- การคิดแบบแยกแยะประเด็น หรือ วิธีคิดแบบวิภัชชวาท
คำว่า "วิภัชชวาท" มาจาก วิภัชชะ + วาทะ
วิภัชชะ แปลว่า แยกแยะ แบ่งออก จำแนก หรือ แจกแจง ใกล้เคียงกับคำว่า วิเคราะห์
ส่วนคำว่า วาทะ แปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน ดังนั้นคำว่า วิภัชชวาท จึงแปลว่า การพูดแยกแยะ การพูดจำแนก การพูดแจกแจง หรือ การพูดเชิงวิเคราะห์ ลักษณะสำคัญของการคิดและการพูดแบบนี้คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่แต่ละมุมแต่ละด้านแต่ละประเด็นครบทุกแง่ทุกมุม ทุกด้าน ทุกประเด็น ไม่ใช่จับเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาคิดวิเคราะห์แล้วสรุปครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
วิธีคิดแบบวิภัชชวาทเป็นภาษาบาลีที่มีอยู่ในศาสนาพุทธ จัดเป็นวิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผลรองรับ สามารถแยกแยะและวิเคราะห์ แตกประเด็นตลอดจนสังเคราะห์ความรู้ทุกชนิดได้ โดยเฉพาะความรู้สากล บุคคลใดที่สามารถจับหลักการทั้งหมดของวิธีคิดชนิดนี้ได้ จะสามารถสร้างองค์ความรู้ที่เป็นสมมติสัจจะได้โดยง่าย
ส่วนประกอบที่สำคัญของวิธีคิดแบบวิภัชชวาทะแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้
1. ระบบ
2. องค์ประกอบ
3. เหตุปัจจัย
4. เงื่อนไข
5. เวลา
ระบบ หมายถึง การระบุ บ่งบอกถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือ สถานการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น
องค์ประกอบ หรือ ธาตุ element หมายถึง การที่ธาตุหรือสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่มาประชุมรวมกันในระบบ เป็นตัวแทนของหน่วยย่อยในระบบนั้น ๆ
เหตุปัจจัย หมายถึง เหตุปัจจัยที่ต้องมารวมกันเป็นระบบนั้นๆ (ทำไมต้องมีระบบนั้น ๆ เกิดขึ้น หรือมาประชุมกัน หรือความต้องการให้เกิดผลลัพธ์สุดท้ายเป็นอย่างไร) สิ่งนี้เป็น เหตุ ซึ่งเกิดจากธาตุแต่ละชนิดก่อกำเนิดมาได้อย่างไร สิ่งนี้เป็น ปัจจัย
เงื่อนไข หมายถึง แนวทางในการพรรณนาคุณสมบัติของระบบ หรือปรากฏการณ์ หรือสภาวะใดๆ ที่จะทำให้องค์ประกอบทำงานได้ตามหน้าที่ได้ถูกต้อง
เวลา หมายถึง เครื่องบ่งชี้ความเปลี่ยนแปลงของระบบสิ่งต่าง ๆ ที่มีมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง มีจุดเริ่มต้น การสิ้นสุด คิดเป็น ระยะเวลา (... วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี ทศวรรษ ... ) มีความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้อง หรืออัตราเร็ว (การเปลี่ยนแปลง : นาที หรือ ระยะทาง : ระยะเวลา หรือ จุดเริ่มต้นไปถึงจุดสิ้นสุด : ระยะเวลา)
ตัวอย่าง วิธีการคิดแบบวิภัชชวาท หรือ การคิดแบบแยกแยะประเด็น
เด็กหญิงสมศรี มากมีทรัพย์ รับประทานก๋วยเตี๋ยวหมูเป็นอาหารกลางวัน
ระบบ |
ก๋วยเตี๋ยวหมู 1 ชาม |
องค์ประกอบ |
ภาชนะที่ใส่ (ชาม) เส้นก๋วยเตี๋ยว เนื้อหมู ผักต่าง ๆ(ถั่วงอก ผักชี ต้นหอม...) น้ำ สีสันรสชาดของก๋วยเตี๋ยวน้ำ อุณหภูมิของน้ำซุบ เครื่งปรุงรส (น้ำปลา น้ำส้ม พริกป่น น้ำตาล) |
เหตุปัจจัย |
อยากรับประทานเพื่อบำบัดความหิว การทำก๋วยเตี๋ยวหมู การรับประทานเพื่อสังสรรค์ |
เงื่อนไข |
สมศรีต้องการรับประทานก๋วยเตี๋ยวหมู ต้องมีอุปกรณ์ใช้ประกอบการรับประทานก๋วยเตี๋ยวหมู(ชาม,ช้อน,ตะเกียบ ฯลฯ) |
เวลา |
ขณะทำการ (เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ค่ำ ดึก) ในที่นี้เป็นเวลาเที่ยงวัน ใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน (เงื่อนไข) นานเท่าใด เริ่มต้นเมื่อใด สิ้นสุดเมื่อใด รวมเวลาตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการนานเท่าใด อุณหภูมิของก๋วยเตี๋ยวหมูชามนี้เปลี่ยนแปลงจากร้อน ค่อย ๆ หายร้อน ใช้เวลานานเท่าใด รสชาดอร่อยแซบจนหมดชาม ใช้เวลานานเท่าใด |
2. การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา)
การได้มาซึ่ง องค์ประกอบ ตามขั้นตอนวิภัชชวาท มีการอิงอาศัยกันอย่างไร
สิ่งที่มาประชุมกันเป็นก๋วยเตี๋ยวหมู การทำก๋วยเตี๋ยวหมู การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว ภาชนะ (ชาม ช้อน ตะเกียบ ฯลฯ) น้ำ ผัก เครื่องปรุงรส กว่าจะได้ก๋วยเตี๋ยวหมู หนึ่งชามคงไม่ใช่ แม่ค้าไปซื้อก๋วยเตี๋ยว จากตลาดแล้วนำมาปรุงขาย ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร กว่าจะมาเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว หรือส่วนประกอบอื่น ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร จากนั้นจึงมาพิจารณา การรับประทาน ก๋วยเตี๋ยวหมู ของเด็กหญิงสมศรี มากมีทรัพย์ ตามเหตุปัจจัย
ในที่นี้ขอคิดตาม
หลักปฏิจจสมุปบาท (พิจารณาจากคนรับประทานก๋วยเตี๋ยวหมูเป็นแกนกลาง)
|
|
สายดับทุกข์ |
อวิชชา |
การไม่เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง ไม่รู้ว่าแท้จริงคือ ธาตุ 4 (ก๋วยเตี๋ยวหมู) ซึ่งเป็นรูป |
นิพพาน |
สังขาร |
การปรุงแต่ง การจงใจ การตัดสินใจ ปรุงแต่งไปตามข้อมูลที่ได้รับและประสบการณ์ |
ขยญาณ |
วิญญาณ |
การได้ยิน โสตวิญญาณ การได้เห็น จักขุวิญญาณ การได้กลิ่น ฆานวิญญาณ การได้รู้รส ชิวหาวิญญาณ การได้รู้สัมผัส กายวิญญาณ การได้รู้นึกคิดที่มีอยู่ในใจ มโนวิญญาณ |
วิมุติ |
นามรูป |
ร่างกายและจิตใจที่สนองตอบต่อวิญญาณ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอายตนะภายนอกและภายใน |
วิราคะ |
สฬายตนะ |
อายตนะภายในทั้ง 6 (หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ) |
นิพพิทา |
ผัสสะ |
การเชื่อหรือการรับรู้ภายนอก ฟังโฆษณา สีรูปทรง กลิ่นชวนรับประทาน ลิ้มรส ความร้อน จินตนาการ |
ยถาภูตญาณทัสสนะ
รู้เห็นตามความเป็นจริง |
เวทนา |
ความชอบ ไม่ชอบหรือเฉยๆ อร่อย เย็น ร้อน หอม หวาน ชื่นใจ ถูกใจ |
สมาธิ |
ตัณหา |
ความทยานอยาก อยากรับประทาน ไม่อยากรับประทาน |
สุข |
อุปาทาน |
ความยึดมั่นถือมั่น การติดในรสชาด กำหนดสมมติบัญญัติว่าเป็น ก๋วยเตี๋ยวหมู |
ปัสสัทธิ |
ภพ |
ภาวะที่พร้อมที่จะเกิด สร้างโลกมายาของการเสพ การรับประทาน |
ปีติ |
ชาติ |
การเกิด รับประทานก๋วยเตี๋ยวเป็นกิจวัตร |
ปราโมท |
ชรา มรณะ |
ความแก่และความตาย พอใจเมื่อได้รับประทาน หงุดหงิดเมื่อไม่มีจะรับประทานยามหิว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ตามมา สิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดอวิชาเป็นวงจรไม่รู้จบ |
สัทธา |
3. การคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ (อนัตตา) ยึดหลัก นามรูป (นามขันธ์ รูปขันธ์) สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่มีอัตตา ไม่มีเขา ไม่มีเรา อนัตตาหรือ อนัตตตา เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาวะธรรมมีอยู่จริงในขันธ์ 5 เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้
1. เป็นสภาพว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ 4 เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
2. หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
3. ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
4. แย้งต่ออัตตา คือตรงข้ามกับอัตตา ตัวตน ของตน
เมื่อนำมาพิจารณาคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบโดยยึดหลักอนัตตา จะได้ดังนี้
นามรูป |
ไม่ใช่ พืช สัตว์ บุคคล เขา เรา |
ขันธ์ 5 |
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ |
เพื่อมุ่งเข้าสู่การพิจารณาในสิ่งที่ไม่สามารถบังคับควบคุมได้ในที่สุด
ความร้อนในที่สุดจะหายไป (ถ้าตั้งทิ้งไว้นานพอ)
การเกิดกิจกรรมการรับประทานก๋วยเตี๋ยวจะยุติลง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
ก๋วยเตี๋ยวหมูในที่สุดจะถูกรับประทานเพื่อดับความหิว
ก๋วยเตี๋ยวหมูในที่สุดจะถูกแปรสภาพกลับไปสู่สภาพเดิม(ธาตุ) |
4. การคิดแบบสามัญลักษณ์ (ไตรลักษณ์)
อนิจจัง |
เห็นการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมและสภาวะของก๋วยเตี๋ยวหมู รวมทั้งสภาวะจิตของผู้รับประทาน |
ทุกขัง |
การตั้งอยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ (อย่างถาวร)
ก๋วยเตี๋ยวหมูเคลื่อนจากในภาชนะ(ชาม)เข้าสู่ร่างกายผู้รับประทานจนถึง การย่อยแร่ธาตุต่าง ๆ กลายเป็นของเสียถูกขับออกจากร่างกาย |
อนัตตา |
บังคับให้สภาวะต่าง ๆ คงที่ไม่ได้ จะเห็นชัดที่สุดเมื่ออยู่ในกระเพาะอาหาร แล้วถูกขับถ่ายออกมา |
5. การคิดแบบแบบอรรถสัมพันธ์
ธรรม (หลักการ) |
อรรถประโยชน์ (ความมุ่งหมาย) |
รับประทานก๋วยเตี๋ยว(เสพปัจจัย 4) |
ดับความหิว |
มัชฌิมาปฏิปทา |
รับประทานพอดี (เพื่อดับความาหิว เสริมสร้าง-ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ) |
6. การคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก
เน้นการยอมรับความเป็นจริงทั้งด้านดีและด้านเสีย
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ทางออก |
ดับความหิว |
รับประทานมากเกินไปเกิดโทษแก่ร่างกาย (อ้วน) |
รับประทานน้อยลง |
ซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย |
รับประทานน้อยเกินไปเกิดโทษแก่ร่างกาย (ผอม) |
รับประทานเพิ่มขึ้น |
หล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย |
สารอาหารบางอย่างสะสมมากเกินไป |
รับประทานบางโอกาส |
คุณค่าทางโภชนาการ |
สิ้นเปลืองเงินทอง |
งดเว้นหรือรับประทานอย่างอื่นแทน |
7. การคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม
คุณค่าแท้ |
คุณค่าเทียม |
ดับความหิว |
ร้านอาหารหรู ราคาแพงเกินความจำเป็น |
มีประโยชน์ทางด้านโภชนาการ(แร่ธาตุ) |
รสนิยมสูง บรรยากาศดี ภาชนะที่ใส่ก๋วยเตี๋ยวสวยราคาแพง
รสชาด สี กลิ่น ไม่จำเป็นต่อร่างกาย |
8. การคิดแบบเร้าคุณธรรม
พิจารณาตามคุณค่าแท้คุณค่าเทียม (เน้นด้านบวก)
ช่วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ช่วยให้คนมีอาชีพสุจริตในขั้นตอนการผลิตและจำหน่าย (เชื่อมโยงกับการอิงอาศัย)
เพิ่มทางเลือกและความสะดวกในการบริโภคอาหาร
9. การคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน
ใช้หลักธรรมสติปัฎฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ
สติปัฏฐาน 4 หมายถึง การตั้งมั่น ความแน่วแน่ ความมุ่งมั่นโดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
- เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
- ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
เมื่อนำการคิแบบอยู่กับปัจจุบันโดยใช้ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
มาพิจารณาเด็กหญิงสมศรี มากมีทรัพย์ รับประทานก๋วยเตี๋ยวหมูเป็นอาหารกลางวัน จะได้ดังนี้
กาย |
รู้ว่ากำลังทำอะไร (ทุก ๆ อิริยาบถ แต่ในที่นี้ action เน้นการรับประทานเป็นหลัก) |
เวทนา |
เกิดความรู้สึกอย่างไร (สุข ทุกข์ เฉย ๆ) sensation |
จิต |
อารมณ์เป็นอย่างไร อกุศลมูล(โลภะ โทสะ โมหะ) emotion |
ธรรม |
เห็นสภาวะอะไรบ้าง (ไตรลักษณ์ อริยสัจ 4 เน้น intuitionอนิจจัง วิราคะ นิโรธะ และปฏินิสสัคคะ) |
10. การคิดแบบอริยสัจ 4
ทุกข์ |
หิว อยากอยากรับประทาน ท้องร้อง ปวดท้อง |
สมุทัย |
ร่างกายต้องการอาหาร |
นิโรธ |
ต้องการรับประทานอาหาร(แต่เลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวแทน) อย่างพอเพียง |
มรรค |
รับประทานอาหาร(ก๋วยเตี๋ยวหมู) แบบอิงมรรคแปด (พยายามเน้นทางโลกก่อนทางธรรม ) |
1 |
สัมมาทิฎฐิ |
ความเข้าใจที่ถูกต้องในการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเพื่อ ดับความหิว
|
2 |
สัมมาสังกับปะ |
ไม่รับประทานเพราะความอยากของลิ้นติดในรสชาด ไม่เบียดเบียนเศรษฐกิจ ตนเอง และผู้อื่น ถ้าไม่ได้รับประทานก๋วยเตี๋ยว ณ เวลานั้นไม่เกิดความทุรนทุราย ไม่คับแค้นใจ คิดในทางที่ดี
|
3 |
สัมมาวาจา |
ใช้วาจาสุภาพขณะทุกขั้นตอน (ถ้าจำเป็นต้องใช้)
|
4 |
สัมมากัมมันตะ |
ประกอบกิจกรรมด้วยลักษณะที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
|
5 |
สัมมาอาชีวะ |
การประกอบอาชีพที่สุจริตเพื่อนำรายได้มาแลกกับก๋วยเตี๋ยว |
6 |
สัมมาวายามะ |
ความเพียรพยายามที่ได้จะก๋วยเตี๋ยวมาเป็นอาหาร |
7 |
สัมมาสติ |
รับประทานและประกอบกิจกรรมอย่างมีสติ ระลึกรู้อิริยาบถหรือเมื่อเกิดผัสสะทั้งหก
|
8 |
สัมมาสมาธิ |
ไม่วอกแวกขณะ ประกอบกิจกรรม รับประทานก๋วยเตี๋ยวหมู
|
|