หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
หลักธรรม
  1. ภาษาบาลี มาจากภาษาของชนชาติ ชาวแคว้นมคธ  ในประเทศอินเดียโบราณ
  2. ภาษาของชาวมคธโบราณเรียกว่า   ภาษามคธ
  3. คำว่า บาลี แปลว่า รักษาไว้
  4. ภาษาบาลี แปลว่า  ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
  5. พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาครั้งแรกที่แคว้น  มคธ
  6. การทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งแรกทำที่แคว้น  มคธ
  7. การถ่ายทอดหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ก่อนมีการจารึกเป็นตัวอักษรนั้นกระทำด้วยวิธี  ท่องจำต่อๆกันมา  
  8. พระไตรปิฏกที่จารึกด้วยตัวอักษรครั้งแรกนั้นจารึกด้วยภาษา  สิงหล
  9. ผู้ที่ถ่ายทอดพระไตรปิฏกเป็นภาษามาคธีจนหมดสิ้นเป็นคนแรก คือ    พระพุทธโฆษะ
  10. ประเทศไทยจารึกพระไตรปิฏกในระยะแรกนั้นใช้ภาษา  ขอม
  11. การจารึกพระไตรปิฏก เป็นอักษรไทยเริ่มในรัชกาล  5  (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
  12. ในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย จารึกพระไตรปิฏกด้วยอักษร โรมัน
  13. ภาษาของชนชาติ ไม่อาจเขียนภาษาบาลี ด้วยตัวอักษรของภาษาชนชาตินั้นได้  ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม
  14. การเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทยเขียนได้ 2 แบบคือ  ก.  เขียนแบบไทย.  ข  เขียนแบบบาลี
  15. การเขียนภาษาบาลีแบบไทยเขียนอย่างไร  เขียนพยัญชนะและสระทุกตัวด้วยอักษรไทย  รูปสระปรากฏชัดเจน โดยเฉพาะสระอะ พยัญชนะที่ไม่มีสระผสมออกเสียงเป็นตัวสะกด
  16. การเขียนภาษาบาลีคำที่มีสระผสมกับพยัญชนะแต่ไม่มีตัวสะกดให้อ่านออกเสียงอย่างไร  อ่านออกเสียงตามรูปที่ปรากฎ
  17. การอ่านภาษาบาลีถ้าพยัญชนะตัวใดไม่มีสระและเครื่องหมายอื่นผสมอยู่ให้อ่านอย่างไร  ให้อ่านออกเสียงสระอะผสมอยู่ด้วย
  18. เครื่องหมายพินทุอยู่ใต้พยัญชนะ พยัญชนะตัวนั้นทำหน้าที่   เป็นตัวสะกด   หรือ    ควบกล้ำ
  19. ถ้าพินทุอยู่ใต้พยัญชนะต้นตัวหน้าให้ถือว่าเป็น    อักษรควบกล้ำ
  20. ถ้านิคหิตอยู่เหนือพยัญชนะให้ออกเสียงเหมือน มีตัวสะกดแม่   กง
  21. มีนิคหิตอยู่เหนือพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระอ่านออกเสียง   อ่านเหมือนมีไม้หันอากาศ และ  ง  สะกด
  22. นยํ นยติ เมธาวี อ่านว่า   นะยัง  นะยะติ   เมธาว
  23. นยํ นยติ เมธาวี แปลว่า    นักปราชญ์แนะนำในสิ่งที่ควรแนะนำ.
  24. เมธาวี หมายถึง   ผู้มีปัญญาหรือนักปราชญ์
  25. ลักษณะของนักปราชญ์เป็นอย่างไร    เป็นผู้รอบรู้ทุกด้านทั้งความรู้ด้านดีและไม่ด
  26. นักปราชญ์จะปฏิบัติตัวอย่างไรต่อความดีและความไม่ดี   มีวิธีปฎิบัติเข้าถึงความดีและหลีกหนีความไม่ดี
  27. การทำบุญคือ      การทำความดี.
  28. การทำบุญโดยย่อ มี 3 ประการ ได้แก่  ก.     ทาน         ข.    ศีล           ค.      ภาวนา
  29. ความดี คือ     สิ่งที่ทำแล้วมีประโยชน์ไม่มีโทษ
  30. ความรู้ด้านวิชาการและศิลปะแขนงต่าง ๆ จัดเป็นความดีหรือไม่   เป็นความดีทั้งสิ้นถ้าเรียนแล้วนำมาสร้างประโยชน์
  31. ประโยชน์ คือ    สิ่งที่ทำแล้วเป็นสุขไม่เกิดทุกข์.
  32. ความไม่ดี คือ      สิ่งที่ทำแล้วมีแต่โทษไม่มีประโยชน์
  33. โทษ คือ   สิ่งที่ทำแล้วมีแต่ทุกข์ไม่เป็นสุข
  34. สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์มีอะไรบ้าง   อบายมุข  ความเกียจคร้าน  ความสุรุ่ยสุร่าย  การคบเพื่อนชั่ว
  35. พระพุทธเจ้าทรงพบใครกำลังไหว้ทิศทั้ง 6 อยู่และเหตุใดเขาจึงทำเช่นนั้น  สิงคาลกมาณพโดยไหว้ตามคำสั่งของบิดาก่อนตาย
  36. หลักธรรม เรื่องทิศ 6 เป็น ธรรมที่สอนเรื่อง   การปฏิบัติตนสำหรับคน 6 จำพวก
  37. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำในเรื่องทิศทั้ง 6 ว่ามีความหมายอย่างไร
    ทิศตะวันออก – ทิศเบื้องหน้า หมายถึง               บิดามารดา  -   บุตร                              
    ทิศตะวันตก  –  ทิศเบื้องหลัง หมายถึง               ภรรยา-สามี
    ทิศใต้             –    ทิศเบื้องขวา หมายถึง           อาจารย์-ศิษย์.
    ทิศเหนือ        –   ทิศเบื้องซ้าย  หมายถึง            มิตร- เพื่อน
    ทิศเบื้องบน  หมายถึง                                      สมณพราหมณ์ - ฆราวาส
    ทิศเบื้องล่าง  หมายถึง                                     นายจ้าง – ลูกจ้าง   ( คนใช้ – เจ้านาย )
  38. ผู้ที่ต้องการได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องควรไปหา     นักปราชญ์  ผู้รู้
  39. กลุ่มบุคคลใดบ้างที่ในสังคมยอมรับว่ามีความเป็นนักปราชญ์     ครู  อาจารย์   นักวิชาการ   พระสงฆ
  40. ปัญญา คือ     ความฉลาดรอบรู้ในสิ่งที่มีสาระประโยชน์   ความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆได
  41. วิปัสสนาปัญญาคือปัญญาที่เกิดจาก     การฝึกสมาธิที่เรียกว่า  วิปัสสนา
  42. รัตนะ แปลว่า     แก้ว      ได้แก่     พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์
  43. สัตตรัตน์ แปลว่า    แก้ว  7 ประการของพระมหาจักรพรรดิ  ได้แก่   ช้างแก้ว   ม้าแก้ว  จักรแก้ว  แก้วมณี  นางแก้ว ขุนคลังแก้ว   ขุนพลแก้ว
  44. นพรัตน์ แปลว่า   แก้ว 9 ประการอันเป็นของมีค่า   ได้แก่   เพชร  ทับทิม  มรกต  บุษราคัม  โกเมน  นิล  มุกดา  เพทาย  ไพฑูรย์
  45. นรชน  หมายถึง     คนดี
  46. ทรชน  หมายถึง    คนชั่ว  คนไม่ดี
  47. สุตมยปัญญา คือปัญญาอันเกิดจาก   การฟังมาก  อ่านมาก
  48. จินตามยปัญญา คือปัญญาอันเกิดจาก     การคิดตามที่ได้ฟังที่ได้อ่านมา
  49. ภาวนามยปัญญาคือปัญญาอันเกิดจาก    การลงมือปฏิบัติ
  50. ผู้รู้จักแสวงหาปัญญาย่อมประสบกับอะไร    ความสุขความเจริญในชีวิต.
  51. ปัญญาเป็นคุณธรรมที่สัมผัสได้ทางใด       ทางใจ
  52. ทรัพย์ คือ    เงินทอง  วัตถุ  สิ่งของต่างๆที่มีค่า
  53. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง    ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้  ได้แก่   เงินทอง  เครื่องประดับ ยานพาหนะ.
  54. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง   ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่    ที่ดิน  อาคาร  บ้านเรือน
  55. อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม   รูปธรรม
  56. ลักษณะของรูปธรรมเป็นอย่างไร    มีตัวตนจับต้องได้
  57. ลักษณะของนามธรรมเป็นอย่างไร   ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้.
  58. อริยทรัพย์ หมายถึง  ทรัพย์อันประเสริฐ
  59. คนเราใช้ปัญญาแสวงหาทรัพย์ได้จริงหรือไม่   จริง
  60. เหตุที่ปัญญาจึงไม่สูญหายหรือถูกทำลายได้ง่าย เพราะ  ปัญญาอยู่ในร่างกายถ้าไม่ตายปัญญาก็ยังอยู่
  61. ปัญญาเป็นแสงสว่างนำชีวิต หมายความว่า  คนมีปัญญาจะใช้ชีวิตไปในทางสร้างประโยชน์
  62. ทรัพย์พอกพูนกิเลสได้อย่างไร ทรัพย์สามารถนำไปแลกเปลี่ยนสิ่งที่จะมาสนองความต้องการของเจ้าของทรัพย์ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชั่วดี
  63.  เดียรถีย์ หมาถึง    นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา.
  64. พระกรรมวาจาจารย์ หมายถึง   พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาให้สงฆ์ยอมรับบุคคลไว้อุปสมบทเป็นพระภิกษ
  65. พิธีบรรพชา คือ   การบวชเป็นสามเณรและรักษาศีล 10 ข้อ
  66. พิธีอุปสมบท คือ   การบวชเป็นพระภิกษุสำหรับชายอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์รักษาศีล 227 ข้อ
  67. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน หมายถึง   สิ่งที่พระกรรมวาจาจารย์บอกกับพระอุปสมบทใหม่
  68. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน  ประกอบด้วย   เกสา  โลมา  นขา  ทนตา  ตโจ
    เกสา หมายถึง    ผม    โลมา หมายถึง       ขน    นขา หมายถึง    เล็บ     ทนตา  หมายถึง        ฟัน   ตโจ  หมายถึง        หนัง
  69. ปริวาส หมายถึง     การอยู่ชดใช้  หรือ  การอยู่กรรม
  70. อาบัติ หมายถึง     ความผิดที่เกิดจากการละเมิดสิกขาบทในพระวินัย
  71. อาบัติ มี 7 ประการได้แก่     ปาราชิก  สังฆานิเสส   ถุลลัจจัย   ปาจิตตีย์    ปาฏิเทสนียะ   ทุกกฎ   ทุพภาสิต
  72. ปาราชิก หมายถึง    วินัยสงฆ์หมวดหนึ่งหากพระภิกษุขืนทำเข้าต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุบวชอีกไม่ได
  73. ปาราชิก มี 4 ประการ ได้แก่    เสพเมถุน  ลักทรัพย์  ฆ่ามนุษย์   อวดคุณวิเศษที่ตนไม่มีว่าตนมี
  74. นิสีทนะ หมายถึง      ผ้าปูที่นั่งสำหรับพระภิกษ
  75. เวไนยสัตว์ หมายถึง     สัตว์ประเสริฐ
  76. อเวไนยสัตว์ หมายถึง    สัตว์เดรัจฉาน
  77. สัสสตทิฏฐิ คือ     ลัทธิที่เห็นว่าโลกและวิญญาณเป็นของเที่ยงแท้ไม่เสื่อมสูญ
  78. อุจเฉททิฏฐิ คือ     ลัทธิที่เห็นว่าตายแล้วสูญไม่มีการเกิดใหม่อีก
  79. อุปัชฌายะ คือ    ผู้ชักนำผู้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุและทำหน้าที่ปกครองดูแล ให้การศึกษาแก่พระรูปนั้นตลอดไป
  80. อันตรายิกธรรม หมายถึง .  ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบท มี 8 อย่าง ได้แก่
    80.1
    ผู้เป็นโรคติดต่อร้ายแรง 5 ประเภท คือ
           1. โรคเรื้อน (กุฏฐัง)
           2. โรคฝีชนิดเป็นทั่วตัว (คัณโฑ)
           3. โรคกลาก (กิลาโส)
           4. โรคมองคร่อ (โสโส) คือ มีเสมหะแห้งอยู่ในก้านของหลอดลม
           5. โรคลมบ้าหมู

    80.2 บุคคลผู้มีอวัยวะบกพร่อง เช่น มือขาด เท้าขาด หูขาด จมูกขาด นิ้วมือหรือนิ้วเท้าขาด ง่ามนิ้วมือ หรือง่ามนิ้วเท้าขาด
    80.3 ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น หลังค่อม คอพอก เท้าปุก มือเป็นแผ่น
    80.4 ผู้พิการ ตาบอดตาใส ง่อย(มือ เท้าหงิก) กระจอก คือเท้าหรือขาพิการ จะเดินก็เดินไม่ได้ ใบ้ หูหนวก
    80.5 ผู้ทุรพล คือ ง่อนแง่น เปลี้ย คือ ผู้ที่มีรูปร่างสมประกอบ แต่ไม่มีแรง
    80.6 ผู้ที่มีข้อผูกพัน คือ ผู้ที่บิดามารดาไม่อนุญาต ผู้ที่มีหนี้สิน ผู้เป็นทาส หรือผู้ที่พระเจ้าแผ่นดินเลี้ยงดูไว้
    80.7 ผู้ถูกอาญาแผ่นดินอย่างหนัก จนมีร่องรอยปรากฏ เช่น ถูกเฆี่ยนจนหลังลาย ถูกสักหน้า
    80.8 ผู้ประทุษร้ายความสงบ คือ โจรผู้ร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นต้น


Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th