หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของไทย
 
วิธีการและความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
หลักฐานประวัติศาสตร์
ประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ช่วงเวลา ศักราช
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบสากล
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบไทย

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย ก็มีการแบ่งยุคคล้ายกับการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล โดยแบ่งออกเป็น
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์
1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ prehistory
          ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
 1.1 ยุคหิน   ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
Stone Age 1.1.1 ยุคหินเก่า     Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
  1.1.2 ยุคหินกลาง   Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
  1.1.3 ยุคหินใหม่   Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.2 ยุคโลหะ  ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
Metal age 1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC
1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD
2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
          การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ในสมัยประวัติศาสตร์ของไทย ยึดตามประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถือว่า ประมาณ พ.ศ. 800 เป็นช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ แต่โดยทั่วไปแบ่งตามระยะเวลาการใช้เมืองหลวงเรียกชื่อตามสมัย
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัย ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 800 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 18(พ.ศ.1792)
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ระยะเวลา ประมาณ พ.ศ. 1792 -2006
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ระยะเวลา พ.ศ. 1893 - 2310
2.4 ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ระยะเวลา พ.ศ. 2310 - 2325
2.5 ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th