หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
โยนิโสมนสิการ

          9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน

          วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน รู้ตัวในการกระทำทางกาย วาจา ใจ โดยอาศัยหลักสติปัฏฐาน 4
สติปัฎฐาน  4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ใน
มหาสติปัฏฐานสูตรเป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งคือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ
สติปัฏฐาน 4 หมายถึง การตั้งมั่น ความแน่วแน่ ความมุ่งมั่นโดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
  1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง  การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
           เมื่อนำการคิแบบอยู่กับปัจจุบันโดยใช้ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
    มาพิจารณา เด็กหญิงสมศรี  มากมีทรัพย์ รับประทานก๋วยเตี๋ยวหมูเป็นอาหารกลางวัน จะได้ดังนี้
    กาย รู้ว่ากำลังทำอะไร  (ทุก ๆ อิริยาบถ แต่ในที่นี้  action เน้นการรับประทานเป็นหลัก)
    เวทนา เกิดความรู้สึกอย่างไร (สุข  ทุกข์  เฉย ๆ) sensation
    จิต อารมณ์เป็นอย่างไร  อกุศลมูล(โลภะ  โทสะ  โมหะ) emotion
    ธรรม เห็นสภาวะอะไรบ้าง (ไตรลักษณ์ อริยสัจ 4 เน้น intuition อนิจจัง วิราคะ นิโรธะ และปฏินิสสัคคะ)

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th