หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 7
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7

1.พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 7
2.การปกครอง
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.สังคม-การศึกษา  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
   
   
ด้านสังคม
ลักษณะชนชั้นทางสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาพของบุคคลได้เปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากระบบการปกครอง โดยมีสภาพพอสรุปได้ดังนี้
พระมหากษัตริย์ ทรงอยู่ในตำแหน่งประมุขของประเทศ ไม่สามารถใช้อำนาจสิทธิ์ขาดอย่างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เพราะต้องบริหารราชการภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยใช้อำนาจบริหารทางรัฐบาล ใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ใช้อำนาจตุลาการทางศาล
พระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ถูกห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง อำนาจที่เคยได้รับในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิง และให้ปฏิบัติตนตามกฎหมายเหมือนประชาชนโดยทั่วไป
ขุนนาง ข้าราชการยังคงมีบทบาททางการปกครองบ้านเมือง แต่เป็นบุคคลรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษามาจากประเทศทางตะวันตก ในระยะแรก ฐานันดรและราชทินนามของขุนนางยังคงมีอยู่ แต่ขุนนางทุกคนต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ราษฎร มีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ สามารถประกอบอาชีพ ตามความต้องการ ตามความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล
ด้านการศึกษา
ในสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบาย ที่สนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าจะประสบกับปัญหาเศรษฐกิจก็ตาม พระองค์ตัดทอนรายจ่ายของแผ่นดินหลายประการแต่ไม่ทรงตัดรายจ่ายด้านการศึกษาเลย เพราะพระองค์ต้องการให้ประชาชนมีความรู้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้มากขึ้น พระองค์โปรดฯให้ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ และจัดสรรงบประมาณให้แก่การศึกษาภายในประเทศถึงปีละ 3 ล้านบาท แทนการเก็บเงินบำรุงการศึกษาจากราษฎร
การขยายตัวทางการศึกษา ตามประกาศของคณะราษฎร์ ได้กำหนดให้ การศึกษา เป็นหนึ่งในหลักหกประการ ในการบริหารประเทศ แสดงว่ารัฐบาลให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา โดยขยายขอบเขตการศึกษาให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิมทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษารวมทั้งปรับปรุงคุณภาพในทุกระดับให้ดียิ่งขึ้น

แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ
ให้พลเมืองได้รับการศึกษาพอควรแก่อัตภาพของตน คือ พอแก่ภูมิปัญญาและทุนทรัพย์
จัดการศึกษาทั้ง 3 ส่วนให้พอเหมาะกัน กล่าวคือ
จริยศึกษา อบรมให้มีศีลธรรมอันดีงาม เห็นประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตัว
พุทธิศึกษา ให้มีปัญญา ความรู้ ความสามารถ
พลศึกษา ฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง มีพลานามัยสมบูรณ์ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
ให้การศึกษาทั้งสายสามัญและวิสามัญ เพื่อประกอบอาชีพให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง
ด้านสามัญศึกษา ประกอบด้วย ชั้นประถม 1-4 ชั้นมัธยม 1-4 และมัธยม 5-8
ด้านวิสามัญ จัดสอนวิชาชีพ เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพาณิชยกรรม


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile