่อมได้รับประโยชน์ในปัจจุบัน
  79. ทิฏฐธัมมิก แปลว่า ทันตาเห็น , ปัจจุบัน อัตถะ แปลว่า ประโยชน์
    ทิฏฐธัมมิกัตถ แปลว่า ประโยชน์ที่เห็นได้ในปัจจุบัน หรือ ประโยชน์ในปัจจุบัน
  80. ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ประกอบด้วย
    80.1 อุฎฐานะสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น
    80.2 อารักขสัมปทา
    หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการรักษา
    80.3 กัลยาณมิตตตา
    หมายถึง ความเป็นผู้มีเพื่อนที่ดี
    80.4 สมชีวิตา
    หมายถึง การเลี้ยงชีวิตพอเหมาะพอดี
  81. อุฏฐานะ แปลว่า การลุกขึ้น ความหมั่น
  82. สัมปทา แปลว่าความถึงพร้อม ความสมบูรณ์
  83. อุฎฐานะสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น
  84. หลักธรรมที่ใช้ประกอบ “อุฎฐานะสัมปทา” เพื่อให้ประสบความสำเร็จคือ อิทธิบาท 4
  85. อิทธิบาท 4 หมายถึง ธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ
  86. อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย
    86.1 ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ
    86.2 วิริยะ
    หมายถึง ความเพียร
    86.3 จิตตะ
    หมายถึง ความเอาใจใส่
    86.4 วิมังสา
    หมายถึง ความไตร่ตรองตามเหตุผล

  87. อารักขะ แปลว่า การรักษา
  88. อารักขสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยการรักษา
  89. อารักขสัมปทา หมายถึง การรักษาทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
  90. พระพุทธเจ้า สอนให้รู้จักการใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์เรียกว่าโภคอาทิยะ 5 ได้แก่
    90.1 เลี้ยงตัวเอง บิดามารดา บุตรภรรยา และคนในปกครอง ให้เป็นสุข
    90.2 บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงาน ให้เป็นสุข
    90.3 ใช้ป้องกันอันตรายและบำบัดอันตรายที่เกิดขึ้นแต่เหตุต่าง ๆ
    90.4 ทำพลี 5 ประการ
    90.5 อุปถัมภ์บำรุงสมณะ ผู้ประพฤติชอบ
  91. การทำพลี  5  ประการประกอบด้วย
    91.1 ญาติพลี           หมายถึง     สงเคราะห์ญาติ
    91.2 อติถิพลี           หมายถึง      ต้อนรับแขก
    91.3 ปุพพเปตพลี    หมายถึง      การทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
    91.4 ราชพลี           หมายถึง       การเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ
    91.5 เทวตาพลี       หมายถึง       การบูชาเทวดา สักการะ บำรุ่งสิ่งที่เคารพบูชา
  92. สัปปุริส  แปลว่า        คนดี   อุปสังเสวะ  แปลว่า   การเข้าไปคบหา
  93. สัปปุริสูปสังเสวะ แปลว่า        การคบสัตตบุรุษ
  94. สัตบุรุษ  เป็นภาษา     สันสกฤต      แปลว่า   คนดี คนสงบ
  95. ผู้ที่เป็นสัตบุรุษ หรือ สัปปุริส มีคุณธรรมประจำตัวคือ       สัปปุริสธรรม 7
  96. สัปปุริสธรรม  7  ประการ ประกอบด้วย
    96.1 ธัมมัญญุตา การรู้จักเหตุ
    96.2.อัตถัญญุตา
    การรู้จักผล
    96.3 อัตตัญญุตา
    การรู้จักตน
    96.4 มัตตัญญุตา
    การรู้จักประมาณ
    96.5 กาลัญญุตา
    การรู้จักกาล
    96.6 ปริสัญญุตา
    การรู้จักชุมชน
    96.7 ปุคคลปโรปรัญญุตา
    การรู้จักบุคคล

    คำสั่ง  ให้นักเรียนนำข้อความด้านล่าง เขียนลงในช่องสี่เหลี่ยมท้ายข้อ ให้มีความสัมพันธ์ตรงกัน

    1. มิตรมีอุปการะ       
    2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข   
    3. มิตรแนะนำประโยชน์  
    4.  มิตรรักใคร่         
     

    5. มิตรดีแต่พูด                           
    6  มิตรปอกลอก  
    7. มิตรช่างประจบ               
    8. มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

    1. เพื่อนชักชวนเราไปฟังธรรมที่วัดในวันอาทิตย์

    มิตรแนะนำประโยชน์

    2. เพื่อนยึดสุภาษิตที่ว่า “ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก

    มิตรช่างประจบ

    3. เพื่อนที่เห็นแก่ประโยชน์จึงช่วยเหลือเรา

    มิตรปอกลอก

    4. เพื่อนที่ช่วยปกป้องเราให้พ้นภัย

    มิตรมีอุปการะ

    5. เพื่อนที่คุยโวโอ้อวดในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

    มิตรดีแต่พูด

    6. เพื่อนที่โอนอ่อนตามที่เราทำทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่ว

    มิตรช่างประจบ

    7. เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเงินทองเมื่อเราเดือดร้อน

    มิตรมีอุปการะ

    8. เพื่อนที่ผูกพันกันด้วยใจ มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน

    มิตรรักใคร่

    9. เพื่อนที่ชวนเราไปตักบาตรตอนเช้าทุกวัน

    มิตรแนะนำประโยชน์

    10. เพื่อนที่คิดเอาแต่ของเราอย่างเดียว

    มิตรปอกลอก

    11.เพื่อนที่เก็บความลับของเราไว้เป็นอย่างดี

    มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข

    12. เพื่อนที่เป็นที่พึ่งเมื่อเรามีภัย

    มิตรมีอุปการะ

    13. เพื่อนชวนเราไปเที่ยวอาร์ซีเอ

    มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

    14. เพื่อนสอนให้เราเล่นป๊อกเด้งในวันหยุด

    มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

    15. เพื่อนที่ชวนเราไปไนท์คลัภ

    มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

    16. เพื่อนพาเราไปสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

    มิตรแนะนำประโยชน์

    17. เพื่อนช่วยออกทรรัพย์ให้มากกว่าที่ออกปากยืม

    มิตรมีอุปการะ

    18. เพื่อนบริจาคผ้าห่มให้เมื่อฤดูหนาวที่แล้ว

    มิตรมีอุปการะ

    19. เพื่อนเห็นคนอื่นชมเพื่อนเรา เราช่วยสนับสนุน

    มิตรรักใคร่

    20. เพื่อนบอกเราเรื่อง หิริ โอตตัปปะ

    มิตรแนะนำประโยชน์

    21. เพื่อนบอกให้เรารู้เรื่อง การเขียนบรรณานุกรม

    มิตรแนะนำประโยชน์

    22. เพื่อนมีความสุขเมื่อเห็นเราชนะเลิศในการแต่งกลอน

    มิตรรักใคร่

    23. เพื่อนเห็นเราทำงานหนัก ก็คอยช่วยเหลือ

    มิตรรักใคร่

    24. เพื่อนเห็นเรากำลังจะจมน้ำ รีบกระโดดลงมาช่วย

    มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข

    25. เพื่อนรู้ว่าเราป่วยอยู่ เดินทางมาเยี่ยมถึงโรงพยาบาล

    มิตรรักใคร่

Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th