หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 7
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7

1.พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 7พระนางเจ้ารำไพพรรณี
2.การปกครอง
3.เศรษฐกิจ
4.ศาสนา
5.สังคม-การศึกษา
6.กวีและวรรณกรรม
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
 
 
นายพจน์ พหลโยธิน
ปรีดี พนมยงค์
แปลก พิบูลสงคราม
fhkfkf

ด้านการปกครองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ( 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 24 มิถุน ายน 2475 )
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
รัชกาลที่ 7 ได้โปรดให้รวมกระทรวงธรรมการไว้ในกระทรวงศึกษาธิการแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงธรรมการ ยกเลิกกระทรวงมุรธาธรโดยโอนงานไปอยู่รวมกับ กรมราชเลขาธิการ รวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมจัดเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม รวมกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการ ได้แก่
อภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการทั้งปวงในพระองค์ สมาชิกของสภานี้ล้วนเป็นพระบรมวงศา นุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ สภานี้กำหนดให้มีการประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันศุกร์ โดยมี รัชกาลที่ 7 เป็นประธาน มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2468 ณ
พระที่นั่งบรมพิมาน
สมาชิกอภิรัฐมนตรีสภาประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จำนวน 5 ท่าน ได้แก่
สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประชานาท
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท
องคมนตรีสภา จัดตั้งเมื่อ 2 กันยายน 2470 มีคณะกรรมการจำนวน 40 คนเรียกว่า สภากรรมการองคมนตรี เปิดประชุมสภาครั้งแรกเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2470 โดยมี
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นประธานสภา องคมนตรีสภานี้กล่าวกันว่าจะโปรดให้ทำหน้าที่เป็น รัฐสภา เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
เสนาบดีสภา สภานี้เดิมเคยมีอยู่แล้ว ประกอบด้วยสมาชิกผู้เป็นเสนาบดีบังคับบัญชาราชการกระทรวงต่าง ๆ มีหน้าที่สำหรับทรงปรึกษาหารือราชการ อันกำหนดไว้ให้ เป็นหน้าที่ในกระทรวงนั้น ๆ ในการประชุม รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นประธาน นอกจากทั้ง 3 สภานี้แล้วยังมี
สภาป้องกันพระราชอาณาจักร สำหรับทำหน้าที่ พิจารณาและทำความตกลง ในนโยบายวิธีป้องกันพระราชอาณาจักรและประสานงาน ในราชการของกระทรวงฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน
สภาการคลัง มีหน้าที่ตรวจตราวินิจฉัยเงินงบประมาณของแผ่นดินและรักษาผลประโยชน์ทางการเงินของประเทศ และวินิจฉัยการคลังเสนอต่อพระมหากษัตริย์สภาทั้งหมดนี้ได้ถูกยกเลิกไป หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
รัชกาลที่ 7 โปรดให้ยกเลิกภาคที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการรวมมณฑลหลายมณฑลเข้าเป็นมณฑลเดียวกัน เช่น รวมมณฑลมหาราษฎร์กับมณฑลพายัพเป็น
มณฑลพายัพ รวมมณฑลอุบลราชธานีกับมณฑลร้อยเอ็ด ไปอยู่ใน มณฑลนครราชสีมา ยุบมณฑลปัตตานีรวมกับ มณฑลนครศรีธรรมราช ยุบมณฑลนครชัยศรีรวมกับมณฑลราชบุรี ยุบมณฑลนครสวรรค์รวมกับมณฑลอยุธยา
นอกจากนี้ยังโปรดให้ยุบจังหวัดต่าง ๆ เช่น ยุบจังหวัดสุโขทัยไปรวมกับจังหวัดสวรรคโลก ยุบจังหวัดกาฬสินธุ์ไปรวมกับจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดต่าง ๆ ที่ถูกยุบไปมีดังนี้ สุโขทัย หล่มสัก ธัญญบุรี กาฬสินธุ์ หลังสวน ตะกั่วป่า สายบุรี พระประแดงและมีนบุรี
จำนวนมณฑลเดิมมี 14 มณฑล ลดเหลือ 10 มณฑล และจังหวัดเดิม มี 79 จังหวัดลดเหลือ 70 จังหวัด
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475
มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอประชาธิปไตย
        1. ความไม่พร้อมในการเป็นพระมหากษัตริย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ไม่ได้เตรียมตัวมาเพื่อเป็นพระมหากษัตริย์ จึงไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งที่มีอำนาจสิทธิ์ขาด โดยสมบูรณ์แบบในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่อำนาจต่าง ๆ ตกอยู่กับคณะอภิรัฐมนตรีสภา อาทิ การยับยั้งการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ประชาชน แล้วเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย เนื่องในโอกาสกรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
        2. ราษฎรมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ได้รับข่าวสาร ความรู้ แนวคิดจากชาติตะวันตก ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ในรูปแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะผู้ที่ไปศึกษามาจากทวีปยุโรป อาทิ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากประเทศเยอรมัน หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารปืนใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส หลวงสินธุ์สงคราม (ร.ท. สินธุ์ กมลนาวิน) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศเดนมาร์ก หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( ปรีดี พนมยงค์ ) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศส หลวงโกวิท อภัยวงศ์ ( ควง อภัยวงศ์ ) สำเร็จการศึกษาวิชาวิศวกรรมจากประเทศฝรั่งเศส นายประยูร ภมรมนตรี สำเร็จการศึกษาวิชาการเมืองจากประเทศฝรั่งเศส
        3. ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สาเหตุภายในประเทศสืบเนื่องมาจากมีการใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 รัฐบาลหารายได้ไม่พอกับการใช้จ่ายทำให้ขาดดุลงบประมาณ ถึงแม้ว่าพระองค์จะตัดทอนรายจ่ายของรัฐที่เป็นเงินเดือนของพระองค์ ลดจำนวนมหาดเล็ก ยุบมณฑล ยุบจังหวัด เพื่อลดจำนวนข้าราชการลง ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ การแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบนี้ทำให้ฐานะการเงินดีขึ้นบ้าง แต่ก็มีผู้ไม่พอใจโดยเฉพาะข้าราชการที่ถูกปลด หรือแม้แต่ข้าราชการที่ไม่ถูกปลด แต่ก็มีการเก็บภาษีเงินเดือนข้าราชการ จากมูลเหตุดังกล่าวทีนำไปสู่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์
ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
“คณะราษฎร์” ทำการปฏิวัติประกาศยึดอำนาจ โดยนำกำลังทหารและพลเรือน เข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการและควบคุม บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านายชั้นสูงและข้าราชการฝ่ายรัฐบาล ไปไว้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อเป็นตัวประกันดังนี้
     
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประชานาท ผู้รักษาพระนครในขณะนั้น
     สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
     สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
     นายพลตำรวจตรีหม่อมเจ้าวงศ์นิรชร
     นายพลโทพระยาสีหราชเดโชชัย เสนาธิการทหารบก
     นายพลตรีพระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน
มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่หนีไปได้คือ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน โดยหนีขึ้นรถไฟไปแจ้งให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ เหตุการณ์การปฏิวัติ
เมื่อคณะราษฎร์ยึดอำนาจได้แล้ว จึงประกาศใช้หลัก 6 ประการบริหารประเทศได้แก่ หลักเอกราช หลักความปลอดภัย หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ หลักการศึกษา
        1. จะต้องรักษาความเป็น
เอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ทางการศาล ทางเศรษฐกิจของประเทศ ไว้ให้มั่นคง
        2. จะต้องรักษาความ
ปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันให้น้อยลงมาก
        3. จะต้องบำรุงความสุขสบายของราษฎรในทาง
เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะจัดหางานให้ราษฎรทำและจัดวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
        4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิ
เสมอภาคกัน
        5. จะต้องให้ราษฎรมี
เสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อมีเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
        6. จะต้องให้
การศึกษาแก่ราษฎรอย่างเต็มที่
บุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ประกอบด้วยฝ่ายทหารบก ทหารเรือและฝ่ายพลเรือน
บุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่ายทหารบกประกอบด้วย
พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ( พจน์ พหลโยธิน ) เป็นหัวหน้าใหญ่
พ.อ. พระยาทรงสุรเดช ( เทพ พันธุมเสน ) เสนาธิการผู้วางแผนการปฏิวัติ
พ.อ. พระยาฤทธิอัคเนย์ ( สละ เอมะศิริ ) ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
พ.ท. พระประศาสน์พิทยายุทธ ( วัน ชูถิ่น ) ผู้อำนวยการเสนาธิการทหารบก
พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ( แปลก ขิตตะสังคะ )
บุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่ายทหารเรือประกอบด้วย
น.ต. หลวงสินธุ์ สงครามชัย ร.น. ( สินธุ์ กมลนาวิน )
น.ต. หลวงศุภชลาศัย รน. ( บุง ศุภชลาศัย )
ร.อ. หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ร.น. ( ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์ )
บุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่ายพลเรือนประกอบด้วย
อำมาตย์ตรี
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( นายปรีดี พนมยงค์ ) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นมันสมองของ คณะราษฎร์ ผู้คิดการปฏิวัติในครั้งนี้ เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของเมืองไทย
นายประยูร ภมรมนตรี
หลวงโกวิท อภัยวงศ์ ( นายควง อภัยวงศ์ )
นายดิเรก ชัยนาม
นายตั้ว ลพานุกรม
การเมืองในสมัยประชาธิปไตยตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 ถึง 2 มีนาคม 2477
เมื่อคณะราษฎร์ยึดอำนาจได้แล้วได้มอบหมายให้
น.ต. หลวงศุภชลาศัย นำหนังสือกราบบังคมทูล ให้รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับสู่พระนคร ให้กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ โดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งคณะราษฎร์ได้ร่างขึ้น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มิถุนายน 2475
คณะราษฎร์ได้นำรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งหลวงประดิษฐ์มนูธรรมและคณะราษฎร์ ได้ร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทาน พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ในวันที่
27 มิถุนายน 2475 เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยแล้ว สภาผู้แทนราษฎรซึ่งตั้งโดยคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย โดยมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์คนแรก และพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานกรรมการราษฎร ( นายกรัฐมนตรี ) และเลือกคณะกรรมการราษฎร ( คณะรัฐมนตรี ) 14 นาย ทำหน้าที่บริหารประเทศ และ เลือกสมาชิกในคณะราษฎร์อีก 9 นาย ทำหน้าที่ร่าง รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อร่างเสร็จแล้วรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานคืนมาให้เมื่อ 10 ธันวาคม 2475
หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วได้มีการตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศ โดยมีมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (
นายก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี มีคณะรัฐมนตรี จำนวน 20 นาย
สาระสำคัญของ รัฐธรรมนูญมีดังนี้
พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนี้ แต่โดยบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดย คำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีสมาชิก 2 ประเภทจำนวนเท่ากันเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยมีสมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่
สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งเข้ามา และ ประเภทที่ 2 ได้แก่สมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 นาย อย่างมาก 24 นาย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการ ทางศาล ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย เพื่อพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตยภายใต้การบริหารงานโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เกิด
การขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา อันเนื่องมาจากเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้เขียนไว้ในสมุดปกเหลืองซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นเค้าโครงเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของรัสเซีย ซึ่งตรงกับพระราชวินิจฉัย ในสมุดปกขาวของรัชกาลที่ 7 รัฐบาลจึงสั่งปิดสภา พระยามโนปกรณ์ฯ ได้ขอร้อง ให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางออกไปอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส
     20 มิถุนายน 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา ทำการปฏิวัติแล้วแต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีพร้อมกับเชิญหลวงประดิษฐ์มนูธรรม กลับมาช่วยกันบริหารประเทศ ต่อมาสมาชิกของคณะราษฎร์บางคนละทิ้งสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน รัฐบาลปล่อยให้ประชาชนฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
     21 ตุลาคม 2476
“คณะกู้บ้านเมือง” ภายใต้การนำของพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช กฤดากร ได้นำกำลังทหารจากนครราชสีมา สระบุรี อยุธยา เข้ามาทำการปฏิวัติเพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง กองทหารของคณะกู้บ้านเมืองได้ต่อสู้กับทหารของ รัฐบาลบริเวณดอนเมือง ผลปรากฏว่าทหารของฝ่ายรัฐบาลชนะ พระองค์เจ้าบวรเดชต้องลี้ภัย ไปอยู่ที่ อินโดจีน เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “กบฏบวรเดช”
     12 มกราคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษมีเรื่องไม่สบพระราชหฤทัยบางประการ จึงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อ
2 มีนาคม 2477 รัฐบาลจึงได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็น รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี
รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา ลาออกเมื่อ 21 ธันวาคม 2481 เนื่องจากสภามีมติไม่เห็นชอบในวิธีการจัดทำพระราชบัญญัติงบประมาณของรัฐบาล


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile