หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
ช่วงเวลา ศักราช
 
วิธีการและความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
หลักฐานประวัติศาสตร์
ประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ช่วงเวลา ศักราช
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบสากล
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบไทย

ช่วงเวลา ศักราช
การนับและเทียบศักราชสากลและไทย
          1. การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูประสูติ (25 ธันวาคม) หลัง พุทธศักราช 543 ปี ซึ่งพระเยซูเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อ ๆ ว่า B.C. ตัวอย่าง 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า 1,000 B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา 1,000 ปี ก่อนพระเยซูประสูติ
          2. การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) แล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็น พ.ศ.0 เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1
          นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้

การเทียบศักราช
ตัวอย่าง
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. - 2324 = ร.ศ. ร.ศ.1+2324 = พ.ศ. 2325 ร.ศ. 227  = พ.ศ. 2551
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. - 1181 = จ.ศ. จ.ศ.1+1181 = พ.ศ. 1182 จ.ศ.1370 = พ.ศ. 2551
ม.ศ. + 621   = พ.ศ. พ.ศ. - 621 = ม.ศ. ม.ศ.1+621 = พ.ศ. 622 ม.ศ.1930 = พ.ศ. 2551
.ศ. - 579   = ฮ.ศ. พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ. (ค.ศ. 2008 - 579)=(พ.ศ. 2551-1122) = ฮ.ศ.1429

          3. ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุก ๆ 32 ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปีและน้อยกว่า ๕.ศ. 579 ปี   ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี
          4. จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปีเป็นวันสิ้นปี
การเรียกปีจุลศักราชมีดังนี้
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381
ตรงกับวันที่ 7 เดือนเมษายน ปีกุน พ.ศ. 2562 ค.ศ. 2019
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 2 เรียกว่า โทศก เช่น วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีชวดโทศก จุลศักราช 1382 ตรงกับ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีชวด พ.ศ. 2563 ค.ศ. 2020
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก เช่น วันศุกร์ แรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีฉลูตรีศก จุลศักราช 1383
ตรงกับ วันที่ 1 เดือนตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2564 ค.ศ. 2021

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก เช่น วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 11ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1384 ตรงกับวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปีขาล พ.ศ. 2565 ค.ศ. 2022
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก เช่น วันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1385 ตรงกับวันที่ 27 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ค.ศ. 2023
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรงฉศก จุลศักราช 1386 ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก เช่น วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช 1387 ตรงกับ วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2568 ค.ศ. 2025
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก เช่น วันพฤหัส ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1388
ตรงกับ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2569 ค.ศ. 2026
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 9 เรียกว่า นพศก เช่น วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมนพศก จุลศักราช 1389 ตรงกับ วันที่ 10 เดือนกันยายน ปีมะแม พ.ศ. 2570 ค.ศ. 2027
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก เช่น วันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1380 ตรงกับ วันที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปีวอก พ.ศ. 2571 ค.ศ. 2028

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th